-->

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ฉ

ฉกาลวาโย[ฉะกาละวาโย] น. ธาตุลม ๖ ประการ ได้แก่ ลมพัดตั้งแต่ปลายเท้าถึงศีรษะ (อุทธังคมาวาตา) ลมพัดตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า (อโธคมาวาตา) ลมพัดในท้องแต่พัดนอกลำไส้ (กุจฉิสยาวาตา) ลมพัดในลำไส้และกระเพาะอาหาร (โกฏฐาสยาวาตา) ลมพัดทั่วสรีระกาย (อังคมังคานุสารีวาตา) และลมหายใจเข้าออก (อัสสาสะปัสสาสะวาตา) (มาจากคำ ฉ แปลว่า หก, กาล แปลว่า เวลา และ วาโย แปลว่า ลม)

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...

พจนานุกรม หมวดอักษร จ

จก, จกงัดดู ดึงเส้น
จตุกาลเตโช[จะตุกาละเตโช] น. ธาตุไฟ ๔ ประการ ได้แก่ ไฟย่อยอาหาร (ปริณามัคคี) ไฟที่ทำให้ร้อนภายใน (ปริทัยหัคคี) ไฟที่เผาร่างกายให้แก่คร่ำคร่า (ชิรณัคคี) และไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น (สันตัปปัคคี) (มาจากคำ จตุ แปลว่า สี่, กาล แปลว่า เวลา และ เตโช แปลว่า ไฟ)
จะโปงดู จับโปง
จักขุโรโคดู จักษุโรโค
จักร์ทราสูนย์ดู นาภี
จักษุโรโคน. กลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นที่ตา ที่เรียกตามสมุฏฐานเบญจอินทรีย์ เช่น ตาแดง ตาแฉะ ริดสีดวงตา, จักขุโรโค ก็เรียก. (มาจากคำ จักษุ หรือจักขุ แปลว่า ตา และ โรโค แปลว่า โรค)
จันทกระลา, จันทกลาน. ลมประจำเส้นอิทา, จันทะกาลา ก็เรียก
จันทน์ทั้ง ๒น. จุลพิกัดประเภทต่างสีพวกหนึ่ง ประกอบด้วยแก่นจันทน์ขาว ซึ่งได้จากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Santalum album L. ในวงศ์ Santalaceae และแก่นจันทน์แดง ซึ่งได้จากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์ Leguminosae ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก พิกัดนี้มีรสขมหวานเย็น สรรพคุณแก้ไข้ตัวร้อนด้วยพิษไข้ เจริญไฟธาตุให้สมบูรณ์
จันทะกาลาดู จันทกระลา, จันทกลา
จับก. ใช้มือหรือนิ้วมือสัมผัสหรือกำยึดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
จับชีพจรก. ใช้นิ้วมือแตะและกดเบา ๆ ลงบนเส้นเลือดแดงบางเส้น เช่น เส้นเลือดแดงที่ข้อมือ ข้อพับ ลำคอ ข้อเท้า เพื่อประเมินกำลังของเลือดลมหรือวินิจฉัยโรคหรืออาการ
จับโปงน. โรคชนิดหนึ่ง ทำให้มีอาการปวดบวมตามข้อ มีน้ำใสในข้อ โดยเฉพาะข้อเข่า และข้อเท่าแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ จับโปงน้ำ และจับโปงแห้ง ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๒/๙๖] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้าแลให้เจบทั่วสารพางค์ แลให้ท้องแขงเปนดานให้แก้รอบสดือ ชื่อว่าลมอันตคุณก็ว่า ถ้าแลให้เสียดเข่าชื่อว่าลมจะโปงสะคริวก็ว่า ...", จะโปง ลมจับโปง หรือ ลมจะโปง ก็เรียก
จับโปงน้ำน. จับโปงชนิดหนึ่ง มีการอักเสบรุนแรงของข้อเข่าหรือข้อเท้า ทำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน และอาจมีไข้ร่วมด้วย จึงมักเรียกว่า ไข้จับโปง. ดู จับโปง ประกอบ
จับโปงแห้งน. จับโปงชนิดหนึ่ง มีการอักเสบเรื้อรังของข้อเข่าหรือข้อเท้า ทำให้มีอาการบวมบริเวณข้อเล็กน้อย. ดู จับโปง ประกอบ
จับเส้นก. กด คลึง ดึงกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นในกล้ามเนื้อ
จารึกตำรายาวัดราชโอรสารมราชวรวิหาร"น. ๑. ตำราการแพทย์แผนไทยประเภทที่สลักลงบนแผ่นหินอ่อนสีเทา รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างยาวด้านละ ๓๓ เซนติเมตรเท่ากันทุกแผ่น แต่ละแผ่นมีอักษรสลักด้านเดียว จัดเรียงบรรทัดตามมุมแหลม จำนวน ๑๗ บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น มีเนื้อหาว่าด้วยแผนนวด แผนปลิง โรคที่พบบ่อย ๆ พร้อมตำรับยาแก้ เป็นต้น ตำรานี้จัดทำขึ้นประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๔ โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำไว้ แล้วติดประดับอยู่ที่ผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และที่ผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถ เดิมมี ๙๒ แผ่น ปัจจุบันเหลือเพียง ๕๐ แผ่น ๒. หนังสือเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง มี ๔๕๒ หน้า พิมพ์ที่บริษัทอาทิตย์โพรดักส์กรุ๊ป จำกัด โดยกรมศิลปากรได้จัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และอนุรักษ์ฟื้นฟูตำราการแพทย์แผนไทยให้แพร่หลาย ทั้งนี้ในหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสำคัญดังที่อธิบายในความนำตอนหนึ่งว่า ""... การจัดพิมพ์ได้ทำตามวิธีการอ่านจารึก โดยวิธีการคัดถ่ายถอดอักษรเป็นคำจารึกด้วยอักษรไทยปัจจุบัน และทำคำอ่านจารึกพร้อมด้วยคำอธิบายศัพท์ในจารึก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศัพท์เฉพาะด้านการแพทย์แผนไทย เกี่ยวกับชื่อโรค ชื่อสมุฏฐาน และอาการของโรค ชื่อสมุนไพร พร้อมสรรพคุณทางยา พิกัดสมุนไพร วิธีปรุงเครื่องยาและวิธีใช้ยา เป็นต้น กับได้ทำดรรชนีรวมเรื่องไว้ท้ายเล่มด้วย ส่วการจัดลำดับเรื่องนั้น ยังคงจัดตามลำดับแผ่นจารึก ซึ่งติดประดับอยู่ที่ผนัง โดยเริ่มจากศาลารายหน้าพระอุโบสถด้านซ้ายไปขวานับเป็นจารึกแผ่นที่ ๑ ถึง แผ่นที่ ๘ ต่อไปเริ่มแผ่นที่ ๙ ที่ระเบียงมุมซ้ายด้านหน้าพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ เรียงไปทางขวา วนรอบพระวิหาร ถึงแผ่นที่ ๕๐ ..."""
จำหระน. แถบ ซีก (ใช้กับร่างกาย) เช่น จำหระเบื้องซ้าย จำหระเบื้องขวา, ตำหระ ก็เรียก
จิตรมหาวงษ์[จิดมะหาวง] น. ยาแผนไทยขนานหนึ่ง ใช้แก้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย คอเปื่อย มีตัวยา วิธีปรุง วิธีใช้ และสรรพคุณดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์ [๑/๑๔๑] ตอนหนึ่งว่า "... ยาชื่อจิตรมหาวงษ์ แก้ฅอเปื่อย ลิ้นเปื่อย ปากเปื่อย แลแก้ไอ ท่านให้เอารากมะกล่ำต้น ๑ รากมะกล่ำเครือ ๑ รากมะขามป้อม ๑ เนระภูสี ๑ เขากวาง ๑ เขากุย ๑ นอแรด ๑ งาช้าง ๑ จันทน์ทั้ง ๒ น้ำประสารทองสตุ ๑ ยาทั้งนี้เสมอภาคทำแท่งไว้ ละลายน้ำผึ้งทา หาย แล ..."
จุกอกน. อาการเจ็บแน่นในทรวงอก
จุณสีดู จุนสี
จุนสี[จุนนะสี] น. เครื่องยาธาตุวัตถุชนิดหนึ่ง เป็นผลึกรูปแผ่นหรือรูปแท่งของเกลือทองแดงที่เกิดในธรรมชาติ ในทางเคมีเป็น copper sulphate pentahydrate (CuSO4 - 5H2O) มีชื่อสามัญว่า chalcanthite, bluestone, blue vitriol, verdigris มีสีเขียว (ปัจจุบันหมายถึงสีฟ้า) ใส หน้าตัดเป็นเงาวาว ความแข็ง ๒.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๑-๒.๓ เนื้อเปราะ ตำราสรรพคุณยาไทยว่า จุนสีมีรสเปรี้ยวฝาดเย็น ใช้ภายนอกช่วยกัดล้างเม็ดฝี กัดหัวหูดและคุดทะราด ผสมกับขี้ผึ้งปิดแผลสำหรับกัดฝ้า กัดหนอง, ชินสี กำมะถันเขียว หินเขียว สียายอน หรือ สีนายวน ก็เรียก, เขียนว่า จุณสี ก็มี
จุนสีสะตุน. จุนสีที่ปราศจากน้ำผลึกในโมเลกุล มีสีขาว โบราณเตรียมโดยนำไปตากแดดไว้จนสีซีดและขาวในที่สุด
จุลพิกัดน. พิกัดตัวยาน้อยอย่าง เรียกชื่อตรงตามตัวยานั้น มักเป็นตัวยาเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่แหล่งกำเนิด สี ขนาด รูปร่างลักษณะ และรส เช่น ขี้เหล็กทั้ง ๒, จันทน์ทั้ง ๒, เปล้าทั้ง ๒, เกลือทั้ง ๒, รากมะปรางทั้ง ๒
เจือก. นำส่วนน้อยประสมลงไปใส่วนมากให้ระคนปนกัน, ตามปรกติใช้กับของเหลว เช่น ใช้น้ำเย็นเจือน้ำร้อน, เจือแทรก ก็เรียก
เจือแทรกดู เจือ

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...

วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ง

งัดเส้นดู ดึงเส้น
งูทับทางขาวดู งูทับสมิงคลา
งูทับสมิงคลา[-ทับสะหมิงคลา] น. งูพิษชนิด Bungarus candidus (Linnaeus) ในวงศ์ Elapidae หัวสีดำ ตัวมีลายเป็นปล้องสีดำสลับขาว เขี้ยวพิษผนึกแน่นกับขากรรไกรบนขยับหรือพับเขี้ยวไม่ได้ ตัวยาวประมาณ ๑ เมตร, งูทับทางขาว ก็เรียก
งูปูติมุขน. งูจำพวกหนึ่งที่เมื่อกัดแล้วทำให้เนื้อเน่าเปื่อย เช่น งูกะปะ (มาจากคำ ปูติ แปลว่า เน่า และ มุข แปลว่า ปาก)
งูเหลือมน. สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Python reticulates (Schneider) ในวงศ์ Pythoninae มีชื่อสามัญว่า reticulated python หรือ regal python งูนี้ไม่มีพิษ เป็นงูที่มีขนาดใหญ่และยาว ลำตัวหนาตอนกลางลำตัวป่อง มีเกล็ดปกคลุม โดยทั่วไปเกล็ดสีเหลืองปนน้ำตาล มีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะบริเวณหัวมีสีเหลืองปนน้ำตาล มีเส้นสีดำเล็ก ๆ พาดผ่านกลางหัว กระดูก ดี และน้ำมันของงูเหลือมมีสรรพคุณทางยา

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...

