-->

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ง

งัดเส้นดู ดึงเส้น
งูทับทางขาวดู งูทับสมิงคลา
งูทับสมิงคลา[-ทับสะหมิงคลา] น. งูพิษชนิด Bungarus candidus (Linnaeus) ในวงศ์ Elapidae หัวสีดำ ตัวมีลายเป็นปล้องสีดำสลับขาว เขี้ยวพิษผนึกแน่นกับขากรรไกรบนขยับหรือพับเขี้ยวไม่ได้ ตัวยาวประมาณ ๑ เมตร, งูทับทางขาว ก็เรียก
งูปูติมุขน. งูจำพวกหนึ่งที่เมื่อกัดแล้วทำให้เนื้อเน่าเปื่อย เช่น งูกะปะ (มาจากคำ ปูติ แปลว่า เน่า และ มุข แปลว่า ปาก)
งูเหลือมน. สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python reticulates (Schneider) ในวงศ์ Pythoninae มีชื่อสามัญว่า reticulated python หรือ regal python งูนี้ไม่มีพิษ เป็นงูที่มีขนาดใหญ่และยาว ลำตัวหนาตอนกลางลำตัวป่อง มีเกล็ดปกคลุม โดยทั่วไปเกล็ดสีเหลืองปนน้ำตาล มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะบริเวณหัวมีสีเหลืองปนน้ำตาล มีเส้นสีดำเล็ก ๆ พาดผ่านกลางหัว กระดูก ดี และน้ำมันของงูเหลือมมีสรรพคุณทางยา

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...

พจนานุกรม หมวดอักษร ฆ

ฆานโรโค[คานะโรโค] น. กลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นที่จมูก และประสาทรับรู้กลิ่น ที่เรียกตามสมุฏฐานเบญจอินทรีย์ (มาจากคำว่า ฆานะ แปลว่า จมูก ประสาทที่รับรู้กลิ่น และ โรโค แปลว่า โรค)
ฆานะโรค[คานะโรก] น. ริดสีดวงประเภทหนึ่ง เกิดในจมูก ผู้ป่วยจะหายขัด มีเม็ดขึ้นในจมูก เมื่อเม็ดนั้นแตก จะทำให้ปวดแสบปวดร้อนมาก น้ำมูกไหลอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เป็นต้น ดังตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [๔/๒๖๓] ตอนหนึ่งว่า "... ลำดับนี้จะกล่าวด้วยนัยหนึ่งใหม่ ว่าด้วยลักษณะหฤศโรค อันชื่อว่าฆานะ กล่าวถึงโรคริดสีดวงอันบังเกิดขึ้นในนาสิกนั้น เป็นคำรบ ๓ มีอาการกระทำให้หายใจขัด บางทีเป็นเม็ดยอดขึ้นในนาสิกแล้วแตกลำลาบออกเหม็นคาวคอ กระทำพิษให้ปวดแสบปวดร้อนเป็นกำลัง บางทีให้น้ำมูกไหลอยู่เป็นนิจ ใสดุจน้ำฝน ให้เหม็นคาวคอยิ่งนัก ฯ ..." , ริดสีดวงจมูกก็เรียก

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ค (ส่วนที่ 2)

คัมภีร์ไพจิตรมหาวงศ์[-ไพจิดมะหาวง] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถงโรคฝีภายนอก ๒ ประเภท คือ ฝีหัวคว่ำ ฝีหัวหงาย และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์มรณญาณสูตร[-มอระนะยานนะสูด] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่งในคัมภีร์วรโยคสาร ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงนิมิตหรืออาการแสดงของผู้ปวย ที่เป็นสิ่งบ่งบอกว่าจะถึงแก่ความตายเมื่อใด
คัมภีร์มหาโชตรัต[-มะหาโชตะรัด] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้แต่งตำรานี้คือ ท้าวสหัมบดีพรหม มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย การเกิดระดู ความผิดปรกติของระดู และตำรายาที่ใช้แก้
คัมภีร์มัญชุสารวิเชียร[-มันชุสาระวิเชียน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคลมที่เป็นดานหรือโรคลมที่เป็นก้อนนแข็ง ๑๐ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์มุขโรค[-มุกขะโรก] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคที่เกิดในปากและคอ ๑๙ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา[-มุดฉาปักขันทิกา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชือผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและผู้หญิง ได้แก่ ทุลาวะสา ๑๒ ประการ ปรเมหะ ๒๐ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์โรคนิทาน[-โรกนิทาน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง คล้ายคลึงกับคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ผู้แต่งตำรานี้คือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ สาเหตุจากความผิดปรกติของธาตุ ดิน น้ำ ล ไฟ อิทธิพลของฤดูกาล รวมถึงการใช้ตำรับยาแก้โรค (มาจากคำว่า นิทาน แปลว่า มูลเหตุ สาเหตุ ต้นเหตุ)
คัมภีร์โรคนิทานคำฉันท์น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้เรียบเรียงตำรานี้คือ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูรณ์ มีลักษณะเป็นร้อยกรอง เนื้อหาสำคัญรวบรวมจากคัมภีร์โบราณหลายคัมภีร์ กล่าวถึงโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ สาเหตุการเจ็บป่วย อิทธิพลของฤดูกาล ตำรับยาที่ใช้แก้โรคและอาการ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเส้นสิบกับการก่อให้เกิดโรค และอาการที่แก้ได้ด้วยการนวด
คัมภีร์วรโยคสาร[-วอระโยกสาน, -วอระโยคะสาน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้แต่งเป็นชาวลังกาชื่อ มหาอำมาตย์อมรเสก มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงหน้าที่และลักษณะของแพทย์ ๓๐ ประการ คุณลักษณะแพทย์ที่ดี ลักษณะผู้ป่วย นิมิตดี-ร้าย โรคและการรักษา รสของสมุนไพร การเก็บสมุนไพร รวมทั้งสรรพคุณ หรือคุณค่าของอาหาร เป็นต้น
คัมภีร์วิถีกุฐโรค[-กุดถะโรก] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงสาเหตุของโรคเรื้อน ๗ อย่าง และโรคเรื้อน ๑๓ ประเภท และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย[-สะหมุดถาน-] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรค ๔ ประการ ได้แก่ ธาตุ อุตุ อายุ และกาล
คัมภีร์สรรพคุณ, คัมภีร์สรรพคุณยาดู คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณแลมหาพิกัด
คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณแลมหาพิกัดน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงเภสัชวัตถุ สรรพคุณของสมุนไพร ๑๑๓ ชนิดที่ใช้ปรุงยา พิกัดยา มหาพิกัด เครื่องยาที่ใช้รักษาโรคต่าง ๆ , คัมภีร์สรรพคุณ หรือ คัมภีร์สรรพคุณยา ก็เรียก
คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์[-สิดทิสาน-] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคที่เกิดในเด็ก ได้แก่ ลำบองราหูที่เกิดในเดือนต่าง ๆ ซาง ลักษณะสันนิบาต และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์อติสาร[-อะติสาน] ตำราการแพทย์แผนไทยฉับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคอุจจาระร่วง และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์อภัยสันตา[-อะไพสันตา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคต้อ ๑๙ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์อุทรโรค[-อุทอนโรก] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคมานท้องโต และตำรับยาที่ใช้แก้
คำฝอยน. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นดอกย่อยแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carthamus tinctorius L. ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีชื่อสามัญว่า safflower เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกหรือรูปรี ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน ปลายซี่เป็นติ่งหนามแหลม ดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อแรกบานกลีบดอกสีเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ผลแห้งเมล็ดอ่อน เมล็ดรูปสามเหลี่ยมสีขาว ขนาดเล็ก ตำราสรรพคุณยาไทยว่าใช้บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู นอกจากนี้ ยังใช้เป็นสีย้อมหรือแต่งสีอาหารได้, โกฐกุสุมภ์ หรือดอกคำฝอย ก็เรียก
คำรบน. ครั้งที่ เช่น เป็นคำรบ ๓ ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๓๓] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะคือกระไสยเต่านั้นเปนคำรบ ๑๑ ..."
คิมหันตฤดู[คิมหันตะรึดู] ดูใน ฤดู ๓, ฤดู ๔ และ ฤดู ๖
คุว. ไหม้ระอุอยู่ข้างใน
คุลิการ, คุลีการก. คลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วปั้นก้อน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๔๐๑] ตอนหนึ่งว่า "... ยาตาแก้ต้อสายโลหิตขนานนี้ท่านให้เอาบรเพช ขมิ้นอ้อย รากบานไม่รู้โรยฃาว รากหญ้างวงช้าง คุลิการรวม ยา ๕ สิ่งนี้เอาเสมอภาค ..."
คูถเสมหะ[คูดเสมหะ, คูดถะเสมหะ] ดูใน สมุฏฐานเสมหะ
เครื่องยาน. สิ่งต่าง ๆ อันเป็นส่วนผสมในตำรับยา ซึ่งเตรียมไว้สำหรับใช้ปรุงยา ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุ หรือจุลชีพ เช่น ตำรับยาเบญจโลกวิเชียร ประกอบด้วยเครื่องยา ๕ สิ่ง ได้แก่ รากคนทา รากย่านาง รากชิงชี่ รากมะเดื่ออุทุมพร และรากไม้เท้ายายม่อม ในปริมาณเท่า ๆ กัน
เคล้นก. ใช้นิ้วมือ ฝ่ามือ ส้นมือกดลงที่ส่วนของร่างกาย แล้วบีบเน้นไปมา

