-->

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

กระเบาใหญ่ (Krabao yai)

Hydnocarpus anthelminthicus Pierre ex Laness.
วงศ์ : FLACOURTIACEAE
ชื่อสามัญ Chaulmoogra tree
ชื่ออื่น : มะกูลอ (ภาคเหนือ) กระเบาน้ำ กระเบาข้าวเหนียว กะเบา กระเบาข้าวแข็ง กระตงดง (เชียงใหม่) ดงกะเปา (ลำปาง) เบา (ภาคใต้) หัวค่าง (ประจวบคีรีขันธ์) กาหลง กุลา (ปัตตานี) กระเบาตึก (เขมร)



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     กระเบาใหญ่เป็นไม้ต้น สูง 10-15 ม. เปลือกต้นเรียบสีเทา
     ใบ เป้นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรียาวแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างหนา
     ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น หรือดอกแยกเพศต่างต้นแกมดอกสมบูรณ์เพศ ดอกเพศผู้ออกเดี่ยวตามซอกใบ สีชมพู มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ มีขน กลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกเพศเมียออกเป็นช่อสั้น ๆ  ตามซอกใบ ดอกมีลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้
     ผล รูปทรงกลม ผลใหญ่ เปลือกแข็ง ผิวมีขนคล้ายกำมะหยี่ สีน้ำตาล เมล็ดรูปรีเบี้ยว ปลายมนทั้งสองข้าง

สรรพคุณ
     ใบ รสเมาเบื่อ แก้กลากเกลื้อน และฆ่าพยาธิบาดแผล
     ผล รสเมาเบื่อมัน แก้โรคผิวหนัง เรื้อนและมะเร็ง
     เมล็ด รสเมาเบื่อมัน แก้โรคผิวนหัง หุงเป็นน้ำมันทาภายนอก ทาผม และรักษาโรคผมร่วง และใช้รักษาโรคเอดส์
     รากและเนื้อไม้ รสเมาเบื่อ ฆ่าพยาธิผิวหนังต่าง ๆ  รักษาแผล แก้เสมหะเป็นพิษ และดับพิษทั้งปวง




ข้อมูลจาก หนังสือพฤกษชาติสมุนไพร ศูนย์พัฒนาตำราการแพทย์แผนไทย มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา
รูปจาก magnoliathailand.com, lumphaya.stkc.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น