พจนานุกรม หมวดอักษร ฆ

ฆานโรโค[คานะโรโค] น. กลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นที่จมูก และประสาทรับรู้กลิ่น ที่เรียกตามสมุฏฐานเบญจอินทรีย์ (มาจากคำว่า ฆานะ แปลว่า จมูก ประสาทที่รับรู้กลิ่น และ โรโค แปลว่า โรค)
ฆานะโรค[คานะโรก] น. ริดสีดวงประเภทหนึ่ง เกิดในจมูก ผู้ป่วยจะหายขัด มีเม็ดขึ้นในจมูก เมื่อเม็ดนั้นแตก จะทำให้ปวดแสบปวดร้อนมาก น้ำมูกไหลอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เป็นต้น ดังตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [๔/๒๖๓] ตอนหนึ่งว่า "... ลำดับนี้จะกล่าวด้วยนัยหนึ่งใหม่ ว่าด้วยลักษณะหฤศโรค อันชื่อว่าฆานะ กล่าวถึงโรคริดสีดวงอันบังเกิดขึ้นในนาสิกนั้น เป็นคำรบ ๓ มีอาการกระทำให้หายใจขัด บางทีเป็นเม็ดยอดขึ้นในนาสิกแล้วแตกลำลาบออกเหม็นคาวคอ กระทำพิษให้ปวดแสบปวดร้อนเป็นกำลัง บางทีให้น้ำมูกไหลอยู่เป็นนิจ ใสดุจน้ำฝน ให้เหม็นคาวคอยิ่งนัก ฯ ..." , ริดสีดวงจมูกก็เรียก

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ค (ส่วนที่ 2)

คัมภีร์ไพจิตรมหาวงศ์[-ไพจิดมะหาวง] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถงโรคฝีภายนอก ๒ ประเภท คือ ฝีหัวคว่ำ ฝีหัวหงาย และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์มรณญาณสูตร[-มอระนะยานนะสูด] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่งในคัมภีร์วรโยคสาร ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงนิมิตหรืออาการแสดงของผู้ปวย ที่เป็นสิ่งบ่งบอกว่าจะถึงแก่ความตายเมื่อใด
คัมภีร์มหาโชตรัต[-มะหาโชตะรัด] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้แต่งตำรานี้คือ ท้าวสหัมบดีพรหม มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย การเกิดระดู ความผิดปรกติของระดู และตำรายาที่ใช้แก้
คัมภีร์มัญชุสารวิเชียร[-มันชุสาระวิเชียน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคลมที่เป็นดานหรือโรคลมที่เป็นก้อนนแข็ง ๑๐ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์มุขโรค[-มุกขะโรก] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคที่เกิดในปากและคอ ๑๙ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา[-มุดฉาปักขันทิกา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชือผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายและผู้หญิง ได้แก่ ทุลาวะสา ๑๒ ประการ ปรเมหะ ๒๐ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์โรคนิทาน[-โรกนิทาน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง คล้ายคลึงกับคัมภีร์ธาตุวิภังค์ ผู้แต่งตำรานี้คือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรค ได้แก่ สาเหตุจากความผิดปรกติของธาตุ ดิน น้ำ ล ไฟ อิทธิพลของฤดูกาล รวมถึงการใช้ตำรับยาแก้โรค (มาจากคำว่า นิทาน แปลว่า มูลเหตุ สาเหตุ ต้นเหตุ)
คัมภีร์โรคนิทานคำฉันท์น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้เรียบเรียงตำรานี้คือ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูรณ์ มีลักษณะเป็นร้อยกรอง เนื้อหาสำคัญรวบรวมจากคัมภีร์โบราณหลายคัมภีร์ กล่าวถึงโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ สาเหตุการเจ็บป่วย อิทธิพลของฤดูกาล ตำรับยาที่ใช้แก้โรคและอาการ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเส้นสิบกับการก่อให้เกิดโรค และอาการที่แก้ได้ด้วยการนวด
คัมภีร์วรโยคสาร[-วอระโยกสาน, -วอระโยคะสาน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้แต่งเป็นชาวลังกาชื่อ มหาอำมาตย์อมรเสก มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงหน้าที่และลักษณะของแพทย์ ๓๐ ประการ คุณลักษณะแพทย์ที่ดี ลักษณะผู้ป่วย นิมิตดี-ร้าย โรคและการรักษา รสของสมุนไพร การเก็บสมุนไพร รวมทั้งสรรพคุณ หรือคุณค่าของอาหาร เป็นต้น
คัมภีร์วิถีกุฐโรค[-กุดถะโรก] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงสาเหตุของโรคเรื้อน ๗ อย่าง และโรคเรื้อน ๑๓ ประเภท และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย[-สะหมุดถาน-] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงสาเหตุของการเกิดโรค ๔ ประการ ได้แก่ ธาตุ อุตุ อายุ และกาล
คัมภีร์สรรพคุณ, คัมภีร์สรรพคุณยาดู คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณแลมหาพิกัด
คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณแลมหาพิกัดน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงเภสัชวัตถุ สรรพคุณของสมุนไพร ๑๑๓ ชนิดที่ใช้ปรุงยา พิกัดยา มหาพิกัด เครื่องยาที่ใช้รักษาโรคต่าง ๆ , คัมภีร์สรรพคุณ หรือ คัมภีร์สรรพคุณยา ก็เรียก
คัมภีร์สิทธิสารสงเคราะห์[-สิดทิสาน-] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง เนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคที่เกิดในเด็ก ได้แก่ ลำบองราหูที่เกิดในเดือนต่าง ๆ ซาง ลักษณะสันนิบาต และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์อติสาร[-อะติสาน] ตำราการแพทย์แผนไทยฉับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคอุจจาระร่วง และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์อภัยสันตา[-อะไพสันตา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคต้อ ๑๙ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์อุทรโรค[-อุทอนโรก] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคมานท้องโต และตำรับยาที่ใช้แก้
คำฝอยน. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นดอกย่อยแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carthamus tinctorius L. ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีชื่อสามัญว่า safflower เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกหรือรูปรี ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน ปลายซี่เป็นติ่งหนามแหลม ดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อแรกบานกลีบดอกสีเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีแดงอมส้ม ผลแห้งเมล็ดอ่อน เมล็ดรูปสามเหลี่ยมสีขาว ขนาดเล็ก ตำราสรรพคุณยาไทยว่าใช้บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู นอกจากนี้ ยังใช้เป็นสีย้อมหรือแต่งสีอาหารได้, โกฐกุสุมภ์ หรือดอกคำฝอย ก็เรียก
คำรบน. ครั้งที่ เช่น เป็นคำรบ ๓ ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๓๓] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะคือกระไสยเต่านั้นเปนคำรบ ๑๑ ..."
คิมหันตฤดู[คิมหันตะรึดู] ดูใน ฤดู ๓, ฤดู ๔ และ ฤดู ๖
คุว. ไหม้ระอุอยู่ข้างใน
คุลิการ, คุลีการก. คลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วปั้นก้อน คลุกเคล้าให้เข้ากัน ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๔๐๑] ตอนหนึ่งว่า "... ยาตาแก้ต้อสายโลหิตขนานนี้ท่านให้เอาบรเพช ขมิ้นอ้อย รากบานไม่รู้โรยฃาว รากหญ้างวงช้าง คุลิการรวม ยา ๕ สิ่งนี้เอาเสมอภาค ..."
คูถเสมหะ[คูดเสมหะ, คูดถะเสมหะ] ดูใน สมุฏฐานเสมหะ
เครื่องยาน. สิ่งต่าง ๆ อันเป็นส่วนผสมในตำรับยา ซึ่งเตรียมไว้สำหรับใช้ปรุงยา ได้จากพืช สัตว์ แร่ธาตุ หรือจุลชีพ เช่น ตำรับยาเบญจโลกวิเชียร ประกอบด้วยเครื่องยา ๕ สิ่ง ได้แก่ รากคนทา รากย่านาง รากชิงชี่ รากมะเดื่ออุทุมพร และรากไม้เท้ายายม่อม ในปริมาณเท่า ๆ กัน
เคล้นก. ใช้นิ้วมือ ฝ่ามือ ส้นมือกดลงที่ส่วนของร่างกาย แล้วบีบเน้นไปมา

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒

อ่านต่อ...

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ค (ส่วนที่ 1)

