-->

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

พจนานุกรม หมวดอักษร ท

ทร่วงดู ส้วง
ทรางดู ซาง
ทวดึงษาการ, ทวดึงสาการ, ทวัตดึงสาการ, ทวัตติงสาการดู อาการ ๓๒
ทวาทศอาโป[ทะวาทดสะอาโป] น. ธาตุน้ำ ๑๒ ประการ ได้แก่ น้ำดี (ปิตตัง) เสมหะหรือเสลด (เสมหัง) หนอง (บุพโพ) เลือด (โลหิตัง) เหงื่อ (เสโท) มันข้นหรือไขมัน (เมโท) น้ำตา (อัสสุ) มันเหลวหรือน้ำเหลือง (วสา) น้ำลาย (เขโฬ) น้ำมูก (สิงฆานิกา) ไขข้อ (ลสิกา) และปัสสาวะ (มุตตัง) (มาจากคำ ทวาทศะ แปลว่า สิบสอง และ อาโป แปลว่า น้ำ)
ทันตาน. ฟัน เป็นองค์ประกอบ ๑ ใน ๒๐ สิ่งของธาตุดิน
ทับหม้อเกลือก. เอาหม้อเกลือที่ตั้งไฟให้ร้อน วางบนใบพลับพลึงหรือใบละหุ่ง ซึ่งวางบนผ้าดิบ แล้วห่อรวบชายผ้าทำเป็นกระจุกสำหรับถือ นาบบนหน้าท้อง หัวหน่าว เอว สะโพก ขาหนีบ และตามตัวของหญิงหลังคลอด เพื่อเร่งให้มดลูกเข้าอู่ ขับน้ำคาวปลา และลดคามตึงตัวของกล้ามเนื้อ, นาบหม้อเกลือ ก็เรียก
ท้ายทอยน. ส่วนสุดของกะโหลกศีรษะด้านหลัง
ทุ่มน. วิธีนับเวลาตามประเพณีสำหรับ ๖ ชั่วโมงแรกของกลางคืน ตั้งแต่ ๑๙ นาฬิกา ถึง ๒๔ นาฬิกา เรียกว่า ๑ ทุ่ม ถึง ๖ ทุ่ม, แต่ ๖ ทุ่ม นิยมเรียกว่า สองยาม
ทุราวสา, ทุราวะสา ๔ดู ทุลาวะสา, ทุลาวะสา ๔
ทุราวสา ๑๒, ทุลาวะสา ๑๒"น. ๑. ความผิดปรกติของน้ำปัสสาวะ ๓ จำพวก คือ ความผิดปรกติของน้ำปัสสาวะที่เกิดเฉพาะในผู้ชาย ซ่งมี ๔ ประเภท (น้ำปัสสาวะสีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าวเช็ด สีเหลืองคล้ายน้ำขมิ้นสด สีแดงคล้ายน้ำฝาง และสีดำคล้ายน้ำครำ) จำพวกหนึ่ง, ที่เกิดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงอีก ๔ ประเภท (มุตฆาต ๔) จำพวกหนึ่ง, และที่เกิดเฉพาะในผู้หญิง ๔ ประเภท (มุตกิต ๔) อีกจำพวกหนึ่ง ดังตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [๔/๓๗] ตอนหนึ่งว่า ""... ทุราวสา ๑๒ นั้น คือน้ำปัสสาวะ ๔ มุตคาด ๔ มุตกิด ๔ เป็น ๑๒ ประการดังนี้ ..."" ๒. คัมภีร์การแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งมีเนื้อหาสำคัญว่าด้วยความผิดปรกติของน้ำปัสสาวะและยาที่ใช้แก้"
ทุลาวะสา, ทุลาวะสา ๔น. ๑. ความผิดปรกติของน้ำปัสสาวะพวกหนึ่งเกิดกับผู้ชาย ผู้ป่วยมีอาการปวดหัวหน่าว เจ็บขัดแสบองคชาตเวลาถ่ายปัสสาวะ น้ำปัสสาวะอาจมีสีและลักษณะต่างกันได้ ๔ แบบ คือ สีขาวขุ่นคล้ายน้ำข้าวเช็ด สีเหลืองคล้ายน้ำขมิ้นสด สีแดงคล้ายน้ำฝาง และสีดำคล้ายน้ำครำ ดังคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา [๒/๒๙๔] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยทุลาวะสา ๔ ประการ คือ ว่าด้วยน้ำปัศสาวะ ๔ ประการ คือน้ำมูตรเมื่อออกมานั้นขาวข้นดังน้ำเข้าเชด ถ้าเหลืองดังน้ำขมิ้นสด ถ้าเปนโลหิตสด ๆ ก็ดีแดงดังน้ำฝางต้มก็ดี ดำดังน้ำครามก็ดี ย่อมให้ปวดหัวเหน่าให้แสบองคชาติ ให้สบัดร้อนสะบัดหนาวเปนเวลา มีประการต่าง ๆ ..." เขียนว่า ทุราวสา หรือ ทุราวะสา ๔ ก็มี
ทุวรรณโทษ, ทุวันโทษ[ทุวันโทด] ว. อันเกิดจากกองสมุฏฐานปิตตะ วาตะ หรือเสมหะ ๒ ใน ๓ กองสมุฏฐานร่วมกันกระทำให้เกิดโทษ เช่น ไข้ทุวันโทษวาตะและเสมหะ เกิดจากกองสมุฏฐานวาตะและเสมหะกระทำร่วมกัน
โทษ[โทด, โทดสะ] น. ความผิดปรกติอันเกิดจากการเสียสมดุลของกองสมุฏฐานปิตตะ วาตะ และเสมหะ
โทสันฑฆาต, โทสันทฆาต, โทสันทะฆาฎ[โทสันทะคาด] น. โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากการกระทบกระแทกอย่างแรงจนชอกช้ำ เป็นอาการต่อเนื่องจากการกระทบกระแทกอย่างแรงจนชอกช้ำ เป็นอาการต่อเนื่องจากเอกสันฑฆาต เกิดอาการท้องผูกจนเป็นพรรดึก เกิดเป็นกองลมเข้าไปอยู่ในท้อง ทำให้เจ็บปวดไปทั้งตัว มีอาการเมื่อยบั้นเอว ขัดตะโพก เวียนศีรษะ สะบัดร้อนสะท้านหนาว เป็นต้น ดู สัณฑฆาต ประกอบ