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒

อ่านต่อ...

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ค (ส่วนที่ 1)

คณาเภสัชน. ระบบวิชาความรู้ที่ว่าด้วยหมู่ยา พวกยา หรือกลุ่มยา จัดเป็นหลักวิชาด้านเภสัชกรรมไทย ๑ ใน ๔ หมวดวิชา ได้แก่ เภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช คณาเภสัช และเภสัชกรรม แพทย์แผนไทยจัดตัวยาไว้เป็นหมู่หรือพวกเดียวกัน เรียกเป็นชื่อเดียวกัน เรียกเป็นคำตรงบ้าง คำศัพท์บ้าง เพื่อสะดวกในการตั้งตำรับยา ง่ายต่อการศึกษาจดจำ และเป็นภูมิรู้ของหมอ ตำราเภสัชกรรมไทยแบ่งคณาเภสัชเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ จุลพิกัด พิกัดยา และมหาพิกัด
ครรภ, ครรภ-, ครรภ์[คับ, คับพะ-, คัน] น. ห้อง, ท้อง เช่นหญิงมีครรภ์ (ใช้เฉพาะผู้หญิงที่มีลูกอยู่ในท้อง) ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๘๐] ตอนหนึ่งว่า "... ว่าสัตรีทั้งปวงนี้มีครรภ์อันตั้งขึ้นได้ ๑๕ วัน ก็ดี แลเดือนหนึ่งก็ดี สำแดงกายให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย ให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว เพราะว่าเอนผ่านนั้นเขียว หัวนมนั้นคล้ำดำเข้าแล้วตั้งขึ้นเปนเมดรอบหัวนมนั้น ก็ให้แพทย์พึงรู้ว่าสัตรีผู้นั้นมีครรภโดยสังเขป ..."
ครรภ์ทวารกำเนิด[คันทะวาระกำเหนิด] ดู ครรภ์วารกำเนิด, ครรภ์วาระกำเนิด
ครรภประสูติดู ครรภ์ประสูติ
ครรภ์ประสูติ[คันประสูด] น. การคลอดบุตร การดูแลช่วยเหลือมารดาและทารกขณะคลอด ตลอดจนการดูแลทารกแรกเกิดจนถึงอายุ ๑๒ เดือน ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑๔/๒๗] ตอนหนึ่งว่า "... ตั้งแต่อยู่ในครรภ์นั้นตราบเท่าถ้วยทศมาศ คือ ๑๐ เดือน เป็นกำหนดตามธรรมดาประเพณี ยังมีลมจำพวกหนึ่งชื่อว่า กัมมัชชวาต ก็บังเกิดพัดกำเริบแห่งเส้นและเอ็นที่รัดรึงตัวกุมารนั้นไว้ก็ใหห้กลับเอาศีร์ษะลงเบื้องต่ำ ฤกษยามดีแล้ว กุมารและกุมารีทั้งหลายนั้นก็คลอดออกจากครรภ์แห่งมารดานั้น ... ถ้าแลกุมารกุมารีผู้ใด คลอดจากครรภ์มารดาได้ เดือน ๑ ท่านให้เอาใบกระเพรา ใบเสนียด ใบตานหม่อน บอระเพ็ด บดละลายน้ำท่าให้กินประจำ ท้องกันสำรอกเด็กในเดือน ๑ ดีนักก ...", เขียนว่า ครรภประสูติ ก็มี
ครรภปรามาศ, ครรภปะรามาศดู ครรภ์ปรามาศ, ครรภ์ปรามาส, ครรภ์ปะรามาศ
ครรภ์ปรามาศ, ครรภ์ปรามาส, ครรภ์ปะรามาศ[คันปะรามาด] น. การตั้งครรภ์อันเกิดจากการลูบท้องบริเวณรอบสะดือของพรหม ๒ องค์ที่มีชื่อว่า พรหมจารี ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... เมื่อแผ่นดินแลเขาพระเมรุตั้งขึ้นแล้วนั้น พระอิศรผู้เปนเจ้าเธออาราธนาพรหม ๒ องค์ ทรงนามว่าพรหมอาจารีย ลงมากินง้วนดิน ครั้นกินแล้วก็ทรงครรภคลอดบุตรได้ ๑๒ คน อันพวกนี้เกิดด้วยครรปรามาศ คือว่าเอามือลูบนาภีก็มีครรภ เกิดบุตรแพร่ไปทั้ง ๔ ทวีป แตกเปนภาษาต่าง ๆ กัน ...", เขียนว่า ครรภปรามาศ หรือครรภปะรามาศ ก็มี (มาจากคำ ครรภ์ แปลว่า ท้อง และ ปรามาศ แปลว่า การลูบคลำ การจับต้อง)