คณาเภสัชน. ระบบวิชาความรู้ที่ว่าด้วยหมู่ยา พวกยา หรือกลุ่มยา จัดเป็นหลักวิชาด้านเภสัชกรรมไทย ๑ ใน ๔ หมวดวิชา ได้แก่ เภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช คณาเภสัช และเภสัชกรรม แพทย์แผนไทยจัดตัวยาไว้เป็นหมู่หรือพวกเดียวกัน เรียกเป็นชื่อเดียวกัน เรียกเป็นคำตรงบ้าง คำศัพท์บ้าง เพื่อสะดวกในการตั้งตำรับยา ง่ายต่อการศึกษาจดจำ และเป็นภูมิรู้ของหมอ ตำราเภสัชกรรมไทยแบ่งคณาเภสัชเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ จุลพิกัด พิกัดยา และมหาพิกัด
ครรภ, ครรภ-, ครรภ์[คับ, คับพะ-, คัน] น. ห้อง, ท้อง เช่นหญิงมีครรภ์ (ใช้เฉพาะผู้หญิงที่มีลูกอยู่ในท้อง) ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๘๐] ตอนหนึ่งว่า "... ว่าสัตรีทั้งปวงนี้มีครรภ์อันตั้งขึ้นได้ ๑๕ วัน ก็ดี แลเดือนหนึ่งก็ดี สำแดงกายให้ปรากฏแก่คนทั้งหลาย ให้รู้ว่าตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว เพราะว่าเอนผ่านนั้นเขียว หัวนมนั้นคล้ำดำเข้าแล้วตั้งขึ้นเปนเมดรอบหัวนมนั้น ก็ให้แพทย์พึงรู้ว่าสัตรีผู้นั้นมีครรภโดยสังเขป ..."
ครรภ์ทวารกำเนิด[คันทะวาระกำเหนิด] ดู ครรภ์วารกำเนิด, ครรภ์วาระกำเนิด
ครรภประสูติดู ครรภ์ประสูติ
ครรภ์ประสูติ[คันประสูด] น. การคลอดบุตร การดูแลช่วยเหลือมารดาและทารกขณะคลอด ตลอดจนการดูแลทารกแรกเกิดจนถึงอายุ ๑๒ เดือน ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑๔/๒๗] ตอนหนึ่งว่า "... ตั้งแต่อยู่ในครรภ์นั้นตราบเท่าถ้วยทศมาศ คือ ๑๐ เดือน เป็นกำหนดตามธรรมดาประเพณี ยังมีลมจำพวกหนึ่งชื่อว่า กัมมัชชวาต ก็บังเกิดพัดกำเริบแห่งเส้นและเอ็นที่รัดรึงตัวกุมารนั้นไว้ก็ใหห้กลับเอาศีร์ษะลงเบื้องต่ำ ฤกษยามดีแล้ว กุมารและกุมารีทั้งหลายนั้นก็คลอดออกจากครรภ์แห่งมารดานั้น ... ถ้าแลกุมารกุมารีผู้ใด คลอดจากครรภ์มารดาได้ เดือน ๑ ท่านให้เอาใบกระเพรา ใบเสนียด ใบตานหม่อน บอระเพ็ด บดละลายน้ำท่าให้กินประจำ ท้องกันสำรอกเด็กในเดือน ๑ ดีนักก ...", เขียนว่า ครรภประสูติ ก็มี
ครรภปรามาศ, ครรภปะรามาศดู ครรภ์ปรามาศ, ครรภ์ปรามาส, ครรภ์ปะรามาศ
ครรภ์ปรามาศ, ครรภ์ปรามาส, ครรภ์ปะรามาศ[คันปะรามาด] น. การตั้งครรภ์อันเกิดจากการลูบท้องบริเวณรอบสะดือของพรหม ๒ องค์ที่มีชื่อว่า พรหมจารี ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... เมื่อแผ่นดินแลเขาพระเมรุตั้งขึ้นแล้วนั้น พระอิศรผู้เปนเจ้าเธออาราธนาพรหม ๒ องค์ ทรงนามว่าพรหมอาจารีย ลงมากินง้วนดิน ครั้นกินแล้วก็ทรงครรภคลอดบุตรได้ ๑๒ คน อันพวกนี้เกิดด้วยครรปรามาศ คือว่าเอามือลูบนาภีก็มีครรภ เกิดบุตรแพร่ไปทั้ง ๔ ทวีป แตกเปนภาษาต่าง ๆ กัน ...", เขียนว่า ครรภปรามาศ หรือครรภปะรามาศ ก็มี (มาจากคำ ครรภ์ แปลว่า ท้อง และ ปรามาศ แปลว่า การลูบคลำ การจับต้อง)
ครรภ์ปริมณฑลน. การดูแลรักษาพยาบาลมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๙๐] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้ว่าด้วยครรภปริมณฑลต่อไปตามเรื่องดังนี้ ถ้าสัตรีผู้ใดมีครรภตั้งแต่ได้ ๓ เดือนขึ้นไปถึง ๑๐ เดือนเปนไข้ดุจดังกล่าวมาแต่หนหลังจะแก้ด้วยสิ่งใด ๆ ก็มิฟัง ..."
ครรภ์รักษาน. การดูแลรักษาพยาลาลหญิงตั้งครรภ์ให้เป็นปรกติ ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๘๐] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้าสัตรีภาพมีครรภได้เดือนหนึ่ง ก็ดี ถ้าไข้รำเพรำพัด คือให้รากให้จุกในอุทร แลให้แดกขึ้นแลแดกลงเปนกำลัง แลให้ละเมอเพ้อพกดังผีเข้า แพทยไม่รู้ว่าเปนไข้สันนิบาตนั้นหามิได้เลยบังเกิดโทษในครรภรักษานั้นเอง ถ้าจะแก้ให้ทำตามบุราณเสียก่อน ท่านให้ทำบัตร ๔ มุม เอาแป้งคลึงท้องด้วยมนต์นี้ ..."
ครรภ์วารกำเนิด, ครรภ์วาระกำเนิด[คันวาระกำเหนิด] น. การตั้งครรภ์เริ่มตั้งแต่การปฏิสนธิไปจนถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ซึ่งอาการแสดงออกของมารดาสามารถใช้ทำนายเพศ วันปฏิสนธิหรือวันคลอด และซางเจ้าเรือนของทารกในครรภ์ได้ ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๗๓-๑๗๔] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้ามิดังนั้นก็ให้มารดาฝันเหนวิปริต ก็รู้ว่าครรภตั้งแลครรภตั้งขึ้นแล้ว มิได้วิปริต ครบ ๗ วันก็ข้นเข้าดังน้ำล้างเนื้อ เมื่อไปอีก ๗ วันเปนชิ้นเนื้อ ไปอีก ๗ วันเปนสัณฐานดุจไข่ ไปอีก ๗ วันก็แตกออกเป็นปัญจสาขา ๕ แห่ง คือ ศีศะแลมือแลเท้า ไปอีก ๗ วัน ก็เกิดเกษาโลมานขาทันตาลำดับกันไปดังนี้ ในขณเมื่อครรภตั้งขึ้นได้ เดือน ๑ กับ ๑๒ วันนั้น โลหิตจึ่งบังเกิดเวียนเข้าเปน ตานกยุง ที่หัวใจเปนเครื่องรับดวงจิตรวิญญาณ ถ้าหญิงเวียนซ้าย ถ้าชายเวียนขวา แต่มิได้ปรากฎออกมาครั้นเมื่อครรภถ้วนไตรมาสแล้ว โลหิตนั้นก็แตกออกไปตามปัญจสาขา เมื่อได้ ๔ เดือนจึ่งตั้งอาการ ๓๒ นั้น จึ่งบังเกิดตาแลหน้าผากก่อน สิ่งทั้งปวงจึ่งบังเกิดเปนอันดับกันไป เมื่อครรภได้ ๕ เดือน จึ่งมีจิตรแลเบญจขันธพร้อม ... ถ้ามารดามีครรภ์ได้ ๓ เดือน มักให้มารดานั้นปวดศีรษะแลให้เจ็บนม ให้หยากของอันหวานแล ให้เมื่อยแขนทั้งสองข้าง ให้ตาฟางให้หูหนักให้เป็นลมมึนตึง แลให้อาเจียรลมเปล่า ถ้าแพทย์เหนดังนี้แล้วก็ให้พึงรู้ว่าสัตวมาเอาปฏิสนธิวันจันทร เมื่อจะคลอดก็วันจันทร เพราะว่ากำเนิดซางน้ำเปนเจ้าเรือน กุมารผู้นั้นจึ่งแสดงเพศออกแก่มารดาดังนี้ ...", ครรภ์ทวารกำเนิด หรือคัพภวาระกำเนิด ก็เรียก
ครรภ์วิปลาส[คันวิบปะลาด, คันวิปะลาด] น. ครรภ์ที่ตกหรือแท้งไปดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑๔/๑๙[ ตอนหนึ่งว่า "... บัดนี้จะว่าด้วยลักษณครรภ์วิปลาศต่อไป ... อันว่าหญิงจำพวกใดก็ทรงไว้ซึ่งครรภ์อันบังเกิดซึ่งกามวิตกนั้นหนาไป ด้วยไฟราคอันเป็นสมุฏฐานนั้นกล้านัก อันว่าสัตว์ทั้งหลาย ก็มิอาจตั้งมูลปฏิสนธินั้นขึ้นได้ ก็มีอันตรายนั้นต่าง ๆ ก็มีด้วยประการดังนี้ อันว่าสตรีจำพวกใดควรจะกินก็กินซึ่งของอันเผ็ดและร้อนเป็นต้นต่าง ๆ ซึ่งของอันจะให้ลงท้องนั้นเป็นต้นต่าง ๆ คือยาที่จะให้แสลงโรคนั้นต่าง ๆ เป็นลักษณะแห่งธาตุน้ำกำเริบแห่งบุคคลผู้นั้นแท้จริง ก็มีอุปมาดุจดังประไลยกัลป์ อันจะพัดให้ฉิบหายเสียซึ่งสัตว์อันจะมาเอาปฏิสนธินั้นในครรภ์แห่งสตรีภาพผู้นั้น ก็มิอาจตั้งมูลปฏิสนธิขึ้นได้ด้วยประการดังนี้ อนึ่งโสดอันว่าสตรีผู้ใดมีจิตรนั้นมักมากไปด้วยความโกรธก็วิ่งไปมาโดยเร็ว เมื่อลักขณะโกรธ บางทีก็ทิ้งทอดซึ่งตัวเองลง ยกมือขึ้นทั้ง ๒ ประหารซึ่งตนเอง อนึ่งโสดอันว่าหญิงปากร้ายมิได้รู้จักซึ่งโทษแห่งตนย่อมด่าตัดพ้อเป็นอันหยาบช้า ซึ่งผัวแห่งตนก็ดี ซึ่งบุคคลผู้อื่นก็ดี เขากระทำโทษคือว่าทุบถองตีโบยด้วยกำลังแรงนั้นต่าง ๆ สตรีผู้นั้นก็เจ็บช้ำ ซึ่งครรภ์แห่งหญิงผู้นั้นก็ตกไป ด้วยประการดังนี้ หนึ่งโสดอันว่าหญิงจำพวกใด ก็ทรงไว้ซึ่งครรภ์ก็ดี คือภูตปีศาจ หากกระทำโทษต่าง ๆ ครรภ์นั้นก็มิได้ตั้งขึ้น บางทีต้องสาตราคมคุณไสยเขากระทำก็ดี อันว่าลูกอันอยู่ในครรภ์นั้นก็ตกไปแท้จริง ด้วยประการดังนี้ ..."
คลึงก. ใช้มือหรือส่วนของมือ แขน ศอก เข่า เท้าหรือส่วนของเท้า หรืออวัยวะอื่นใด หรือวัสดุอุปกรณ์อื่นกดแล้วหมุนหรือเคลื่อนไปมา สำหรับบำบัดโรคหรืออาการบางอย่าง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย
คลื่นเหียนก. มีอาการคลื่นไส้ จะอาเจียน
คัพภวาระกำเนิด[คับพะวาระกำเหนิด] ดู ครรภ์วารกำเนิด, ครรภ์วาระกำเนิด
คัมภีร์"๑. น. หนังสือ ตำรา หรือจารึกที่มีมาแล้วช้านานและมีคุณค่าทางการแพทย์แผนไทย หรือทางศาสนา โหราศาสตร์ เป็นต้น ๒. ลักษณนามเรียกหนังสือ ตำรา หรือจารึกเหล่านี้ เช่น ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงรัชกาลที่ ๕ เล่ม ๑ มีคัมภีร์แพทย์แผนไทย ๔ คัมภีร์"
คัมภีร์กระษัยน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึง โรคที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรมที่เรียก "โรคกระษัย" โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่มีสาเหตุจากกองธาตุ มี ๘ ประการ และกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคอีก ๑๘ ประการ รวมทั้งตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์จะละนะสังคหะน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง เวชสาตร์วัณ์ณณาเล่ม ๒ ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงลักษณะอุจจาระธาตุ ๔ ประการ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ฉันทศาสตร, คัมภีร์ฉันทศาสตร์[-ฉันทะสาด] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ต้นฉบับใช้ชื่อว่า "ตำราแพทย์ที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ ฉันทศาสตร์" แต่งเป็นร้อยกรอง ผู้เรียบเรียงตำรานี้คือ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูรณ์ (ปัจจุบันคือจังหวัดจันทบุรี) มีเนื้อหาสำคัญที่รวบรวมจากคัมภีร์โบราณหลายคัมภีร์ เช่น บทไหว้ครู จรรยาแพทย์ ธาตุสมุฏฐาน กาลสมุฏฐาน ลักษณะชีพจร ลักษณะน้ำนมดีและชั่ว ซาง ไข้ ทับ ป่วง สันนิบาตสองคลอง มรณญาณสูตร
คัมภีร์ชวดาร[-ชะวะดาน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคลม ลมมีพิษ ลมมีพิษมาก และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ตักกศิลา, คัมภีร์ตักกะศิลา[-ตักกะสิลา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ในตอนต้นของตำราว่า "... กล่าวกลอนสอนไว้ ตามในตำรา เมืองตักกะศิลา ครั้งห่าลงเมือง พระฤๅษีเมตตา เห็นเวทนา ฝูงคนตายเปลือง จึงไว้ตำรา มีมาตามเรื่อง เป็นบุญไปเบื้อง น่าชั่วกัลปป์ปา ..." มีเนื้อหาสำคัญว่าด้วยไข้ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งลักษณะอาการและชื่อเรียก เช่น ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้เหนือ ไข้ประดง ไข้รากสาด รวมทั้งตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ทิพมาลา[-ทิบมาลา] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงลักษณะฝีภายใน ๒๑ ประเภท และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ทุลาวะสาน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงความผิดปรกติของน้ำปัสสาวะ และยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ธาตุบรรจบ[-ทาดบันจบ] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผู้แต่งตำรานี้คือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคเกี่ยวกับอุจจาระ และมหาภูตรูป ตั้งแต่สาเหตุของโรค ความผิดปรกติของการถ่ายอุจจาระ ลักษณะ สี และกลิ่นของอุจจาระ และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ธาตุวิภังค์[-ทาดวิพัง] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่งคล้ายคลึงกับคัมภีร์โรคนิทาน ผู้แต่งตำรานี้คือ หมอชีวกโกมารภัจจ์ มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงโรคที่เกิดจากความผิดปรกติของธาตุทั้ง ๔ พิการตามฤดู ๔ รวมถึงการใช้ตำรับยาแก้
คัมภีร์ธาตุวิวรณ์[-ทาดวิวอน] น. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงความผิดปรกติของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายที่มีสาเหตุเนื่องมาจากการเปลี่ยนผ่านของฤดูต่าง ๆ ในรอบปี การรักษาธาตุทั้ง ๔ ให้เป็นปรกติ รวมถึงการใช้ตำรับยาแก้โรค มูลเหตุการเกิดโรค ๖ ประการ ข้อห้าม ๑๑ ประการสำหรับผู้ป่วย ไข้เอกโทษ ไข้ทุวันโทษ ไข้ตรีโทษ และรสยา ๘ รส
คัมภีร์ธาตุอภิญญาณน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ไม่รากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงลักษณะของโรคที่เกิดกับธาตุทั้ง ๔ อันทำให้อุจจาระมีสีดำ แดง ขาว เขียว และตำรับยาที่ใช้แก้
คัมภีร์ปฐมจินดา,คัมภีร์ปฐมจินดาร์, คัมภีร์ปถมจินดา, คัมภีร์ปถมจินดาร์ ดู คัมภีร์ประถมจินดา, คัมภีร์ประถมจินดาร์
คัมภีร์ประถมจินดา, คัมภีร์ประถมจินดาร์น. ชื่อตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่ง ผุ้แต่งตำรานี้คือหมอกชีวกโกมารภัจจ์ ในตอนต้นของตำราว่า "... ซึ่งพระคัมภีร์แพทย์อันวิเศษ ชื่อประถมจินดาอันเปนหลักเปนประธานแห่งพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ทั้งปวง อันพระอาจารย์โกมารภัจ แต่งไว้ ..." มีเนื้อหาสำคัญ ได้แก่ การเกิดขึ้นของโลกและมนุษย์ การตั้งครรภ์ การดูแลครรภ์ การแท้ง การคลอดลูก วิธีการฝังรก โรคที่เกิดขณะอยู่ไฟ การดูแลเด็ก โรคในวัยเด็ก และตำรับยาที่ใช้ในโรคแม่และเด็ก เป็นต้น, เขียนว่า คัมภีร์ปฐมจินดา คัมภีร์ปฐมจินดาร์ คัมภีร์ปถมจินดา หรือ คัมภีร์ปถมจินดาร์ ก็มี
คัมภีร์แผนนวดน. ตำราการแพทย์แผนไทยฉบับหนึ่งในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒ ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง มีเนื้อหาสำคัญกล่าวถึงตำแหน่งหรือแนวเส้นทั่วร่างกายที่บ่งบอกถึงโรคและตำแหน่งของการนวด การวางปลิงเพื่อแก้โรคโดยมีแผนภาพรูปคนแสดงประกอบ นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับโรคลมและตำรับยาที่ใช้แก้ รวมทั้งการทำนายยามยาตรา
คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณน. ตำราการแพทย์แผนไทยชุดหนึ่ง มี ๓ เล่ม ขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) เป็นผู้เรียบเรียง พิมพ์ครั้งแรกที่โรงพิมพ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ พระนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔, คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม ๑ มี ๓๕๒ หน้า เนื้อหาว่าด้วยคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย คัมภีร์สรรพคุณยา คัมภีร์มรณญาณสูตร คัมภีร์โรคนิทานเล่ม ๑ คัมภีร์ธาตุวิภังค์ คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ คัมภีร์ธาตุบรรจบเล่ม ๑ ว่าด้วยอุจจาระธาตุ คัมภีร์อติสารและยาแก้บิดว่าด้วยอหิวาตกโรคและยาแก้ป่วง ว่าด้วยอาการไข้ตามฉันทศาสตร์ ว่าด้วยไข้ต่าง ๆ และยาแก้ ว่าด้วยไข้เหือดหัดและยาแก้ ว่าด้วยไข้ทับระดู ระดูทับไข้และยาแก้ ว่าด้วยไข้อีเสาและยาแก้ และคัมภีร์ไข้ตักกะศิลา, คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม ๒ มี ๒๙๔ หน้า เนื้อหาว่าด้วยฉันทศาสตร์ คัมภีร์ปฐมจินดาร์ คัมภีร์มหาโชตรัต คัมภีร์ชวดาร และคัมภีร์มัญชุสาระวิเชียร, คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม ๓ มี ๒๗๒ หน้า เนื้อหาว่าด้วยคัมภีร์ฉันทศาสตร์ คัมภีร์มุขโรค คัมภีร์กษัย คัมภีร์อภัยสันตา ตำราอุทรโรคธาตุต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ การเจ็บป่วยของร่างกาย โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย และยาแก้ เป็นต้น