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...

พจนานุกรม หมวดอักษร ถ

ถัน"น. ๑. เต้านม ๒. น้ำนม"
ถันประโยธรน. เต้านมของสตรี อันมีต่อมสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก ดังคัมภีร์มหาโชตรัต [๒/๒๖๓] ตอนหนึ่งว่า "... อันว่ากูมารีทั้งหลายเมื่อยังเยาว ยังเล็ก อยู่นั้น กำเนิดตานทรางก็เหมือนกันกะกูมารผู้ชาย ต่อเมื่อได้อายุล่วงกำหนดตานทราง ถึงกำหนดที่จะมีระดูแล้ว จึ่งมีประเภทต่างกันกับผู้ชาย ๔ ประการ ที่จะให้สัตวปะฏิสนธิจะเกิดโรคก็เกิดด้วยโลหิตนั้นมากกว่าโรคอื่น มีประเภทแปลกันกับชาย ๔ ประการนั้น คือถันประโยธรประการ ๑ คือจริตกิริยานั้นประการ ๑ คือประเวณีประการ ๑ คือต่อมโลหิตประการ ๑ เปน ๔ ประการด้วยกันดังนี้ ..." (มาจากคำ ถัน แปลว่า เต้านม และ ปโยธร แปลว่า อวัยวะอันทรงไว้ซึ่งน้ำ, นม)

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...