ครรภ์ปริมณฑลน. การดูแลรักษาพยาบาลมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๙๐] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้ว่าด้วยครรภปริมณฑลต่อไปตามเรื่องดังนี้ ถ้าสัตรีผู้ใดมีครรภตั้งแต่ได้ ๓ เดือนขึ้นไปถึง ๑๐ เดือนเปนไข้ดุจดังกล่าวมาแต่หนหลังจะแก้ด้วยสิ่งใด ๆ ก็มิฟัง ..."
ครรภ์รักษาน. การดูแลรักษาพยาลาลหญิงตั้งครรภ์ให้เป็นปรกติ ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๘๐] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้าสัตรีภาพมีครรภได้เดือนหนึ่ง ก็ดี ถ้าไข้รำเพรำพัด คือให้รากให้จุกในอุทร แลให้แดกขึ้นแลแดกลงเปนกำลัง แลให้ละเมอเพ้อพกดังผีเข้า แพทยไม่รู้ว่าเปนไข้สันนิบาตนั้นหามิได้เลยบังเกิดโทษในครรภรักษานั้นเอง ถ้าจะแก้ให้ทำตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทำบัตร ๔ มุม เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ ..."
ครรภ์วารกำเนิด, ครรภ์วาระกำเนิด[คันวาระกำเหนิด] น. การตั้งครรภ์เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิไปจนถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซึ่งอาการแสดงออกของมารดาสามารถใช้ทำนายเพศ วันปฏิสนธิหรือวันคลอด และซางเจ้าเรือนของทารกในครรภ์ได้ ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๗๓-๑๗๔] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้ามิดังนั้นก็ให้มารดาฝันเหนวิปริต ก็รู้ว่าครรภตั้งแลครรภตั้งขึ้นแล้ว มิได้วิปริต ครบ ๗ วันก็ข้นเข้าดังน้ำล้างเนื้อ เมื่อไปอีก ๗ วันเปนชิ้นเนื้อ ไปอีก ๗ วันเปนสัณฐานดุจไข่ ไปอีก ๗ วันก็แตกออกเป็นปัญจสาขา ๕ แห่ง คือ ศีศะแลมือแลเท้า ไปอีก ๗ วัน ก็เกิดเกษาโลมานขาทันตาลำดับกันไปดังนี้ ในขณเมื่อครรภตั้งขึ้นได้ เดือน ๑ กับ ๑๒ วันนั้น โลหิตจึ่งบังเกิดเวียนเข้าเปน ตานกยุง ที่หัวใจเปนเครื่องรับดวงจิตรวิญญาณ ถ้าหญิงเวียนซ้าย ถ้าชายเวียนขวา แต่มิได้ปรากฎออกมาครั้นเมื่อครรภถ้วนไตรมาสแล้ว โลหิตนั้นก็แตกออกไปตามปัญจสาขา เมื่อได้ ๔ เดือนจึ่งตั้งอาการ ๓๒ นั้น จึ่งบังเกิดตาแลหน้าผากก่อน สิ่งทั้งปวงจึ่งบังเกิดเปนอันดับกันไป เมื่อครรภได้ ๕ เดือน จึ่งมีจิตรแลเบญจขันธพร้อม ... ถ้ามารดามีครรภ์ได้ ๓ เดือน มักให้มารดานั้นปวดศีรษะแลให้เจ็บนม ให้หยากของอันหวานแล ให้เมื่อยแขนทั้งสองข้าง ให้ตาฟางให้หูหนักให้เป็นลมมึนตึง แลให้อาเจียรลมเปล่า ถ้าแพทย์เหนดังนี้แล้วก็ให้พึงรู้ว่าสัตวมาเอาปฏิสนธิวันจันทร เมื่อจะคลอดก็วันจันทร เพราะว่ากำเนิดซางน้ำเปนเจ้าเรือน กุมารผู้นั้นจึ่งแสดงเพศออกแก่มารดาดังนี้ ...", ครรภ์ทวารกำเนิด หรือคัพภวาระกำเนิด ก็เรียก
