Calophyllum inophyllum L.
วงศ์ : CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)
ชื่อสามัญ Alexandrian laurel
ชื่ออื่น : กระทึง กากะทิง กากระทึง (ภาคกลาง) สารภีแนน (ภาคเหนือ) เนาวนาน (น่าน) ทิง (กระบี่) สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์)
"...ดอกกระทิงยิ่งล้ำ หอมยวน
เสน่ห์รื่นเร้าอวล กลิ่นฟ้อง
ทยอยเบ่งบานชวน เฝ้าแอบ แนบเฮย
รังไข่กระจิบจ้อง ยั่วเย้าผสมพันธุ์..."
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กระทิงเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลเข้ม มียางสีเหลืองอมเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรียาว กว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบมนหรือเว้าตื้น ๆ โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาเรียบเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ก้านใบยาว 1-2 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงสีขาวมี 4 กลีบ กลีบดอกสีขาวมี 4 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 ซม. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก
ผล รูปทรงค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ซม. เปลือกหนา ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีเหลือง เมล็ดเดี่ยว
"...เส้นทางใบเป็นเส้น ๆ คล้ายใบตอง ใบคล้ายใบสารภี แต่ใบมัน..."
สรรพคุณ
ดอก มีรสหอมเย็น เป็นยาบำรุงหัวใจ
เมล็ด มีรสเมาร้อน หุงเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก บวม
ใบ มีรสเมาเย็น แก้ตาแดง ตาฝ้า ตามัว
ข้อมูลจาก หนังสือพฤกษชาติสมุนไพร ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา, นายกิ้น สิงห์เคอาร์ ศิลปินเดี่ยวล้านนาด้านเพลงกำเมือง
รูปจาก phargarden.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น