พจนานุกรม หมวดอักษร ต

ตโจน. หนัง เป็นองค์ประกอบ ๑ ใน ๒๐ สิ่งของธาตุดิน, เขียนว่า ตะโจ ก็มี
ต้มก. เอาของเหลว เช่น น้ำ ใส่ภาชนะ แล้วทำให้ร้อนให้เดือด หรือให้สุก เช่น ต้มยา ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๖๑] ตอนหนึ่งว่า "... ขนานหนึ่งเอาใบพลวง ๑ รากกล้วยแดง ๑ รากกล้วยตีบหอม ๑ รากกล้วยหอม ๑ รากตาเสือ ๑ เอาเสมอภาค ต้ม ๓ เอา ๑ กินหายแล ..."
ต้ม ๓ เอา ๑ดูใน ยาต้ม
ตรีกฏุก, ตรีกุฏุก, ตรีกระฏุกน. พิกัดยาชนิดหนึ่ง จำกัดของเผ็ดร้อน ๓ อย่าง ได้แก่ ขิงแห้ง พริกไทย และดีปลี ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก พิกัดนี้มีรสเผ็ดร้น สรรพคุณแก้วาตะ เสมหะ ปิตตะ ในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน
ตรีชะวาสังข์น. ยาแผนไทยขนานหนึ่ง ใช้แก้ปถวีธาตุพิการ มีตัวยา วิธีปรุง วิธีใช้ และสรรพคุณ ดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์ [๑/๑๑๙] ตอนหนึ่งว่า "... ยาชื่อตรีชะวาสังข์ แก้ปัถวีธาตุพิการ คือสมองกระดูกม้าม ให้เอากะเทียม ๑ ใบสะเดา ๑ ใบคนทีสอ ๑ เปลือกต้นตีนเปด ๑ เบญจกูล ๑ จันทน์ทั้ง ๒ สมอทั้ง ๓ ผลจันทน์ ๑ ดอกจันทน์ ๑ กระวาน ๑ กานพลู ๑ ตรีกะฏุก ๑ ยาทั้งนี้เอาสิ่งละส่วน เปลือกกันเกรา ๒ ส่วน เปลือกสมุลแว้ง ๓ ส่วน ตำผงละลายน้ำผึ้งกินแก้ปัถวีธาตุ ๑๐ ประการแล ..."
ตรีโทษว. อันเกิดจากกองสมุฏฐานปิตตะ วาตะ และเสมหะทั้ง ๓ กองสมุฏฐานร่วมกันกระทำให้เกิดโทษ
ตรีผลา[-ผะลา] น. พิกัดยาชนิดหนึ่ง จำกัดผลไม้ ๓ อย่าง ได้แก่ สมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม ในตำราสรรพคุณยาฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ระบุชนิดของผลไม้ ๓ อย่างแตกต่างกันไป คือ มีสมอเทศแทนมะขามป้อม พิกัดนี้มีรสเปรี้ยวฝาด สรรพคุณแก้ปิตตะ วาตะ เสมหะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน (คำนี้แพทย์แผนไทยนิยมอ่านว่าตรีผะหลา)
ตรีสันฑฆาต, ตรีสันทฆาต, ตรีสันทะฆาฎ[ตรีสันทะคาด] น. โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากการกระทบกระแทกอย่างแรงจนชอกช้ำ เป็นอาการต่อเนื่องจากเอกสันฑฆาตหรือโทสันฑฆาต เกิดเป็นเม็ดผุดขึ้นภายในบริเวณดี ตับหรือลำไส้ ทำให้เป็นไข้ จุกเสียด ท้องพอง มีอาการเพ้อคลั่ง ประดุจผีเข้าสิง ถ้าเป็นนาน ๗-๙ วัน โลหิตจะแตกออกตามทวารทั้ง ๙ ดู สันฑฆาต ประกอบ
ตรีสารน. พิกัดยาชนิดหนึ่ง จำกัดตัวยา ๓ อย่าง ได้แก่ รากเจตมูลเพลิง เถาสะค้าน และรากช้าพลู ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก พิกัดนี้รสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้เสมหะ ปิตตะ วาตะในกองธาตุ ฤดู อายุ และกองสมุฏฐาน
ตะเกียบน. ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง
ตะคากดู หัวตะคาก
ตะโจดู ตะโจ
ตะโพกสลักเพชรดูใน สลักเพชร, สลักเพ็ด
ตานน. โรคเด็กประเภทหนึ่ง มักเกิดในเด็กอายุตั้งแต่ ๕-๑๒ ขวบ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ตานโจรและตานจร
ตานขโมยดู ตานโจร
ตานจรน. โรคตานชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นกับเด็กที่เกิดในวันใดก็ได้ มีชื่อแตกต่างกันไปป เช่น กะระ พรหมกิจ สันตุกมิต สาระ พะกะระ ซึ่งตานจรแต่ละประเภทนี้มีสาเหตุและอาการแตกต่างกัน
ตานโจรน. ตานที่เกิดกับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ ๕-๖ ขวบ เป็นต้นไปจนถึง ๗ ขวบ แพทย์แผนไทยเชื่อว่ามักเกิดจากการกินอาหารอันทำให้เกิดพยาธิในร่างกายมีอาการหลายอย่าง เช่น ลงท้อง ธาตุวิปริต ชอบกินของสดของคาว กินอาหารได้น้อย อุจจาระเหม็นคาวจัด อุจจาระกะปริบกะปรอยหรือเป็นมูกเลือด บางทีเลือดออกสด ๆ ทำให้เด็กซูบซีด เมื่อเป็นนานประมาณ ๓ เดือน จะมีอาการลงท้อง ตกเลือดดั่งน้ำล้างเนื้อ ปวดมวนเป็นมูกเลือด ดากออก ตัวผอมเหลือง, ตานขโมย ก็เรียก
