-->

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ฉ

ฉกาลวาโย[ฉะกาละวาโย] น. ธาตุลม ๖ ประการ ได้แก่ ลมพัดตั้งแต่ปลายเท้าถึงศีรษะ (อุทธังคมาวาตา) ลมพัดตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า (อโธคมาวาตา) ลมพัดในท้องแต่พัดนอกลำไส้ (กุจฉิสยาวาตา) ลมพัดในลำไส้และกระเพาะอาหาร (โกฏฐาสยาวาตา) ลมพัดทั่วสรีระกาย (อังคมังคานุสารีวาตา) และลมหายใจเข้าออก (อัสสาสะปัสสาสะวาตา) (มาจากคำ ฉ แปลว่า หก, กาล แปลว่า เวลา และ วาโย แปลว่า ลม)

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...

พจนานุกรม หมวดอักษร จ

จก, จกงัดดู ดึงเส้น
จตุกาลเตโช[จะตุกาละเตโช] น. ธาตุไฟ ๔ ประการ ได้แก่ ไฟย่อยอาหาร (ปริณามัคคี) ไฟที่ทำให้ร้อนภายใน (ปริทัยหัคคี) ไฟที่เผาร่างกายให้แก่คร่ำคร่า (ชิรณัคคี) และไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น (สันตัปปัคคี) (มาจากคำ จตุ แปลว่า สี่, กาล แปลว่า เวลา และ เตโช แปลว่า ไฟ)
จะโปงดู จับโปง
จักขุโรโคดู จักษุโรโค
จักร์ทราสูนย์ดู นาภี
จักษุโรโคน. กลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นที่ตา ที่เรียกตามสมุฏฐานเบญจอินทรีย์ เช่น ตาแดง ตาแฉะ ริดสีดวงตา, จักขุโรโค ก็เรียก. (มาจากคำ จักษุ หรือจักขุ แปลว่า ตา และ โรโค แปลว่า โรค)
จันทกระลา, จันทกลาน. ลมประจำเส้นอิทา, จันทะกาลา ก็เรียก
จันทน์ทั้ง ๒น. จุลพิกัดประเภทต่างสีพวกหนึ่ง ประกอบด้วยแก่นจันทน์ขาว ซึ่งได้จากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Santalum album L. ในวงศ์ Santalaceae และแก่นจันทน์แดง ซึ่งได้จากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์ Leguminosae ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก พิกัดนี้มีรสขมหวานเย็น สรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อนด้วยพิษไข้ เจริญไฟธาตุให้สมบูรณ์
จันทะกาลาดู จันทกระลา, จันทกลา
จับก. ใช้มือหรือนิ้วมือสัมผัสหรือกำยึดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
จับชีพจรก. ใช้นิ้วมือแตะและกดเบา ๆ ลงบนเส้นเลือดแดงบางเส้น เช่น เส้นเลือดแดงที่ข้อมือ ข้อพับ ลำคอ ข้อเท้า เพื่อประเมินกำลังของเลือดลมหรือวินิจฉัยโรคหรืออาการ
จับโปงน. โรคชนิดหนึ่ง ทำให้มีอาการปวดบวมตามข้อ มีน้ำใสในข้อ โดยเฉพาะข้อเข่า และข้อเท่าแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ จับโปงน้ำ และจับโปงแห้ง ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๒/๙๖] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้าแลให้เจบทั่วสารพางค์ แลให้ท้องแขงเปนดานให้แก้รอบสดือ ชื่อว่าลมอันตคุณก็ว่า ถ้าแลให้เสียดเข่าชื่อว่าลมจะโปงสะคริวก็ว่า ...", จะโปง ลมจับโปง หรือ ลมจะโปง ก็เรียก
จับโปงน้ำน. จับโปงชนิดหนึ่ง มีการอักเสบรุนแรงของข้อเข่าหรือข้อเท้า ทำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และอาจมีไข้ร่วมด้วย จึงมักเรียกว่า ไข้จับโปง. ดู จับโปง ประกอบ
จับโปงแห้งน. จับโปงชนิดหนึ่ง มีการอักเสบเรื้อรังของข้อเข่าหรือข้อเท้า ทำให้มีอาการบวมบริเวณข้อเล็กน้อย. ดู จับโปง ประกอบ
จับเส้นก. กด คลึง ดึงกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นในกล้ามเนื้อ