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒

อ่านต่อ...

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ข (ส่วนที่ 4)

ไข้เริมน้ำค้างน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้ สะบัดร้อนสะท้านหนาว เชื่อมมัว ปวดศีรษะ ผิวหนังมีเม็ดเล็ก ๆ ผุดเรียงตัวกันแน่นจนเห็นเป็นแผ่นเดียวกัน หลายกลุ่ม ภายใจนะมีน้ำใส ๆ (เรียก เริมน้ำค้าง) ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๓] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้เริมน้ำค้าง เริมน้ำเข้านั้นต่อไป มีลักษณให้จับสท้านร้อนสท้านหนาว ให้จับเชื่อมมัวแล้วให้ปวดศีศะ แล้วให้ผุดขึ้นมาเปนแผ่น นิ้วหนึ่งสองนิ้วสามนิ้วสี่นิ้ว เปนเหล่า ๆ กัน น้ำใสเขาเรียกว่าเริมน้ำค้าง ถ้าน้ำขุ่นเขาเรียกว่าเริมน้ำเข้า ให้เร่งประทับยา บอกให้ให้พึงรู้ ..."
ไข้ลมเพลมพัดดู ไข้รำเพรำพัด
ไข้ลากสาดดู ไข้รากสาด
ไข้ลำลาบเพลิงน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้ สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะ เชื่อมมัว ผิวหนังมีผื่นผุดขึ้นเป็นแผ่น ๆ ทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อนนมาก เหมือนไฟไหม้น้ำร้อนลวก หากรักษาไม่ถูกต้อง อาจถึงตายได้ ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๓] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะสำแดงลำลาบเพลิงต่อไป ลักษณลำลาบเพลิงนั้น ให้ผุดขึ้นมาเปนแผ่น ให้จับสท้านร้อนสท้านหนาว ให้ปวดศีศะ เชื่อมมัวไป ทำพิศม์ต่าง ๆ วางยาไม่ดีน้ำเหลืองแตกตาย ..."
ไข้สังวาลพระอินทร์น. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดสีแดงขึ้นเป็นแถว พาดเฉียงบ่า ทำให้มีอาการหอบ สะอึก สะบัดร้อนสะท้านหนาว เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๗] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้สังวาลพระอินทร์ มีลักษณสัณฐานผุดขึ้นเปนเมดแดง ๆ เปนแถว ถ้าหญิงขึ้นซ้าย ถ้าชายขึ้นขวา สะภายแล่งคล้ายสังวาล ให้เปนพิศม์จับหอบแลสะอึก ให้สบัดร้อน สบัดหนาว ถ้าแพทย์จะแก้ ให้ประกอบยาให้จงหนัก จะได้สักส่วนหนึ่งจะเสียสักสามส่วน ..."
ไข้สามฤดูดู ไข้เปลี่ยนฤดู
ไข้สายฟ้าฟาดน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นขึ้นเป็นริ้วสีแดง สีเขียว หรือสีดำ พาดลงมาตามตัว ทำให้มีไข้สูง ร้อนในกระหายน้ำ ปากขม ปากฟันแห้ง เชื่อมมัว เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๕] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณ ไข้สายฟ้าฟาด ให้ผุดเปนริ้วลงมาตามตัวนิ้วหนึ่งสองนิ้ว ตามตัวแดงดังผลตำลึงสุกก็มี เขียวดังสีครามก็มี ดังสีผลว่าสุกก็มี ดังศีมินม่อก็มี เปนริ้วลงมาตามตัวผุดทั้งหน้าทั้งหลัง ทำพิศม์ร้อนในกระหายน้ำ ให้ปากขมปากแห้งฟันแห้ง ให้ร้อนเปนเปลวไปทั้งตัว ให้เชื่อมมัวเปนกำลังไม่มีสะติสมประดี ให้สลบลักษณไข้สายฟ้าฟาด ดังนี้ให้แพทย์เร่งแก้ให้จงดี จะได้สักส่วนหนึ่ง ตายสามส่วนบอกให้แพทย์พึงรู้ ..."
ไข้สุริยสูตรน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้สูง มือเท้าเย็น เชื่อมมัว ไม่มีสติ ตัวแข็งเหมือนท่อนไม้ หอบ สะอึก เป็นต้น ตำราการแพทย์แผนไทยว่า ไข้นี้จะกำเริบทำให้หมดสติ เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๘] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้สุริยสูตร ลักษณอาการ เหมือนกันกับไข้จันทรสูตร ผิดกันแต่ลักษณพระอาทิตย์ ขึ้นแล้วทำพิศม์มากขึ้น จนพระอาทิตย์ตกลางทีให้สลบ บอกไว้ให้พึงรู้ ..."
ไขเสนียดดู น้ำครำ
ไข้หงส์ระทดน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้สูง มือเท้าเย็น ผิวหนังเกรียม ตัวแข็งเหมือนท่อนไม้ เชื่อมมัว ลิ้นกระด้างคางแข็ง หอบ สะอึก เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๗-๖๘] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนีจะว่าด้วยไข้หงษ์รทด ให้จับเท้าเย็นตัวร้อนเปนเปลวเท้าเย็นมือเย็นให้เชื่อมมัว ไม่มีสติสมประดีให้หอบให้สอึก จับตัวแฃงไปเหมือนท่อนไม้ท่อนฟืน ให้ลิ้นกระด้างคางแขงจับไม่เปนเวลา แต่ว่าไม่ผุดให้ตัวเกรียม ทั้งตัวถ้าแพทย์ผู้มีสติปัญญาจะแก้ได้ จะเสียส่วนหนึ่งรอดส่วนหนึ่ง ..."
ไข้หวัดน้อยน. โรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอากรไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะมาก ไอ จาม มีน้ำมูก เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๘๑] ตอนหนึ่งว่า "... อันว่าคนทั้งหลายใดเมื่อจะบังเกิดไข้เปนหวัดนั้น ให้สะบัดร้อนสท้านหนาว ปวดศีสะเปนกำลัง ระวิงระไวไอจาม ให้จ้ำหมูกตก ลักษณอันหนึ่งเปนลักษณอันนี้ ไข้เพื่อหวัดน้อยอันว่าคนไข้ทั้งหลายนั้น ไม่กินยาก็หายอาบน้ำก็หายใน ๓ วัน ๕ วัน ..." , ปัจจุบันเรียก ไข้หวัด
ไข้หวัดใหญ่น. โรคนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะมาก ไอ จาม มีน้ำมูกมาก อาเจียน ปากแห้ง คอแห้ง เปรี้ยวปาก ขมปาก กินข้าวไม่ได้ เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๘๑] ตอนหนึ่งว่า "... อันว่าคนไข้ทั้งหลายใด เมื่อจะเปนไข้นั้น ชื่อว่าหวัดใหญ่ ให้จับสบัดร้อนสท้านหนาว ให้ปวดศีศะให้ไอให้จาม น้ำหมูกตกเปนกำลัง ให้ตัวร้อนให้อาเจียน ให้ปากแห้งปากเปรี้ยวปากขมกินเข้าไม่ได้ แล้วแปรไปให้ไอเปนกำลังแลทำพิศม์ ฅอแห้งปากแห้งเพดานแห้งจะหมูกแห้งน้ำหมูกแห้งไม่มี บางทีกระทำให้น้ำมูกไหล บางทีแปรไปให้ย้อนเปนกำลัง เหตุดังนี้เพราะว่ามันสมองนั้นเหลว ออกไปหยดออกจากนาศิกทั้งสองข้าง หยอดลงไปปะทะกับสอเสมหะจึ่งให้ไอไปแก้มิฟัง ..."
ไข้หัดดู ไข้ออกหัด
ไข้หัดหลบในดูใน ไข้ออกหัด
ไข้หัวลมดู ไข้เปลี่ยนฤดู (โบราณมักใช้เรียกไข้เปลี่ยนฤดูที่เกิดในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว)
ไข้เหือดดู ไข้ออกเหือด
ไข้แหงนน. โรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการไข้ ชักจนอกแอ่น ตำราว่าแพทย์มีเวลาเพียง ๑ วัน ที่จะรักษาให้หายได้ หากผู้ป่วยมีอาการตัวแอ่นมากจนเส้นท้องขาด ก็จะตายดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๘] ตอนหนึ่งว่า "... ไข้แหงนนั้นให้จับชักแอ่นเข้า จนเส้นท้องขาดตาย ไข้สองประการนี้มีอายุ ที่แพทยจะแก้ได้นั้นแต่วันเดียว ..."
ไข้ออกหัดน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้ สะบัดร้อนสะท้านหนาว เชื่อมมัว ปวดศีรษะ หลังจากนั้นจะมีเม็ดคล้ายเม็ดทรายยอดแหลมผุดขึ้นทั่วตัว หากไม่มีเม็ดยอดผุดขึ้นมาโบราณเรียก หัดหลบ หรือไข้หัดหลบใน ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๓] ตอนหหนึ่งว่า "... ทีนี้จะแสดงไข้ออกหัดออกเหือดต่อไป ให้จับสท้านร้อนสท้านหนาวให้เชื่อมมัว ให้ปวดศีศะวันหนึ่งสองวัน ผุดขึ้นมาเปนเม็ดทราย ไปทั่วทั้งตัวมียอดแหลม ๆ ถ้าหลบเข้าในท้องให้ลง ลักษณหัดเหือดมีลักษณคล้ายคลึงกัน บอกไว้ให้พึงรู้ ..." , ไข้หัด ก็เรียก
ไข้ออกเหือดน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้ออกหัด แต่เม็ดที่ผุดขึ้นทั่วตัวยอดแหลม ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๓] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะแสดงไข้ออกหัดออกเหือดต่อไปให้จับสท้านร้อนสท้านหนาวให้เชื่อมมัว ให้ปวดศีศะวันหนึ่งสองวัน ผุดขึ้นมาเปนเม็ดทรายไปทั่วทั้งตัวมียอดแหลม ๆ ถ้าหลบเข้าในท้องให้ลงลักษณหัดเหือดมีลักษณคล้ายคลึงกัน บอกไว้ให้พึงรู้ ...", ไข้เหือด ก็เรียก
ไข้อิดำน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นสีดำขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม ขนาดต่าง ๆ กัน ขึ้นทั่วทั้งตัว มีอาการตัวร้อน มือเท้าเย็น ตาแดง ปวดศีรษะ เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๓] ตอนหนึ่งว่า "... แลลักษณไข้พิศม์นั้น คือ อิดำอิแดง ให้จับเท้าเย็นมือเย็นให้ตัวร้อนเปนเปลวไฟ ให้จักษุแดงดังแสงโลหิตร้อนเปนตอนเย็นเปนตอนหนึ่งมิได้เสมอกัน ลางทีจับแต่รุ่งจนเที่ยง ลางทีจับแต่เที่ยงจบค่ำ ลางทีจับแต่ค่ำจนรุ่ง ลางทีให้ปวดศีศะให้ผุดเป็นแผ่นนิ้วหนึ่งก็มีสองนิ้วก็มี เท่าใบพุดทราก็มี ลางทีผุดขึ้นมาเท่าใบเทียนก็มีทั่วทั้งตัว แดงก็มีดำก็มี แดงนั้นเบากว่าดำ ...", ไข้อีดำ ก็เรียก
ไข้อิแดงน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นสีแดงขึ้นรวมกันเป็นกลุ่ม ขนาดต่าง ๆ กัน ขึ้นทั่วทั้งตัว มีอาการคล้ายไข้อิดำ แต่รุนแรงน้อยกว่า ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๓] ตอนหนึ่งว่า "... แลลักษณไข้พิศม์นั้น คืออิดำอิแดง ให้จับเท้าเย็นมือเย็นให้ตัวร้อนเปนเปลวไฟใหจักษุแดงดังแสงโลหิตร้อนเปนนตอนเย็นเปนตอน หนึ่งมิได้เสมอกัน ลางทีจับแต่รุ่งจนเที่ยง ลางทีจับแต่เที่ยงจบค่ำ ลางทีจับแต่ค่ำจนรุ่ง ลางทีให้ปวดศีศะให้ผุดเป็นแผ่นนิ้วหนึ่งก็มีสองนิ้วก็มี เท่าใบพุดทราก็มี ลางทีผุดขึ้นมาเท่าใบเทียนก็มีทั่วทั้งตัว แดงก็มีดำก็มี แดงนั้นเบากว่าดำ ...", ไข้อีแดง ก็เรียก
ไข้อีดำดู ไข้อิดำ
ไข้อีแดงดู ไข้อิแดง