ตาปลาน. หนังซึ่งด้านเป็นไตแข็งรูปลักษณะคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า
ตาย"ก. ๑. สิ้นใจ สิ้นชีวิต ไม่เป็นอยุ่ต่อไป ๒. สิ้นสภาพของการมีชีวิต เช่น สภาวะสมองตาย เนื้อตาย ๓. เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น มือตาย ตีนตาย ๔. รับความรู้สึกไม่ได้"
ตาระสกะโรค, ตาระสะกะโรคน. ริดสีดวงประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นในหัวหน่าวและท้องน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยมาก ปัสสาวะขัด หยดย้อย แสบร้อนในท่อปัสสาวะมาก ดังตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [๔/๒๗๒] ตอนหนึ่งว่า "... ลำดับนี้จะกล่าวด้วยนับหนึ่งใหม่ ว่าด้วยลักษณะหฤศโรค อันชื่อว่าตาระสกะ กล่าวคือโรคริดสีดวง อันบังเกิดขึ้นในเหน่าและท้องน้อยนั้นเป็นคำรบ ๑๐ มีอาการกระทำให้ปวดท้องน้อยเป็นกำลัง บางทีให้ขัดปัสสาวะ บางทีให้ปัสสาวะบ่อย ๆ และหยดย้อย มิสะดวก ให้แสบร้อนในลำปัสสาวะยิ่นัก ฯ ..." ดู ริดสีดวง ประกอบ
ตาแหกน. อาการที่ลืมตาเปิดได้ไม่เต็มที่ และลหับตาไม่สนิท
ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง รวบรวมจากเนื้อหาในศิลาจารึกที่เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ซึ่งติดอยู่ตามศาลารายของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) โดยคณะอาจารย์โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ มีเนื้อหาสำคัญ ๒ ส่วน คือ ส่วนแรกรวม ๑๖๕ หน้าว่าด้วยวิชาหัตถศาสตร์ (แผนการนวด) รูปฤๅษีดัดตนและโคลงภาพฤๅษีดัดตน ส่วนหลังมี ๔๗๘ หน้า ว่าด้วยตำรายาวัดโพธิ์ โรคต่าง ๆ และยาแก้ แม่ซื้อ ลำบองราหู ซาง สมุฏฐาน ๔ ประการ ริดสีดวง ต้อ กำเนิดแห่งลม เป็นต้น ในตอนท้ายของส่วนหลังนี้คณะผู้จัดพิมพ์ได้เพิ่ม "ตำราของอาจารย์เปี่ยม" ซึ่งกล่าวถึง ธาตุทั้ง ๔, สมุฏฐานการเกิดโรค ๑๔ อย่าง, อาหารฝ่าสำแดง, น้ำกระสายยาต่าง ๆ เป็นต้นเข้ามาด้วย (หน้า ๔๖๓-๓๗๘) ตำราเล่มนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร พระนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕
ตำราสรรพคุณยา ฉบับของกรมหลวงวงษาธิราชสนิทน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง เรียบเรียงและรวบรวมโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท (พระองค์เจ้านวม) ต้นราชสกุลสนิทวงศ์ เจ้ากรมหมอหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีเนื้อหาว่าด้วยรสและสรรพคุณของตัวยาสมุนไพร เรียงตามลำดับเป็นข้อ ๆ รวม ๑๖๖ ข้อ ตำราเล่มนี้จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒ ในงานปลงศพคุณหญิงทรัพย์ อรรถกวีวาจก (ทรัพย์รัศมภูติ) และได้มีการจัดพิมพ์ต่อมาอีกหลายครั้ง ในการจัดพิมพ์ครั้งแรก โดยหอพระสมุดวชิรญาณ มีคำนำซึ่งอธิบายที่มาที่ไปของตำราเล่มนี้ความตอนหนึ่งว่า "... หนังสือว่าด้วยตำราสรรพคุณยานี้ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ได้ทรงเรียบเรียงเป็นคำประฑันธ์ร้อยแก้ว เป็นตำราดี มีคุณประโยชน์ และรักษาโรคได้จริง ด้วยกรมหลวงวงษาธิราชสนิททรงเป็นอธิบดีแพทย์ในสมัยรัชกาลที่ ๓ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพระเกียรติคุณสมควรได้รับการยกย่องนับถือเป็นแพทยาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และเชี่ยวชาญในการแพทย์ไทย ..."
ตำหระดู จำหระ
ตุ่มน. เม็ดที่ขึ้นตามร่างกาย เช่น ผิวหนัง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในปาก ในคอ
เตโชธาตุดู ธาตุเพลิง, ธาตุไฟ
เตโชธาตุสมุฏฐานดูใน ธาตุสมุฏฐาน

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...