จารึกตำรายาวัดราชโอรสารมราชวรวิหาร"น. ๑. ตำราการแพทย์แผนไทยประเภทที่สลักลงบนแผ่นหินอ่อนสีเทา รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละ ๓๓ เซนติเมตรเท่ากันทุกแผ่น แต่ละแผ่นมีอักษรสลักด้านเดียว จัดเรียงบรรทัดตามมุมแหลม จำนวน ๑๗ บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น มีเนื้อหาว่าด้วยแผนนวด แผนปลิง โรคที่พบบ่อย ๆ พร้อมตำรับยาแก้ เป็นต้น ตำรานี้จัดทำขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๔ โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำไว้ แล้วติดประดับอยู่ที่ผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และที่ผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถ เดิมมี ๙๒ แผ่น ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๐ แผ่น ๒. หนังสือเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง มี ๔๕๒ หน้า พิมพ์ที่บริษัทอาทิตย์โพรดักส์กรุ๊ป จำกัด โดยกรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และอนุรักษ์ฟื้นฟูตำราการแพทย์แผนไทยให้แพร่หลาย ทั้งนี้ในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสำคัญดังที่อธิบายในความนำตอนหนึ่งว่า ""... การจัดพิมพ์ได้ทำตามวิธีการอ่านจารึก โดยวิธีการคัดถ่ายถอดอักษรเป็นคำจารึกด้วยอักษรไทยปัจจุบัน และทำคำอ่านจารึกพร้อมด้วยคำอธิบายศัพท์ในจารึก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศัพท์เฉพาะด้านการแพทย์แผนไทย เกี่ยวกับชื่อโรค ชื่อสมุฏฐาน และอาการของโรค ชื่อสมุนไพร พร้อมสรรพคุณทางยา พิกัดสมุนไพร วิธีปรุงเครื่องยาและวิธีใช้ยา เป็นต้น กับได้ทำดรรชนีรวมเรื่องไว้ท้ายเล่มด้วย ส่วการจัดลำดับเรื่องนั้น ยังคงจัดตามลำดับแผ่นจารึก ซึ่งติดประดับอยู่ที่ผนัง โดยเริ่มจากศาลารายหน้าพระอุโบสถด้านซ้ายไปขวานับเป็นจารึกแผ่นที่ ๑ ถึง แผ่นที่ ๘ ต่อไปเริ่มแผ่นที่ ๙ ที่ระเบียงมุมซ้ายด้านหน้าพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ เรียงไปทางขวา วนรอบพระวิหาร ถึงแผ่นที่ ๕๐ ..."""
จำหระน. แถบ ซีก (ใช้กับร่างกาย) เช่น จำหระเบื้องซ้าย จำหระเบื้องขวา, ตำหระ ก็เรียก
จิตรมหาวงษ์[จิดมะหาวง] น. ยาแผนไทยขนานหนึ่ง ใช้แก้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย คอเปื่อย มีตัวยา วิธีปรุง วิธีใช้ และสรรพคุณดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์ [๑/๑๔๑] ตอนหนึ่งว่า "... ยาชื่อจิตรมหาวงษ์ แก้ฅอเปื่อย ลิ้นเปื่อย ปากเปื่อย แลแก้ไอ ท่านให้เอารากมะกล่ำต้น ๑ รากมะกล่ำเครือ ๑ รากมะขามป้อม ๑ เนระภูสี ๑ เขากวาง ๑ เขากุย ๑ นอแรด ๑ งาช้าง ๑ จันทน์ทั้ง ๒ น้ำประสารทองสตุ ๑ ยาทั้งนี้เสมอภาคทำแท่งไว้ ละลายน้ำผึ้งทา หาย แล ..."
จุกอกน. อาการเจ็บแน่นในทรวงอก
จุณสีดู จุนสี
จุนสี[จุนนะสี] น. เครื่องยาธาตุวัตถุชนิดหนึ่ง เป็นผลึกรูปแผ่นหรือรูปแท่งของเกลือทองแดงที่เกิดในธรรมชาติ ในทางเคมีเป็น copper sulphate pentahydrate (CuSO4 - 5H2O) มีชื่อสามัญว่า chalcanthite, bluestone, blue vitriol, verdigris มีสีเขียว (ปัจจุบันหมายถึงสีฟ้า) ใส หน้าตัดเป็นเงาวาว ความแข็ง ๒.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๑-๒.๓ เนื้อเปราะ ตำราสรรพคุณยาไทยว่า จุนสีมีรสเปรี้ยวฝาดเย็น ใช้ภายนอกช่วยกัดล้างเม็ดฝี กัดหัวหูดและคุดทะราด ผสมกับขี้ผึ้งปิดแผลสำหรับกัดฝ้า กัดหนอง, ชินสี กำมะถันเขียว หินเขียว สียายอน หรือ สีนายวน ก็เรียก, เขียนว่า จุณสี ก็มี
จุนสีสะตุน. จุนสีที่ปราศจากน้ำผลึกในโมเลกุล มีสีขาว โบราณเตรียมโดยนำไปตากแดดไว้จนสีซีดและขาวในที่สุด
จุลพิกัดน. พิกัดตัวยาน้อยอย่าง เรียกชื่อตรงตามตัวยานั้น มักเป็นตัวยาเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่แหล่งกำเนิด สี ขนาด รูปร่างลักษณะ และรส เช่น ขี้เหล็กทั้ง ๒, จันทน์ทั้ง ๒, เปล้าทั้ง ๒, เกลือทั้ง ๒, รากมะปรางทั้ง ๒
เจือก. นำส่วนน้อยประสมลงไปใส่วนมากให้ระคนปนกัน, ตามปรกติใช้กับของเหลว เช่น ใช้น้ำเย็นเจือน้ำร้อน, เจือแทรก ก็เรียก
เจือแทรกดู เจือ

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...