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒


อ่านต่อ...

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ข (ส่วนที่ 3)

ไข้ประดงแรดดู ประดงแรด
ไข้ประดงลมดู ประดงลม
ไข้ประดงลิงดู ประดงลิง
ไข้ประดงวัวดู ประดงวัว
ไข้ป่าน. โรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการไข้สูงมากเป็นเวลา ส่วนใหญ่มักมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย นอกจากนี้อาจมีอาการปวดศีรษะ มือและเท้าเย็น มีเหงื่อออกมาก กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย หากเป็นติดต่อกันหลายวันไม่หาย ผู้ป่วยจะซีด เบื่ออาหาร ตับโต ม้ามโต เป็นต้น โบราณเรียก ไข้ป่า เนื่องจากผู้ป่วยมักเป็นโรคนี้หลังกลับออกมาจากป่า, ไข้จับสั่น ไข้ดอกสัก หรือไข้ดอกบวบ ก็เรียก
ไข้ป้างดู ป้าง
ไข้ปานดำน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นคล้ายปานสีดำ ขนาดต่าง ๆ กันผุดขึ้นมา มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง เชื่อมมัว ร้อนในกระหายน้ำ บางครั้งอาจมีอาการมือเท้าเย็น หรือลิ้นกระด้างคางแข็ง หากผื่นนี้ผุดขึ้นทั่วตัว อาจทำให้ตายได้ ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๔] ตอนหนึ่งว่า "... ลักษณปานดำปานแดงนั้น ให้จับเท้า มือเย็น ลางทีให้เท้าร้อนมือร้อนให้ตัวร้อนเปนเปลว ให้ปวดศีศะให้จักษุแดงเปนสายโลหิต ให้ร้อนในอก ให้เชื่อมให้มัว ลางทีพิศม์กะทำภายในยากะทุ้งไม่ออก ให้ร้อนในกระหายน้ำ ลางทีให้ลิ้นกระด้างคางแขง ให้ผุดออกเท่าวงสะบ้ามอนบ้าง เท่าใบพุดทราบ้าง เท่านิ้วหนึ่งสองนิ้วบ้าง ให้แพทย์รักษาให้รวังให้จงได้ ปานแดงนั้นเบากว่าปานดำ บอกไว้ให้พึงรู้ถ้าขึ้นครึ่งตัวรักษารอดบ้างตายบ้าง ถ้าขึ้นทั้งตัวศีดังผลตำลึงสุก ศีดังผลว่าสุก ศีดังคราม ศีดำดังหมึกลักษณดังนี้ตาย ..."
ไข้ปานแดงน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นคล้ายปานสีแดง ขนาดต่าง ๆ กันผุดขึ้นมา มีอาการคล้ายไข้ปานดำ แต่รุนแรงน้อยกว่า ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๔] ตอนหนึ่งว่า "... ลักษณปานดำปานแดงนั้น ให้จับเท้า มือเย็น ลางทีให้เท้าร้อนมือร้อนให้ตัวร้อนเปนเปลว ให้ปวดศีศะให้จักษุแดงเปนสายโลหิต ให้ร้อนในอก ให้เชื่อม ให้มัว ลางทีพิศม์กะทำภายในยากะทุ้งไม่ออก ให้ร้อนในกระหายน้ำ ลางทีให้ลิ้นกระด้างคางแขง ให้ผุดออกเท่าวงสะบ้ามอนบ้าง เท่าใบพุดทราบ้าง เท่านิ้วหนึ่งสองนิ้วบ้าง ให้แพทย์รักษาให้รวังให้จงได้ ปานแดงนั้นเบากว่าปานดำ บอกไว้ให้พึงรู้ ถ้าขึ้นครึ่งตัวรักษารอดบ้างตายบ้าง ถ้าขึ้นทั้งตัวศีดังผลตำลึงสุก ศีดังผลว่าสุก ศีดังคราม ศีดำดังหมึกลักษณดังนี้ตาย ..."
ไข้เปลวไฟฟ้าน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้สูง ทำให้ใบหน้า จมูก อก และลิ้น เป็นสีดำ ปาก ลิ้น และฟันแห้ง เพดานปากลอก หมดสติ เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๕-๖๖] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะกล่าวด้วยลักษณไข้เปลวไฟฟ้าถ้าทำพิศม์ให้ร้อน เปนกำลังให้ร้อนเปนเปลวจับเอาหน้าดำ จะมูกดำอกดำสีเปนควันให้ปากแห้งลิ้นแห้งฟันแห้งให้ปากแตกระแหง ลิ้นแตกระแหงลิ้นดำเพดานลอกให้สลบ ไม่รู้จักสะติสมประดี ถ้าอาการเหมือนกล่าวมานี้จะรอดสักส่วนหนึ่ง ตายสักสี่ส่วน ..."
ไข้เปลี่ยนฤดูน. โรคชนิดหนึ่ง มักเกิดขึ้นในช่วงรอยต่อของแต่ละฤดู ผู้ป่วยมักมีไข้ สะบัดร้อนสะท้านหนาว กระหายน้ำ เป็นต้น ในทางการแพทย์แผนไทยอาจแบ่งโรคนี้ตามฤดูกาลเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ไข้ในฤดูร้อน ไข้ในฤดูฝน และไข้ในฤดูหนาว ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑๕/๓๕๖] ตอนหนึ่งว่า "... พระอาจารย์เจ้าจะแสดงซึ่งไข้ทั้งสามสืบต่อไป แลไข้ในคิมหันตฤดูนั้นคือ เดือน ๕, เดือน ๖, เดือน ๗, เดือน ๘ เป็นไข้เพื่อโลหิตเป็นนใหญ่กว่าลมกว่าเสมหะทั้งปวงทุกประการ ไข้ในวัสสานะฤดูนั้นคือเดือน ๙, เดือน ๑๐, เดือน ๑๑, เดือน ๑๒ นี้ ไข้เพื่อลมเป็นใหญ่กว่าเลือด และเสมหะทั้งปวงทั้งสองประการ ไข้ในเหมันตฤดูนั้นคือ เดือน ๑-๒-๓-๔ นี้ไข้เพื่อกำเดาและเพื่อดีพลุ่ง เป็นนใหญ่กว่าเสมหะ แลลมทั้งสองประการ อาการมีต่าง ๆ ให้นอนละเมอฝันร้ายแลเพ้อไป ย่อมเป็นหวัด มองคร่อหิวหาแรงมิได้ ให้เจ็บปาก ให้เท้าเย็น, มือเย็นแลน้ำลายมากแลกระหายน้ำเนือง ๆ แลให้อยากเนื้อพล่า ปลายำสดคาว ให้อยากกินหวาน, กินคาว มักให้บิดขี้เกียจคร้าน มักเป็นฝีพุพองเจ็บข้อเท้าข้อมือ ย่อมสะท้านหนาวดังนี้ ท่านให้วางยาอันร้อนจึงชอบโรคนั้นแล ...", ไข้ตามฤดู ไข้สามฤดู ไข้หัวลม หรืออุตุปริณามชาอาพาธา ก็เรียก
ไข้พิษไข้กาฬน. โรคกลุ่มหนึ่งที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ตัวร้อนจัด ปากแห้ง ฟันแห้ง น้ำลายเหนียว ตาแดง ร้อนในกระหายน้ำ มือเท้าเย็น มีเม็ดสีดำ แดงหรือเขียว ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างผุดขึ้นตามร่างกาย ตำราการแพทย์แผนไทยแบ่งออกเป็น ๒๑ ชนิด โดยเรียกชื่อแตกต่างกันตามลักษณะอาการ เช่น ไข้อีดำ ไข้อีแดง ไข้ปานดำ ไข้ปานแดง ไข้รากสาด ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๑] ตอนหนึ่งว่า "... เมื่อผู้เป็นเจ้าจะสะแดงเพศไข้พิศม์ไข้เหนือและไข้กาล ให้คนทั้งหลายรู้ประจักษคืออันใดที่จะเป็นไข้พิศม์นั้นเปนต้น ไข้อิดำอิแดง ไข้ปานดำปานแดง ไข้ลากสาดไข้สายฟ้าฟาด ไข้ระบุชาติไข้กะดานหิน ไข้สังวาลพระอินทรไข้มหาเมฆ ไข้มหานิล ไข้เข้าไหม้ใหญ่ ไข้เข้าไหม้น้อย ไข้เข้าใบเตรียม ไข้ไฟเดือนห้าไข้เปลวไฟฟ้า ไข้หงษระทศ ไข้ดาวเรือง ไข้จันทรสูตร ไข้สุริยสูตร ไข้เมฆสูตร ว่าดังนี้คนทั้งลหายจึงกราบทูล ว่าข้าแต่ผู้เปนเจ้าจะได้โปรดสัตวทั้งหลายให้อายุยืนยาวไปข้างน่านั้น ขอผู้เปนเจ้าโปรดให้ ฯข้าฯ ทราบอาการไข้เพศไข้ ลักษณไข้ทุกประการ ..."
ไข้ไฟเดือนห้าน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นสีดำ หรือสีแดงขึ้นที่หน้าอก ทำให้มีอาการร้อนในอกมาก ร้อนในกระหายน้ำ เชื่อมมัว ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๕] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าดัวยลักษณไข้ ไฟเดือนหน้าถ้าทำพิศม์ให้ร้อนในอกเปนกำลัง ให้ผุดขึ้นที่อก ดำก็มีแดงก็มี สีดังเปลวไฟให้ร้อนในให้กระหายน้ำ ให้เชื่อมมัวไม่มีสะติสมประดี ให้ลิ้นกระด้างคางแขงให้สลบ จึ่งบอกให้แพทย์พึงรู้ ..."
ไข้ไฟลามทุ่งน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้ สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะ เชื่อมมัว ผิวหนังมีผื่นผุดขึ้นเป็นแผ่น ๆ มีลักษณะคล้ายไข้ลำลาบเพลิง แต่อาการของโรคจะลุกลามอย่างรวดเร็ว เหมือนไฟลามทุ่ง ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๔] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไฟลามทุ่ง อาการก็เหมือนกัน กับลำลาบเพลิงเหมือนกัน ..."
ไข้มหานิลน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีตุ่มหรือเม็ดขึ้นอยู่ใต้ผิวหนัง เห็นเป็นเงาสีน้ำเงินเข้ม (เหมือนสีนิล) อยู่ในเนื้อ มีอาการคล้ายกับไข้มหาเมฆ ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๔-๖๕] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณมะหาเมฆมหานิลต่อไป ถ้าว่าผุดขึ้นในเนื้อยังไม่ขึ้นหมด มีสัณฐานเท่าผลจิ่งจ้อสุกก็มี เปนเงาอยู่ในเนื้อยังมิขึ้นหมด ผุดทั้งตัวก็มีศีดำดังเมฆศีดำนิลกระทำพิศม์จับเชื่อมมัว ให้ลิ้นกระด้างคางแขง ให้หอบให้สอึกไม่เปนสมประดี ให้ปากแห้งฟันแห้ง ให้ถ่ายอุจาระปะสาวะ ไม่รู้ตัวไม่รู้สึกว่าดีว่าชั่วให้เชื่อมมัวไปไม่เปนเวลา ให้สลบ ให้แพทย์พิจารณารักษาให้เลอียด ตายสามส่วนรอดส่วนหนึ่ง ..."
ไข้มหาเมฆน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีตุ่มหรือเม็ดขึ้นอยู่ใต้ผิวหนัง เห้นเป็นเงาสีดำอยู่ในเนื้อ ทำให้มีอาการเชื่อมมัว ลิ้นกระด้างคางแข็ง หอบสะอึก ปากฟันแห้ง ถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่รู้สึกตัว เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๔-๖๕] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณมะหาเมฆมหานิลต่อไป ถ้าว่าผุดขึ้นในเนื้อยังไม่ขึ้นหมด มีสัณฐานเท่าผลจิ่งจ้อสุกก็มี เปนเงาอยู่ในเนื้อยงมิขึ้นหมด ผุดทั้งตัวก็มีศีดำดังเมฆศีดำนิล กระทำพิศม์จับเชื่อมมัว ให้ลิ้นกระด้างคางแขง ให้หอบให้สอึกไม่เปนสมประดี ให้ปากแห้งฟันแห้ง ให้ถ่ายอุจาระปะสาวะไม่รู้ตัวไม่รู้สึกว่าดีว่าชั่วให้เชื่อมมัวไปไม่เปนเวลา ให้สลบ ให้แพทย์พิจารณารักษาให้เลอียด ตายสามส่วนรอดส่วนหนึ่ง ..." , เขียนว่า ไข้มหาเมฆ ก็มี