ครรภ์วิปลาส[คันวิบปะลาด, คันวิปะลาด] น. ครรภ์ที่ตกหรือแท้งไปดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑๔/๑๙[ ตอนหนึ่งว่า "... บัดนี้จะว่าด้วยลักษณครรภ์วิปลาศต่อไป ... อันว่าหญิงจำพวกใดก็ทรงไว้ซึ่งครรภ์อันบังเกิดซึ่งกามวิตกนั้นหนาไป ด้วยไฟราคอันเป็นสมุฏฐานนั้นกล้านัก อันว่าสัตว์ทั้งหลาย ก็มิอาจตั้งมูลปฏิสนธินั้นขึ้นได้ ก็มีอันตรายนั้นต่าง ๆ ก็มีด้วยประการดังนี้ อันว่าสตรีจำพวกใดควรจะกินก็กินซึ่งของอันเผ็ดและร้อนเป็นต้นต่าง ๆ ซึ่งของอันจะให้ลงท้องนั้นเป็นต้นต่าง ๆ คือยาที่จะให้แสลงโรคนั้นต่าง ๆ เป็นลักษณะแห่งธาตุน้ำกำเริบแห่งบุคคลผู้นั้นแท้จริง ก็มีอุปมาดุจดังประไลยกัลป์ อันจะพัดให้ฉิบหายเสียซึ่งสัตว์อันจะมาเอาปฏิสนธินั้นในครรภ์แห่งสตรีภาพผู้นั้น ก็มิอาจตั้งมูลปฏิสนธิขึ้นได้ด้วยประการดังนี้ อนึ่งโสดอันว่าสตรีผู้ใดมีจิตรนั้นมักมากไปด้วยความโกรธก็วิ่งไปมาโดยเร็ว เมื่อลักขณะโกรธ บางทีก็ทิ้งทอดซึ่งตัวเองลง ยกมือขึ้นทั้ง ๒ ประหารซึ่งตนเอง อนึ่งโสดอันว่าหญิงปากร้ายมิได้รู้จักซึ่งโทษแห่งตนย่อมด่าตัดพ้อเป็นอันหยาบช้า ซึ่งผัวแห่งตนก็ดี ซึ่งบุคคลผู้อื่นก็ดี เขากระทำโทษคือว่าทุบถองตีโบยด้วยกำลังแรงนั้นต่าง ๆ สตรีผู้นั้นก็เจ็บช้ำ ซึ่งครรภ์แห่งหญิงผู้นั้นก็ตกไป ด้วยประการดังนี้ หนึ่งโสดอันว่าหญิงจำพวกใด ก็ทรงไว้ซึ่งครรภ์ก็ดี คือภูตปีศาจ หากกระทำโทษต่าง ๆ ครรภ์นั้นก็มิได้ตั้งขึ้น บางทีต้องสาตราคมคุณไสยเขากระทำก็ดี อันว่าลูกอันอยู่ในครรภ์นั้นก็ตกไปแท้จริง ด้วยประการดังนี้ ..."
คลึงก. ใช้มือหรือส่วนของมือ แขน ศอก เข่า เท้าหรือส่วนของเท้า หรืออวัยวะอื่นใด หรือวัสดุอุปกรณ์อื่นกดแล้วหมุนหรือเคลื่อนไปมา สำหรับบำบัดโรคหรืออาการบางอย่าง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย
คลื่นเหียนก. มีอาการคลื่นไส้ จะอาเจียน
คัพภวาระกำเนิด[คับพะวาระกำเหนิด] ดู ครรภ์วารกำเนิด, ครรภ์วาระกำเนิด
คัมภีร์"๑. น. หนังสือ ตำรา หรือจารึกที่มีมาแล้วช้านานและมีคุณค่าทางการแพทย์แผนไทย หรือทางศาสนา โหราศาสตร์ เป็นต้น ๒. ลักษณนามเรียกหนังสือ ตำรา หรือจารึกเหล่านี้ เช่น ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๑ มีคัมภีร์แพทย์แผนไทย ๔ คัมภีร์"
คัมภีร์กระษัยน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึง โรคที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมที่เรียก "โรคกระษัย" โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่มีสาเหตุจากกองธาตุ มี ๘ ประการ และกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคอีก ๑๘ ประการ รวมทั้งตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์จะละนะสังคหะน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง เวชสาตร์วัณ์ณณาเล่ม ๒ ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงลักษณะอุจจาระธาตุ ๔ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ฉันทศาสตร, คัมภีร์ฉันทศาสตร์[-ฉันทะสาด] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ต้นฉบับใช้ชื่อว่า "ตำราแพทย์ที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ ฉันทศาสตร์" แต่งเป็นร้อยกรอง ผู้เรียบเรียงตำรานี้คือ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูรณ์ (ปัจจุบันคือจังหวัดจันทบุรี) มีเนื้อหาสำคัญที่รวบรวมจากคัมภีร์โบราณหลายคัมภีร์ เช่น บทไหว้ครู จรรยาแพทย์ ธาตุสมุฏฐาน กาลสมุฏฐาน ลักษณะชีพจร ลักษณะน้ำนมดีและชั่ว ซาง ไข้ ทับ ป่วง สันนิบาตสองคลอง มรณญาณสูตร
