จก, จกงัด | ดู ดึงเส้น |
จตุกาลเตโช | [จะตุกาละเตโช] น. ธาตุไฟ ๔ ประการ ได้แก่ ไฟย่อยอาหาร (ปริณามัคคี) ไฟที่ทำให้ร้อนภายใน (ปริทัยหัคคี) ไฟที่เผาร่างกายให้แก่คร่ำคร่า (ชิรณัคคี) และไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น (สันตัปปัคคี) (มาจากคำ จตุ แปลว่า สี่, กาล แปลว่า เวลา และ เตโช แปลว่า ไฟ) |
จะโปง | ดู จับโปง |
จักขุโรโค | ดู จักษุโรโค |
จักร์ทราสูนย์ | ดู นาภี |
จักษุโรโค | น. กลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นที่ตา ที่เรียกตามสมุฏฐานเบญจอินทรีย์ เช่น ตาแดง ตาแฉะ ริดสีดวงตา, จักขุโรโค ก็เรียก. (มาจากคำ จักษุ หรือจักขุ แปลว่า ตา และ โรโค แปลว่า โรค) |
จันทกระลา, จันทกลา | น. ลมประจำเส้นอิทา, จันทะกาลา ก็เรียก |
จันทน์ทั้ง ๒ | น. จุลพิกัดประเภทต่างสีพวกหนึ่ง ประกอบด้วยแก่นจันทน์ขาว ซึ่งได้จากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Santalum album L. ในวงศ์ Santalaceae และแก่นจันทน์แดง ซึ่งได้จากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์ Leguminosae ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก พิกัดนี้มีรสขมหวานเย็น สรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อนด้วยพิษไข้ เจริญไฟธาตุให้สมบูรณ์ |
จันทะกาลา | ดู จันทกระลา, จันทกลา |
จับ | ก. ใช้มือหรือนิ้วมือสัมผัสหรือกำยึดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย |
จับชีพจร | ก. ใช้นิ้วมือแตะและกดเบา ๆ ลงบนเส้นเลือดแดงบางเส้น เช่น เส้นเลือดแดงที่ข้อมือ ข้อพับ ลำคอ ข้อเท้า เพื่อประเมินกำลังของเลือดลมหรือวินิจฉัยโรคหรืออาการ |
จับโปง | น. โรคชนิดหนึ่ง ทำให้มีอาการปวดบวมตามข้อ มีน้ำใสในข้อ โดยเฉพาะข้อเข่า และข้อเท่าแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ จับโปงน้ำ และจับโปงแห้ง ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๒/๙๖] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้าแลให้เจบทั่วสารพางค์ แลให้ท้องแขงเปนดานให้แก้รอบสดือ ชื่อว่าลมอันตคุณก็ว่า ถ้าแลให้เสียดเข่าชื่อว่าลมจะโปงสะคริวก็ว่า ...", จะโปง ลมจับโปง หรือ ลมจะโปง ก็เรียก |
จับโปงน้ำ | น. จับโปงชนิดหนึ่ง มีการอักเสบรุนแรงของข้อเข่าหรือข้อเท้า ทำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และอาจมีไข้ร่วมด้วย จึงมักเรียกว่า ไข้จับโปง. ดู จับโปง ประกอบ |
จับโปงแห้ง | น. จับโปงชนิดหนึ่ง มีการอักเสบเรื้อรังของข้อเข่าหรือข้อเท้า ทำให้มีอาการบวมบริเวณข้อเล็กน้อย. ดู จับโปง ประกอบ |
จับเส้น | ก. กด คลึง ดึงกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นในกล้ามเนื้อ |
จารึกตำรายาวัดราชโอรสารมราชวรวิหาร | "น. ๑. ตำราการแพทย์แผนไทยประเภทที่สลักลงบนแผ่นหินอ่อนสีเทา รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละ ๓๓ เซนติเมตรเท่ากันทุกแผ่น แต่ละแผ่นมีอักษรสลักด้านเดียว จัดเรียงบรรทัดตามมุมแหลม จำนวน ๑๗ บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น มีเนื้อหาว่าด้วยแผนนวด แผนปลิง โรคที่พบบ่อย ๆ พร้อมตำรับยาแก้ เป็นต้น ตำรานี้จัดทำขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๔ โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำไว้ แล้วติดประดับอยู่ที่ผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และที่ผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถ เดิมมี ๙๒ แผ่น ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๐ แผ่น ๒. หนังสือเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง มี ๔๕๒ หน้า พิมพ์ที่บริษัทอาทิตย์โพรดักส์กรุ๊ป จำกัด โดยกรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และอนุรักษ์ฟื้นฟูตำราการแพทย์แผนไทยให้แพร่หลาย ทั้งนี้ในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสำคัญดังที่อธิบายในความนำตอนหนึ่งว่า ""... การจัดพิมพ์ได้ทำตามวิธีการอ่านจารึก โดยวิธีการคัดถ่ายถอดอักษรเป็นคำจารึกด้วยอักษรไทยปัจจุบัน และทำคำอ่านจารึกพร้อมด้วยคำอธิบายศัพท์ในจารึก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศัพท์เฉพาะด้านการแพทย์แผนไทย เกี่ยวกับชื่อโรค ชื่อสมุฏฐาน และอาการของโรค ชื่อสมุนไพร พร้อมสรรพคุณทางยา พิกัดสมุนไพร วิธีปรุงเครื่องยาและวิธีใช้ยา เป็นต้น กับได้ทำดรรชนีรวมเรื่องไว้ท้ายเล่มด้วย ส่วการจัดลำดับเรื่องนั้น ยังคงจัดตามลำดับแผ่นจารึก ซึ่งติดประดับอยู่ที่ผนัง โดยเริ่มจากศาลารายหน้าพระอุโบสถด้านซ้ายไปขวานับเป็นจารึกแผ่นที่ ๑ ถึง แผ่นที่ ๘ ต่อไปเริ่มแผ่นที่ ๙ ที่ระเบียงมุมซ้ายด้านหน้าพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ เรียงไปทางขวา วนรอบพระวิหาร ถึงแผ่นที่ ๕๐ ...""" |
จำหระ | น. แถบ ซีก (ใช้กับร่างกาย) เช่น จำหระเบื้องซ้าย จำหระเบื้องขวา, ตำหระ ก็เรียก |
จิตรมหาวงษ์ | [จิดมะหาวง] น. ยาแผนไทยขนานหนึ่ง ใช้แก้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย คอเปื่อย มีตัวยา วิธีปรุง วิธีใช้ และสรรพคุณดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์ [๑/๑๔๑] ตอนหนึ่งว่า "... ยาชื่อจิตรมหาวงษ์ แก้ฅอเปื่อย ลิ้นเปื่อย ปากเปื่อย แลแก้ไอ ท่านให้เอารากมะกล่ำต้น ๑ รากมะกล่ำเครือ ๑ รากมะขามป้อม ๑ เนระภูสี ๑ เขากวาง ๑ เขากุย ๑ นอแรด ๑ งาช้าง ๑ จันทน์ทั้ง ๒ น้ำประสารทองสตุ ๑ ยาทั้งนี้เสมอภาคทำแท่งไว้ ละลายน้ำผึ้งทา หาย แล ..." |
จุกอก | น. อาการเจ็บแน่นในทรวงอก |
จุณสี | ดู จุนสี |
จุนสี | [จุนนะสี] น. เครื่องยาธาตุวัตถุชนิดหนึ่ง เป็นผลึกรูปแผ่นหรือรูปแท่งของเกลือทองแดงที่เกิดในธรรมชาติ ในทางเคมีเป็น copper sulphate pentahydrate (CuSO4 - 5H2O) มีชื่อสามัญว่า chalcanthite, bluestone, blue vitriol, verdigris มีสีเขียว (ปัจจุบันหมายถึงสีฟ้า) ใส หน้าตัดเป็นเงาวาว ความแข็ง ๒.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๑-๒.๓ เนื้อเปราะ ตำราสรรพคุณยาไทยว่า จุนสีมีรสเปรี้ยวฝาดเย็น ใช้ภายนอกช่วยกัดล้างเม็ดฝี กัดหัวหูดและคุดทะราด ผสมกับขี้ผึ้งปิดแผลสำหรับกัดฝ้า กัดหนอง, ชินสี กำมะถันเขียว หินเขียว สียายอน หรือ สีนายวน ก็เรียก, เขียนว่า จุณสี ก็มี |
จุนสีสะตุ | น. จุนสีที่ปราศจากน้ำผลึกในโมเลกุล มีสีขาว โบราณเตรียมโดยนำไปตากแดดไว้จนสีซีดและขาวในที่สุด |
จุลพิกัด | น. พิกัดตัวยาน้อยอย่าง เรียกชื่อตรงตามตัวยานั้น มักเป็นตัวยาเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่แหล่งกำเนิด สี ขนาด รูปร่างลักษณะ และรส เช่น ขี้เหล็กทั้ง ๒, จันทน์ทั้ง ๒, เปล้าทั้ง ๒, เกลือทั้ง ๒, รากมะปรางทั้ง ๒ |
เจือ | ก. นำส่วนน้อยประสมลงไปใส่วนมากให้ระคนปนกัน, ตามปรกติใช้กับของเหลว เช่น ใช้น้ำเย็นเจือน้ำร้อน, เจือแทรก ก็เรียก |
เจือแทรก | ดู เจือ |
ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น