ไข้มะหาเมฆดู ไข้มหาเมฆ
ไข้เมฆสูตร[-เมกคะสูด] น. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้สุริยสูตร แต่แตกต่างกันที่ไข้จะกำเริบทำให้หมดสติเมื่อเกิดพายุฝน ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๘] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้เมฆสูตร ลักษณอาการเหมือนไข้สุริยะสูตรแต่ผิดกันบ้างเกิดพยุฟ้าพะยุฝน เมฆตั้งขึ้นทั่วทิศกระทำพิศม์ให้สลบไข้สามประการนี้ บอกให้แพทย์พึงรู้ ..."
ไข้ระบุชาติน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดสีแดงผุดขึ้นตามร่างกาย ทำให้เชื่อมมัว ร้อนในกระหายน้ำ หอบสะอึก ตำราว่าไข้ประเภทนี้รักษายาก ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๕] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้ระบุชาตผุดเปนเม็ดเท่าเม็ดผักปลังก็มี เท่าเม็ดเทียนก็มี เท่าเม็ดงาก็มี เปนเหล่ากันอยู่เดิมเท่านิ้วหนึ่งสองนิ้วก็มี ศีดังชาตยอดถานทั่วทั้งตัว กระทำพิศม์ให้จับเชื่อมมัว ร้อนในกระหายน้ำ ให้หอบสอึกกระทำพิศม์ต่าง ๆ ถ้าผู้จะเปนแพทย์รักษาโรคดีรอดบ้างตายบ้าง ถ้ารักษาไม่ดีตายหมดบอกไว้ให้พึงรู้ ..."
ไข้รากสาดน. ไข้กาฬกลุ่มหนึ่ง ผู้ป่วยอาจมีอาการตัวร้อนจัด มือเท้าเย็น ปวดศีรษะมาก ตาแดง เพ้อ มือกำเท้ากำ ตาเหลือตาซ้อน หรืออาจมีอาการตัวเย็น เงหื่อออกมากแต่ร้อนภายใน หอบ สะอึก ลิ้นกระด้างคางแข็ง เชื่อมมัว ไม่มีสติ นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือด ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด เป็นต้น ตำราการแพทย์แผนไทยแบ่งไข้รากสาดออกเป็น ๙ ชนิด เรียกชื่อแตกต่างกันไปตามลักษณะอาการที่ปรากฎให้เห็นทางผิวหนัง ได้แก่ ไข้รากสาดปานแดง ไข้รากสาดปานดำ ไข้รากสาดปานเขียว ไข้รากสาดปานเหลือง ไข้รากสาดปานขาว ไข้รากสาดปานม่วง ไข้รากสาดนางแย้ม ไข้รากสาดพะนันเมือง และไข้รากสาดสามสหาย ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๘-๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้กาลไข้ลากสาดมีเก้าประการ ให้เท้าเย็นมือเย็น ให้ตัวร้อนเปนเปลวไฟ ให้ปวดศีศะเปนกำลัง ให้จักษุแดงเปนโลหิต ให้จับเพ้อพกให้ร่ำรี้ร่ำไร เปนปีสาจ์เข้าอยู่ ให้ชักมือกำเท้ากำจักษุเหลือกจักษุช้อนให้ร้อนเปนตอน เย็นเปนตอนลางทีจับเหมือนหลับ จับตัวเย็นให้เหื่อตก เอาผ้าบิดออกได้แต่ร้อนในอกเปนกำลัง ให้หอบให้สอึกลิ้นกระด้างคางแฃง ให้จับเชื่อมมัวไม่สะติสมประดี ลางทีกระทำพิศม์ภายในให้ลงเปนโลหิต ไอเปนโลหิตให้อาเจียนเปนโลหิตเปนเสมหะ โลหิตเหน้าก็มีผุดขึ้นมา เหมือนลายต้นกระดาษก็มี ผุดขึ้นมาเปนทรายขาวทั้งตัวก็มี ลายเหมือนงูลายสาบก็มี ลายเหมือนลายเลือดก็มี ลายเหมือนดีบุกก็มี ...", ไข้ลากสาด ก็เรียก
ไข้รากสาดนางแย้มน. ไข้รากสาดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีตุ่มขนาดแตกต่างกันผุดขึ้นติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ถ้าขึ้นทั่วทั้งตัวจะตาย ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้ลากสาดนางแย้ม ผุดขึ้นมาเปนเมดเล็ก ๆ เท่านิ้วหนึ่ง สองนิ้ว สามนิ้ว มีสัณฐานดังดอกนางแย้มทั่วทั้งตัว เรียกว่าลากสาดนางแย้ม บอกไว้ให้พึงรู้ตาย ..."
ไข้รากสาดปานขาวน. ไข้รากสาดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นสีขาวผุดขึ้นเป็นวง ขนาดเท่าผลพุทรา ถ้าขึ้นทั่วทั้งตัวจะตาย ดังคัมภีร์ตตักกศิลา [๑/๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้ลากสาดปานฃาว ผุดขึ้นมาเปนวงเท่าผลพุทรา ฃาวเหมือนศีน้ำเข้าเชดผุดขึ้นทั่วทั้งตัว เรียกว่าลากสาดปานขาว บอกไว้ให้พึงรู้ตาย ..."
ไข้รากสาดปานเขียวน. ไข้รากสาดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นสีคราม ขนาดแตกต่างกัน ผุดขึ้นเป็นกลุ่มตามผิวหนัง ถ้าเป็นทั่วทั้งตัวและลิ้นเป็นสีคราม ผู้ป่วยนั้นจะตาย ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้ลากสาดปานเขียวผุดขึ้นมาเปนนหมู่ โตหนึ่งนิ้ว สองนิ้ว สามนิ้ว ก็มี เขียวดังศีครามลิ้นก็เขียวผุดขึ้นทั่วทั้งตัว เรียกว่าลากสาดปานเขียวบอกไว้ให้พึงรู้ตาย ..."
ไข้รากสาดปานดำน. ไข้รากสาดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นสีน้ำเงินเข้มเกือบดำ ผุดขึ้นมาเป็นวง ๆ ตามตัว ลิ้นจะเป็นสีดำ ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้ ลากสาดปานดำ ลักษณผุดขึ้นมาเท่าแว่นน้ำอ้อยดำดังนิล ลิ้นดำ ผุดทั่วตัวบอกไว้ให้พึงรู้ ..."
ไข้รากสาดปานแดงน. ไข้รากสาดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีตุ่มขนาดเล็กสีแดง ผุดขึ้นเป็นกลุ่มทั่วทั้งตัว ตำราว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้ตาย รักษาไม่ได้ ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้ลากสาดปานแดง มีลักษณผุดขึ้นมาเปนเม็ดถั่วเล็ก ๆ แดง ๆ เปนหมู่เท่านิ้วสองนิ้วทั้งตัว เรียกว่าลากสาดปานแดงตาย ..."
ไข้รากสาดปานม่วงน. ไข้รากสาดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีตุ่มสีม่วงเข้มผุดขึ้นมาถ้าขึ้นทั่วทั้งตัว ผู้ป่วยนั้นจะตาย ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้ลากสาดปานม่วง ผุดขึ้นมาศีดุจดังผลผักปลังสุก ผุดขึ้นทั่วทั้งตัว เรียกว่าลากสาดปานม่วง บอกไว้ให้พึงรู้ตาย ..."
ไข้รากสาดปานเหลืองน. ไข้รากสาดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีตุ่มขนาดเล็กผุดขึ้นเป็นกลุ่มตามผิวหนังทั่วทั้งตัว ผิวและลิ้นจะเป็นสีเหลือง ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้ลากสาดปานเหลืองให้ผุดขึ้นมาเปนเมดเล็ก ๆ โตเท่านิ้วหนึ่งสองนิ้วสามนิ้ว แต่ผิวนั้นเหลืองลิ้นเหลือง ชื่อว่าลากสาดปานเหลือง บอกไว้ให้พึงรู้ ..."
ไข้รากสาดพะนันเมืองน. ไข้รากสาดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผิวหนังนูนขึ้นเป็นแถบสีดำขนาดต่าง ๆ กันทั่วทั้งตัว ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้ลากสาดพะนันเมือง เปนหมู่เปนริ้วขึ้นมาเหมือนตัวปลิง โตนิ้วหนึ่ง สองนิ้ว สามนิ้ว ดำเหมือนมินม่อไปทั่วทั้งตัว ชื่อว่าลากสาดพะนันเมือง บอกไว้ให้พึงรู้ ..."
ไข้รากสาดสามสหายน. ไข้รากสาดชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดสีแดงเป็นกลุ่มเล็ก ๆ (ขยุ้ม) คล้ายตีนสุนัขผุดขึ้นทั่วทั้งตัว ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๙] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้ลากสาดสามสหาย ให้ผุดขึ้นมาเปนเม็ด ๆ เหมือนเท้าสุนักข์มีศีแดงทั่วทั้งตัว เรียกว่าลากสาดสามสหาย บอกไว้ให้แพทย์พึงรู้ ..."
ไข้รำเพรำพัดน. โรคชนิดหนึ่ง มักไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยมีอาการแตกต่างกันออกไป เช่น อาจมีไข้ จุกเสียดในท้อง อาเจียน ละเม้อเพ้อพก ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๘๐] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้าไข้รำเพรำพัด คือให้รากให้จุกในอุทร แลให้แดกขึ้นแดกลงเป็นกำลัง แลให้มะเมอเพ้อพกดังผีเข้าแพทย์ไม่รู้ว่าเปนไข้สันนิบาตนั้นหามิได้เลย ...", ไข้ลมเพลมพัด รำเพรำพัด หรือลมเพลมพัด ก็เรียก
ไข้เริมน้ำข้าว, ไข้เริมน้ำเข้าน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้ สะบัดร้อนสะท้านหนาว เชื่อมมัว ปวดศีรษะ ผิวหนังมีเม็ดเล็ก ๆ ผุดเรียงตัวกันแน่นจนเห็นเป็นแผ่นเดียวกัน หลายกลุ่ม ภายในมีน้ำขุ่น ๆ (เรียก เริมน้ำเข้า หรือ เริมน้ำข้าว) ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๓] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้เริมน้ำค้าง เริมน้ำเข้านั้นต่อไป มีลักษณให้จับสท้านร้อนสท้านหนาว ให้จับเชื่อมมัวแล้วให้ปวดศีศะ แล้วให้ผุดขึ้นมาเปนแผ่นนิ้วหนึ่งสองนิ้วสามนิ้วสี่นิ้ว เปนเหล่า ๆ กัน น้ำใสเขาเรียกว่าเริมน้ำค้าง ถ้าน้ำขุ่นเขาเรียกว่าเริมน้ำเข้า ให้เร่งประทับยา บอกไว้ให้พึงรู้ ..."

