คัมภีร์ไพจิตรมหาวงศ์ | [-ไพจิดมะหาวง] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถงโรคฝีภายนอก ๒ ประเภท คือ ฝีหัวคว่ำ ฝีหัวหงาย และตำรับยาที่ใช้แก้ |
คัมภีร์มรณญาณสูตร | [-มอระนะยานนะสูด] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่งในคัมภีร์วรโยคสาร ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงนิมิตหรืออาการแสดงของผู้ปวย ที่เป็นสิ่งบ่งบอกว่าจะถึงแก่ความตายเมื่อใด |
คัมภีร์มหาโชตรัต | [-มะหาโชตะรัด] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้แต่งตำรานี้คือ ท้าวสหัมบดีพรหม มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย การเกิดระดู ความผิดปรกติของระดู และตำรายาที่ใช้แก้ |
คัมภีร์มัญชุสารวิเชียร | [-มันชุสาระวิเชียน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคลมที่เป็นดานหรือโรคลมที่เป็นก้อนนแข็ง ๑๐ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้ |
คัมภีร์มุขโรค | [-มุกขะโรก] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคที่เกิดในปากและคอ ๑๙ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้ |
คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา | [-มุดฉาปักขันทิกา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชือผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและผู้หญิง ได้แก่ ทุลาวะสา ๑๒ ประการ ปรเมหะ ๒๐ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้ |
คัมภีร์โรคนิทาน | [-โรกนิทาน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง คล้ายคลึงกับคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ผู้แต่งตำรานี้คือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ สาเหตุจากความผิดปรกติของธาตุ ดิน น้ำ ล ไฟ อิทธิพลของฤดูกาล รวมถึงการใช้ตำรับยาแก้โรค (มาจากคำว่า นิทาน แปลว่า มูลเหตุ สาเหตุ ต้นเหตุ) |
คัมภีร์โรคนิทานคำฉันท์ | น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้เรียบเรียงตำรานี้คือ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูรณ์ มีลักษณะเป็นร้อยกรอง เนื้อหาสำคัญรวบรวมจากคัมภีร์โบราณหลายคัมภีร์ กล่าวถึงโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ สาเหตุการเจ็บป่วย อิทธิพลของฤดูกาล ตำรับยาที่ใช้แก้โรคและอาการ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเส้นสิบกับการก่อให้เกิดโรค และอาการที่แก้ได้ด้วยการนวด |
คัมภีร์วรโยคสาร | [-วอระโยกสาน, -วอระโยคะสาน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้แต่งเป็นชาวลังกาชื่อ มหาอำมาตย์อมรเสก มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงหน้าที่และลักษณะของแพทย์ ๓๐ ประการ คุณลักษณะแพทย์ที่ดี ลักษณะผู้ป่วย นิมิตดี-ร้าย โรคและการรักษา รสของสมุนไพร การเก็บสมุนไพร รวมทั้งสรรพคุณ หรือคุณค่าของอาหาร เป็นต้น |
คัมภีร์วิถีกุฐโรค | [-กุดถะโรก] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงสาเหตุของโรคเรื้อน ๗ อย่าง และโรคเรื้อน ๑๓ ประเภท และตำรับยาที่ใช้แก้ |
คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย | [-สะหมุดถาน-] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรค ๔ ประการ ได้แก่ ธาตุ อุตุ อายุ และกาล |
คัมภีร์สรรพคุณ, คัมภีร์สรรพคุณยา | ดู คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณแลมหาพิกัด |
คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณแลมหาพิกัด | น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงเภสัชวัตถุ สรรพคุณของสมุนไพร ๑๑๓ ชนิดที่ใช้ปรุงยา พิกัดยา มหาพิกัด เครื่องยาที่ใช้รักษาโรคต่าง ๆ , คัมภีร์สรรพคุณ หรือ คัมภีร์สรรพคุณยา ก็เรียก |
คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์ | [-สิดทิสาน-] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคที่เกิดในเด็ก ได้แก่ ลำบองราหูที่เกิดในเดือนต่าง ๆ ซาง ลักษณะสันนิบาต และตำรับยาที่ใช้แก้ |
คัมภีร์อติสาร | [-อะติสาน] ตำราการแพทย์แผนไทยฉับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคอุจจาระร่วง และตำรับยาที่ใช้แก้ |
คัมภีร์อภัยสันตา | [-อะไพสันตา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคต้อ ๑๙ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้ |
คัมภีร์อุทรโรค | [-อุทอนโรก] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคมานท้องโต และตำรับยาที่ใช้แก้ |
คำฝอย | น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นดอกย่อยแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carthamus tinctorius L. ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีชื่อสามัญว่า safflower เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกหรือรูปรี ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน ปลายซี่เป็นติ่งหนามแหลม ดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อแรกบานกลีบดอกสีเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ผลแห้งเมล็ดอ่อน เมล็ดรูปสามเหลี่ยมสีขาว ขนาดเล็ก ตำราสรรพคุณยาไทยว่าใช้บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู นอกจากนี้ ยังใช้เป็นสีย้อมหรือแต่งสีอาหารได้, โกฐกุสุมภ์ หรือดอกคำฝอย ก็เรียก |
คำรบ | น. ครั้งที่ เช่น เป็นคำรบ ๓ ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๓๓] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะคือกระไสยเต่านั้นเปนคำรบ ๑๑ ..." |
คิมหันตฤดู | [คิมหันตะรึดู] ดูใน ฤดู ๓, ฤดู ๔ และ ฤดู ๖ |
คุ | ว. ไหม้ระอุอยู่ข้างใน |
คุลิการ, คุลีการ | ก. คลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วปั้นก้อน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๔๐๑] ตอนหนึ่งว่า "... ยาตาแก้ต้อสายโลหิตขนานนี้ท่านให้เอาบรเพช ขมิ้นอ้อย รากบานไม่รู้โรยฃาว รากหญ้างวงช้าง คุลิการรวม ยา ๕ สิ่งนี้เอาเสมอภาค ..." |
คูถเสมหะ | [คูดเสมหะ, คูดถะเสมหะ] ดูใน สมุฏฐานเสมหะ |
เครื่องยา | น. สิ่งต่าง ๆ อันเป็นส่วนผสมในตำรับยา ซึ่งเตรียมไว้สำหรับใช้ปรุงยา ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุ หรือจุลชีพ เช่น ตำรับยาเบญจโลกวิเชียร ประกอบด้วยเครื่องยา ๕ สิ่ง ได้แก่ รากคนทา รากย่านาง รากชิงชี่ รากมะเดื่ออุทุมพร และรากไม้เท้ายายม่อม ในปริมาณเท่า ๆ กัน |
เคล้น | ก. ใช้นิ้วมือ ฝ่ามือ ส้นมือกดลงที่ส่วนของร่างกาย แล้วบีบเน้นไปมา |
ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
The Merkur 34c | Design | A Merkur 34C - deccasino
ตอบลบThe Merkur 34C is the latest in the line of Merkur safety razors, which have been reengineered with 인카지노 more functionality. The 34C features a polished 제왕 카지노 chrome deccasino finish,