คัมภีร์ชวดาร[-ชะวะดาน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคลม ลมมีพิษ ลมมีพิษมาก และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ตักกศิลา, คัมภีร์ตักกะศิลา[-ตักกะสิลา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ในตอนต้นของตำราว่า "... กล่าวกลอนสอนไว้ ตามในตำรา เมืองตักกะศิลา ครั้งห่าลงเมือง พระฤๅษีเมตตา เห็นเวทนา ฝูงคนตายเปลือง จึงไว้ตำรา มีมาตามเรื่อง เป็นบุญไปเบื้อง น่าชั่วกัลปป์ปา ..." มีเนื้อหาสำคัญว่าด้วยไข้ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งลักษณะอาการและชื่อเรียก เช่น ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้เหนือ ไข้ประดง ไข้รากสาด รวมทั้งตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ทิพมาลา[-ทิบมาลา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงลักษณะฝีภายใน ๒๑ ประเภท และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ทุลาวะสาน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงความผิดปรกติของน้ำปัสสาวะ และยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ธาตุบรรจบ[-ทาดบันจบ] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้แต่งตำรานี้คือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคเกี่ยวกับอุจจาระ และมหาภูตรูป ตั้งแต่สาเหตุของโรค ความผิดปรกติของการถ่ายอุจจาระ ลักษณะ สี และกลิ่นของอุจจาระ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ธาตุวิภังค์[-ทาดวิพัง] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่งคล้ายคลึงกับคัมภีร์โรคนิทาน ผู้แต่งตำรานี้คือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของธาตุทั้ง ๔ พิการตามฤดู ๔ รวมถึงการใช้ตำรับยาแก้
คัมภีร์ธาตุวิวรณ์[-ทาดวิวอน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงความผิดปรกติของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายที่มีสาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนผ่านของฤดูต่าง ๆ ในรอบปี การรักษาธาตุทั้ง ๔ ให้เป็นปรกติ รวมถึงการใช้ตำรับยาแก้โรค มูลเหตุการเกิดโรค ๖ ประการ ข้อห้าม ๑๑ ประการสำหรับผู้ป่วย ไข้เอกโทษ ไข้ทุวันโทษ ไข้ตรีโทษ และรสยา ๘ รส
คัมภีร์ธาตุอภิญญาณน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่รากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงลักษณะของโรคที่เกิดกับธาตุทั้ง ๔ อันทำให้อุจจาระมีสีดำ แดง ขาว เขียว และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ปฐมจินดา,คัมภีร์ปฐมจินดาร์, คัมภีร์ปถมจินดา, คัมภีร์ปถมจินดาร์ ดู คัมภีร์ประถมจินดา, คัมภีร์ประถมจินดาร์