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒


อ่านต่อ...

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ข (ส่วนที่ 2)

ไข้ข้าวไหม้ใบเกรียมน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดสีแดงขึ้นทั่วตัว เม็ดอาจเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ทำให้มีอาการปวดในเนื้อในกระดูก ลิ้นกระด้างคางแข็ง หอบ สะอึก หมดสติ เป็นต้น เมื่อไข้หายแล้วเม็ดจะเปลี่ยนเป็นริ้วสีดำ ตำราการแพทย์แผนไทยว่า ถ้าเม็ดที่ขึ้นลามไปที่ตับหรือปอด จะทำให้ผู้ป่วยตายทุกราย ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๗] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้เข้าไหม้ใบเตรียม ให้จับสบัดร้อนสบัดหนาว ให้ปวดศีศะเปนกำลัง ให้จักษุแดงเปนแสงโลหิตให้ร้อนเปนกำลัง ให้มือเย็น เท้าเย็น ให้เจบในเนื้อ ในกระดูก ทำพิศม์ให้ลิ้นกระด้างคางแขง ให้หอบ ให้สอึก ให้สลบ แล้วให้ผุดขึ้นมาทั้งตัวให้ปวดในเนื้อ ในกระดูก ผุดขึ้นมาดังลมพิศม์ แดงดังผลตำลึงสุก เปนแผ่นทั่วทั้งตัวใหญ่เท่านิ้วหนึ่ง สองนิ้ว สามนิ้ว ก็มี เปนเมดเล็ก ๆ เหมือนมดกัดก็มี แล้วกลับไปดำอยู่ ถ้าแพทย์จะแก้ดี จะรอดได้สักหนึ่งส่วน จะเสียสักสามส่วน คลายจากพิศม์สง ขึ้นเปนทิวผุดนั้นกลับดำเปนหนังแรด อยู่หกเดือนตายลงกินตับกินปอดขาดออกมาตาย ร้อยคนไม่รอดสักคนหนึ่ง ..." , ไข้เข้าไหม้ใบเกรียม หรือไข้เข้าไหม้ใบเตรียม ก็เรียก
ไข้ข้าวไหม้ใหญ่น. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดเล็ก ๆ ที่มียอดแหลมสีขาว ๆ ขึ้นเป็นแผ่นทั่วตัว ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายคลึงกับไข้ข้าวไหม้น้อย แต่รุนแรงกว่า นอกจากนี้ อาจมีอาการปวดศีรษะมาก ตาแดง มือเท้าเย็น เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๖] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้เฃ้าไหม้ใหญ่ ให้จับสบัดร้อนน สท้านหนาว ให้ปวดศีศะเปนกำลังให้จักษุแดงเปนแสงโลหิต ให้เท้าเย็นมือเย็นให้เจบในเนื้อ ในกระดูก ทำพิศม์ ให้ลิ้นกระด้างคางแขง ให้ผุดขึ้นมาเหมือนมดกัดเปนแผ่นทั่วตัวมียอดแหลมขาว ๆ ถ้าแพทย์จะแก้ให้เร่งประทับยาให้หนัก ได้บ้างเสียบ้างถ้าลอกปอกหมูออกไปตายทีเดียว ไม่รอดสักคนหนึ่ง ..." , ข้าเข้าไหม้ใหญ่ ก็เรียก
ไข้เข้าไหม้น้อยดู ไข้ข้าวไหม้น้อย
ไข้เข้าไหม้ใบเกรียม, ไข้เข้าไหม้ใบเตรียมดู ไข้ข้าวไหม้ใบเกรียม
ไข้เข้าไหม้ใหญ่ดู ไข้ข้าวไหม้ใหญ่
ไข้คดน. โรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการไข้ ชักจนตัวงอ ตำราว่าแพทย์มีเวลาเพียง ๑ วัน ที่จะรักษาให้หายได้ หากผู้ป่วยมีอาการตัวงอมากจนเส้นหลังขาด ก็จะตาย ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๘] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้คดนั้น ให้จับชักงอเข้าจนเส้นหลังขาดตาย... ไข้สองประการนี้มีอายุ ที่แพทยจะแก้ได้นั้นแต่วันเดียว ..."
ไข้งูตวัดดู ไข้งูสวัด
ไข้งูสวัดน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้ สะบัดร้อนสะท้านหนาว อาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ผิวหนังมีตุ่มเล็ก ๆ คล้ายเม็ดทราย ภายนีน้ำใส ๆ ซึ่งต่อมาจะเป็นหนองและตกสะเก็ดในที่สุด ตุ่มเล็ก ๆ เหล่านี้จะเรียงเป็นแถวลักษณะเหมือนงู ตำราว่าโรคนี้ถ้าผู้หญิงเป็นข้างซ้ายหรือผู้ชายเป็นข้างขวา จะรักษายาก และถ้าลามข้ามสันหลังไปจะรักษาไม่ได้ มักถึงตาย ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๓] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้งูสวัดต่อไป ลางทีให้จับสท้านร้อนสท้านหนาว ให้ปวดศีศะลางทีก็ไม่จับ เป็นเม็ดทรายขึ้นมาเปนนแถวขึ้นมามีสัณฐานดังงู เม็ดพอง ๆ เปนเงาหนองก็มี ถ้าผู้หญิงเปนซ้าย ถ้าผู้ชายเปนขวา และข้มสันหลังไป รักษาไม่ได้แต่พิศม์สงร้อนดังไฟจุด บอกไว้ให้พึงรู้ ..." , ไข้งูตวัด ก็เรียก
ไข้จันทรสูตร[-จันทะสูด] น. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้สูง มือเท้าเย็น เชื่อมมัว ไม่มีสติ ตัวแข็งเหมือนท่อนไม้ หอบสะอึก เป็นต้น ตำราการแพทย์แผนไทยว่า ไข้นี้จะกำเริบทำให้หมดสติเมือ่พระจันทร์ขึ้นดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๘] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้จันทรสูตร ให้จับเท้าเย็นตัวร้อนเป็นเปลว เท้าเย็นมือเย็นให้เชื่อมมัว ไม่มีสะติสมประดีให้หอบให้สอึก จับตัวแขงไปเหมือนท่อนไม้ท่อนฟืน ให้ลิ้นกระด้าง คางแขง จับไม่เปนเวลา แต่ว่าไม่ผุด ต่อพระจันทรขึ้นทำพิศม์ให้สลบ ถ้าพระจันทรไม่ขึ้น พิศม์ถอยลงบอกไว้ให้พึงรู้ ..."
ไข้จับโปงดูใน จับโปงน้ำ
ไข้จับสั่นดู ไข้ป่า (โบราณเรียกเช่นนี้เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการหนาวสั่น)
ไข้เจลียงน. โรคกลุ่มหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการไข้วันเว้นวัน ในทางการแพทย์แผนไทย มีหลายชนิด ได้แก่ ไข้เจลียงอากาศ ไข้เจลียงพระสมุทร ไข้เจลียงไพร
ไข้เจลียงพระสมุทรน. ไข้เจลียงชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการเมื่อยขบตามข้อกระดูก หนาวสะท้าน หอบ ร้อนในกระหายน้ำ เท้าเย็นขึ้นไปถึงน่อง เสียวไปทั้งตัว ปวดศีรษะ กินอาหารไม่ได้ ดังจารึกตำรายาวัดราชโรสารามราชวรวิหาร [๕/๑๔๖] ตอนหนึ่งว่า "... ลักษณะไข้เจลียงพระสมุทรนั้น เมื่อจะจับให้เมื่อยขบทุกข้อกระดูก ให้หนาวสะท้านให้หอบให้ร้อนกระหาย ให้ตีนเย็นถึงน่อง ให้เสียวไปทั้งกาย ให้ปวดศีรษะเป็นกำลัง กินอาหารมิได้ ให้ละอองตีนมือนั้นขาว โทษเสมหะเป็นกำลัง ฯ ..."
ไข้เจลียงไพรน. ไข้เจลียงชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการไข้ หนาวสั่นและร้อนกระหายน้ำสลับไปมา ปัสสาวะแดง มือแดง เดินไม่สะดวก อารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย ดังจารึกตำรายาวัดราชโรสารามราชวรวิหาร [๕/๑๕๒] ตอนหนึงว่า "... ลักษณะไข้เจลียงไพรนั้น กระทำอาการดุจปีศาจเข้าสิงมักขึ้งโกรธ เมื่อจับนั้นให้สะท้านหนาวสั่นยิ่งนัก ให้ร้อนกระหายน้ำนักให้ปัสสาวะแดงเดินมะได้สะดวก ให้ละอองตีนมือนั้นแดง โทษดีเป็นกำลัง ฯ ..."
ไข้เจลียงอากาศน. ไข้เจลียงชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการหนาวสะท้าน เท้าเย็น ร้อนใน กระหายน้ำ อุจจาระปัสสาวะไม่ออก ดังจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร [๕/๖๕] ตอนหนึ่งว่า "... ลักษณะไข้เจลียงอากาศนั้นให้จับสะท้าน ให้เท้าเย็น ให้ร้อนในอกเป็นกำลังให้กระหายน้ำนัก ให้ขัดอุจจาระปัสสาวะ ๑ ให้ละอองตีนมือนั้นเขียว ให้ตาขลัว น้ำตาแห้ง โทษสันนิบาต ๒ เป็นกำลัง ฯ ..."
ไข้ดอกบวบดู ไข้ป่า
ไข้ดอกสักดู ไข้ป่า (โบราณเรียกเช่นนี้เนื่องจากผู้ป่วยมักเป็นโรคนี้ในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกสักบาน)
ไข่ดันน. ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใต้ผิวหนังของบริเวณขาหนีบทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งเป็นแนวต่อระหว่าง ลำตัวกับต้นขา ทำหน้าที่กัดและทำลายเชื้อโรคที่อาจผ่านเข้ามาในร่างกายท่อนบน, ฟองดัน ก็เรียก
ไข้ดานหิน, ไข้ดารหินน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีผื่นผุดขึ้นมาเป็นวงที่ต้นขาทั้ง ๒ ข้าง ผื่นที่ผุดขึ้นมาอาจมีสีเขียว สีคราม สีแดง หรือสีดำ ก็ได้ ทำให้มีไข้ (แต่ตัวเย็น) ร้อนในกระหายน้ำ ลิ้นกระด้างคางแข็ง ปากคอแห้ง เชื่อมมัว เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๔] ตอนหนึ่งว่า "... ดทีนี้จะว่าด้วยลักษณดารหิน ขึ้นต้นขาทั้งสองข้างเปนวงเขียวก็มี เปนผลศีว่าศีคราม ศีผลตำลึงสุกศีหมึก ลักษณไข้จับให้ ตัวเย็นดังหิน ให้ร้อนในให้กระหายน้ำทำพิศม์ ให้ลิ้นกระด้างคางแขง ให้ปากแห้งคอแห้ง ฟันแห้ง เชื่อมมัวทำพิศม์จนสลบ ให้เร่งรักษาแต่ยังอ่อน ถ้าเปื่อยลอกออกไปอย่ารักษาเลยอาการนั้นตัดใน ๓ วัน ๗ วัน แพทย์จะแก้ได้แต่ยังไม่ลอกออกไป บอกไว้ให้พึงรู้ ..."
ไข้ดาวเรืองน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดผุดขึ้นมาเหมือนลายโคมจีนครึ่งลูก ทำให้มีไข้สูง แต่มือเท้าเย็น ตาแดง ปวดศีรษะ อาเจียน เชื่อมมัว ร้อนในกระหายน้ำ หอบสะอึก ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นต้น ตำราการแพทย์แผนไทยว่า ผู้ป่วยโรคนี้บางรายอาจรักษาให้หายได้ ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๗] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้ดาวเรือง ให้จับเท้าเย็นมือเย็น ให้ตัวร้อนเปนเปลว ให้จักษุแดงเปนแสงโลหิต ให้ปวดศีษะเปนกำลัง ดังว่าจักษุแดงจะแตกออกมา ให้อาเจียนเปนกำลัง ให้เชื่อมมัวร้อนในกระหายน้ำให้หอบสอึกให้ลิ้นกระด้างคางแขง ลางทีทำพิษถึงสลบ ให้ผุดขึ้นเปนเหมือนลายโคมครึ่งลูก ถ้าแก้ดีได้ส่วนหนึ่งเสียส่วนหนึ่ง บอกให้แพทยพึงรู้ ..."
ไข้ตรีโทษน. ความเจ็บป่วยอันเกิดจากกองสมุฏฐานปิตตะ วาตะ และเสมหะ ร่วมกันกระทำให้เกิดโทษ
ไข้ตามฤดูดู ไข้เปลี่ยนฤดู
ไข้ประกายดาษน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดผุดขึ้นทั่วตัวเหมือนฝีดาษ มีไข้สะบัดร้อนสะท้านหนาว มือเท้าเย็น ปวดศีรษะ ตาแดง เชื่อมมัว ปวดในเนื้อ ในกระดูก ลิ้นกระด้างคางแข็ง หอบสะอึก เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๒] ตอนหนึ่งว่า "... ผู้เปนเจ้าจะแสดงคือประกายดาษนั้น มีลักษณไข้จับสท้านร้อนสท้านหนาว ให้จับเท้าเย็นมือเย็น ให้ปวดศีศะให้จักษุแดง เปนแสงโลหิต ให้เชื่อมมัวเปนนกำลัง ให้ปวดกระดูก ให้ปวดในเนื้อ กระทำลิ้นกระด้างคางแขง ให้หอบให้สอึกผุดขึ้นมา เหมือนเม็ดฝีดาษทั่วตัว ทำพิศม์ให้สลบ บอกให้แพทย์พึงรู้ ให้เร่งวางยาให้จงดีแก้ไม่ดีตาย ..."
ไข้ประกายเพลิงน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการคล้ายไข้ประกายดาษ แต่มีอาการรุนแรงกว่า เช่น ไข้สูง เม็ดที่ผุดขึ้นมีขนาดใหญ่ ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๒] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้ประกายเพลิงต่อไป อาการนั้นเหมือนประกายดาษ แต่เม็ดผิดกันเม็ดใหญ่เท่าเม็ดเทียน เท่าเม็ดทรายขึ้นทั่วตัว ร้อนเปนไฟหัวนั้นให้ร้อนดังไฟลวก ทำพิศม์ทำสงเปนกำลัง ..."
ไข้ประดงดู ประดง
ไข้ประดงควายดู ประดงควาย
ไข้ประดงช้างดู ประดงช้าง
ไข้ประดงไฟดู ประดงเพลิง, ประดงไฟ
ไข้ประดงมดดู ประดงมด
ไข้ประดงแมวดู ประดงแมว

