-->

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

กระเจี๊ยบแดง (Krachiap daeng)

Hibiscus sabdariffa L.
วงศ์ : MALVACEAE
ชื่อสามัญ Roselle, Jamaica sorrel
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง) ส้มพอเหมาะ ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง (ภาคเหนือ) ส้มพอดี (ภาคอีสาน) ส้มตะเลงเครง (ตาก) ใบส้มม่า (ระนอง) ส้มปู (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     กระเจี๊ยบแดงเป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว สูง 1-2 ม. เปลือกต้นเรียบ ลำต้นและกิ่งสีม่วงแดง
     ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบหยักเว้าลึก 3-5 แฉก แต่ละแฉกกว้าง 0.5-3 ซม. ยาว 3-8 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ก้านใบยาว 4-15 ซม.
     ดอก ออกเดี่ยวตามซอกใบ มีริ้วประดับสีแดง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีแดงเข้ม อวบน้ำ กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองตรงกลางดอกสีม่วงแดง เกสรเพศผู้จำนวนมาก
     ผล รูปไข่ สีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยง ติดทนขนาดใหญ่รองรับอยู่จนผลแก่ ผลแห้งแตกได้ เมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก

สรรพคุณ
     เมล็ด เป็นยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ
     ทั้งต้น เป็นยาฆ่าตัวจี๊ด นำมาใส่หม้อต้ม น้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟให้งวด เหลือ 1 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งครึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ 3 เวลา หรือรับประทานน้ำยาเปล่า ๆ  จนหมดน้ำยา
     กลีบเลี้ยง ชงกับน้ำรับประทานเพื่อลดความดัน ลดไขมนในเลือด ทำแยม



ข้อมูลจาก หนังสือพฤกษชาติสมุนไพร ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา
รูปจาก tree2go.com, oknation.net, siripatclinic.blogspot.com, samunpri.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น