คัมภีร์ประถมจินดา, คัมภีร์ประถมจินดาร์น. ชื่อตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผุ้แต่งตำรานี้คือหมอกชีวกโกมารภัจจ์ ในตอนต้นของตำราว่า "... ซึ่งพระคัมภีร์แพทย์อันวิเศษ ชื่อประถมจินดาอันเปนหลักเปนประธานแห่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ทั้งปวง อันพระอาจารย์โกมารภัจ แต่งไว้ ..." มีเนื้อหาสำคัญ ได้แก่ การเกิดขึ้นของโลกและมนุษย์ การตั้งครรภ์ การดูแลครรภ์ การแท้ง การคลอดลูก วิธีการฝังรก โรคที่เกิดขณะอยู่ไฟ การดูแลเด็ก โรคในวัยเด็ก และตำรับยาที่ใช้ในโรคแม่และเด็ก เป็นต้น, เขียนว่า คัมภีร์ปฐมจินดา คัมภีร์ปฐมจินดาร์ คัมภีร์ปถมจินดา หรือ คัมภีร์ปถมจินดาร์ ก็มี
คัมภีร์แผนนวดน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่งในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงตำแหน่งหรือแนวเส้นทั่วร่างกายที่บ่งบอกถึงโรคและตำแหน่งของการนวด การวางปลิงเพื่อแก้โรคโดยมีแผนภาพรูปคนแสดงประกอบ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคลมและตำรับยาที่ใช้แก้ รวมทั้งการทำนายยามยาตรา
คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณน. ตำราการแพทย์แผนไทยชุดหนึ่ง มี ๓ เล่ม ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) เป็นผู้เรียบเรียง พิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ พระนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔, คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม ๑ มี ๓๕๒ หน้า เนื้อหาว่าด้วยคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย คัมภีร์สรรพคุณยา คัมภีร์มรณญาณสูตร คัมภีร์โรคนิทานเล่ม ๑ คัมภีร์ธาตุวิภังค์ คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ คัมภีร์ธาตุบรรจบเล่ม ๑ ว่าด้วยอุจจาระธาตุ คัมภีร์อติสารและยาแก้บิดว่าด้วยอหิวาตกโรคและยาแก้ป่วง ว่าด้วยอาการไข้ตามฉันทศาสตร์ ว่าด้วยไข้ต่าง ๆ และยาแก้ ว่าด้วยไข้เหือดหัดและยาแก้ ว่าด้วยไข้ทับระดู ระดูทับไข้และยาแก้ ว่าด้วยไข้อีเสาและยาแก้ และคัมภีร์ไข้ตักกะศิลา, คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม ๒ มี ๒๙๔ หน้า เนื้อหาว่าด้วยฉันทศาสตร์ คัมภีร์ปฐมจินดาร์ คัมภีร์มหาโชตรัต คัมภีร์ชวดาร และคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร, คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม ๓ มี ๒๗๒ หน้า เนื้อหาว่าด้วยคัมภีร์ฉันทศาสตร์ คัมภีร์มุขโรค คัมภีร์กษัย คัมภีร์อภัยสันตา ตำราอุทรโรคธาตุต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ การเจ็บป่วยของร่างกาย โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย และยาแก้ เป็นต้น

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒

อ่านต่อ...