Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์ : GENTIANACEAE
ชื่ออื่น : มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน) ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้) ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้)
"...กันเกราหอมซ่าฟุ้ง แผ่ไกล
ผึ้งร่ารุมชอนไช กลีบปลิ้น
ขาวโพนน่าเข้าใกล้ โน้มต่ำ ชมแล
เป็นพุ่มพวงดีดดิ้น ล่อท้ายั่วยวน ..."
กันเกราเป็นไม้ต้น สูง 10-15 ม. เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล พอต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันหนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ พอเริ่มบานเป็นสีขาวเมื่อบานเต็มที่เป็นสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเปป็น 5 แฉก ปลายแฉกแหลม เกสรเพศผู้ยาวและติดกับกลีบดอกเกสรเพศเมียยาวมี 1 อัน
ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียวพอสุกเป็นสีแดง เมล็ดเล็ก สีน้ำตาลไหม้
สรรพคุณ
ใบ เป็นยาแก้ไข้จับสั่น บำรุงธาตุ แก้หืด รักษาโรคผิวหนังพุพอง
แก่น มีรสมันฝาดขม แก้ไข้จับสั่น หืดไอ แก้ริดสีดวง แก้ท้องมาน แก้ลงท้อง มูกเลือด แก้แน่นอก โลหิตพิการ ขับลม แก้ปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนังและร่างกาย บำรุงร่างกาย บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ
ข้อมูลจาก หนังสือพฤกษชาติสมุนไพร
รูปจาก Phargarden.com
โคลงสี่สุภาพโดย นายกิ้น สิงห์เคอาร์ ศิลปินเดี่ยวล้านนาด้านเพลงกำเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น