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒


อ่านต่อ...

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ข (ส่วนที่ 1)

ขบไหล่น. อาการปวดข้อบริเวณส่วนของบ่าตอนที่ติดกับต้นแขน
ขยำก. กำหรือบีบย้ำ ๆ แล้วคลายมือสลับกันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
ขวัญน. พลังชีวิตอย่างหนึ่ง เชื่อกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคน พืชบางชนิด เช่น ข้าว หรือสัตว์เลี้ยงบางชนิด เช่น ควาย ขวัญจะออกจากร่างกายเมื่อตาย แต่ในคนทั่วไป ขวัญอาจออกจากร่างได้เมื่อตกใจอย่างรุนแรง ซึ่งจะทำให้เจ็บป่วย ต้องทำพิธีเรียกกลับมา
ขวัญกินเถื่อนน. ขวัญที่ออกไปจากร่างกาย ทำให้มีอาการสะดุ้งผวา ตกใจง่าย หรือเจ็บป่วย เป็นต้น ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๑๗๑] ตอนหนึ่งว่า "... อันลักขณะโลหิตรดูอันบังเกิดมาแต่ดี แต่ตับนั้น ถ้าสัตรีผู้ใดไข้ลง มักให้เชื่อมมึน เมามัว ซบเซามิได้รู้ว่ารุ่งค่ำคืนวัน แล้วให้นอนสดุ้ง หวาดไหวเจรจาด้วยผี สมมติวา ขวัญกินเถื่อน โทษทั้งนี้คือโลหิตกระทำเอง ..."
ขัดไหล่น. อาการรู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมีอะไรมาเสียดแทงบริเวณส่วนของบ่าตอนที่ติดกับต้นแขน
ขันธ์น. ตัว หมู่ กอง พวก หมวด ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕, ขันโธ ก็เรียก
ขันธ์ ๕น. กองห้า กองแห่งรูปธรรม ๑ หมวด กับนามธรรม ๔ หมวด รวมเป็น ๕ หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวมเป็นชีวิต ประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์, เบญจขันธ์ ก็เรียก
ขันโธดู ขันธ์
ขากรรไกรสลักเพชรดูใน สลักเพชร, สลักเพ็ด
ขื่อน. กระดูกเชิงกรานที่ขวางอยู่ด้านหน้า
เขม่า[ขะเหม่า] น. โรคเด็กชนิดหนึ่ง เกิดกับทารกที่อยู่ในเรือนไฟ (โดยทั่วไปอายุไม่เกิน ๑ เดือน) ผู้ป่วยจะมีฝ้าสีเทาแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ เกิดได้ตั้งแต่หน้าอกถึงปลายลิ้น เมื่อลุกลามเข้าไปภายใน ก็จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น อาเจียนอย่างแรง ท้องเสียอย่างแรงดังคัมภัร์ประถมจินดา [๑๕/๑๐๕] ตอนหนึ่งว่า "... เมื่อกุมารอยู่ในเรือนไฟนั้น ให้เป็นเขม่า ครั้นหล่นลงแล้วก็เข้าจับหัวใจแลทรวงอก จะทำให้สิปากแดงดุจดังสีชาด ไปทำน้ำรัก อันเปียก แลชาดนั้นก็ดำเป็นสีลูกหว้า แลซางอันหล่นลงมาเข้าท้องนั้นก็เข้าจับเอาหัวตับ ครั้นออกจากเรือนไฟได้ ๒ วัน ๓ วันก็ดี ได้เดือนหนึ่ง สองเดือนก็ดี เขม่านั้นจึงหล่น ในเมื่อสิ้นเขม่าแล้วซางจึงบังเกิดขึ้น ..."
เขฬะ, เขโฬน. น้ำลาย เป็นองค์ประกอบ ๑ ใน ๑๒ สิ่งของธาตุน้ำ
เข้ากระโจม"๑. ก. เข้าไปอบควันยาในกระโจม มักใช้กับหญิงหลังคลอด ๒. ก. เข้าไปนอนอยู่ในกระโจมหรือนอนคลุมโปง อบให้เหงื่อออก เพื่อลดไข้ ๓. น. วิธีการหนึ่งในการดูแลสุขภาพของหญิงหลังคลอด ด้วยการนำหม้อต้มยาสมุนไพรเข้าไปในกระโจม แล้วใช้ไอน้ำจากยาสมุนไพรอบตัวและรมใบหน้า โบราณเชื่อว่าช่วยบำรุงผิว ป้องกันการเกิดฝ้า แก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วยให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น"
เข้าขื่อน. วิธีการนวดอย่างหนึ่ง ใช้กับผู้หญิงหลังคลอด เพื่อให้กระดูกเชิงกรานที่เคลื่อนออกจากกัน กลับเข้าที่ อาจทำได้ ๒ แบบ คือ แบบที่ให้ผู้ถูกนวดนอนตะแคง ส่วนผู้นวดจะยืนอยู่ด้านหลัง แล้วใช้ส้นเท้าเหยียบกระแทกเป็นจังหวะตรงข้อต่อสะโพก และแบบที่ให้ผู้ถูกนวดนอนหงายแยกขา ผู้นวดนั่งระหว่างขา มือจับขาทั้ง ๒ ข้างของผู้ที่ถูกนวด แล้วใช้อุ้งเท้าข้างที่ถนัดถีบบริเวณช่องคลอด, เหยียบขื่อ ก็เรียก ดู ขื่อ ประกอบ
เข้าตะเกียบน. วิธีการนวดอย่างหนึ่ง ใช้กับผู้หญิงหลังคลอด โดยให้ผู้ถูกนวดนอนตะแคง ขา ๒ ข้างซ้อนทับกัน ส่วนผู้นวดจะยืนคร่อมโดยหันหน้าไปทางศีรษะของผู้ถูกนวด ใช้ขาทั้ง ๒ ข้างหนีบบริเวณต้นขาและสะโพกของผู้ถูกนวด แล้วใช้ส้นมือซ้อนกัน กดขย่มบริเวณข้อต่อสะโพกเป็นจังหวะถี่ ๆ โบราณว่าจะช่วยให้ข้อต่อสะโพกที่เคลื่อนออกจากเบ้าหลังคลอดกลับเข้าสูที่เดิมได้, นวดเข้าตะเกียบ ก็เรียก ดู ตะเกียบ ประกอบ
เขี่ยก. ใช้นิ้วมือกด ดันเข้าและดันออกบริเวณส่วนของร่างกาย ได้แก่ ร่องไหปลาร้า สะบัก ข้อพับแขน/ขา ใต้ศอก หน้าแข้ง และข้อเท้า เพื่อให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นยืดออกเป็นปรกติ
เขียวมหาพรหมน. ยาแผนไทยขนาดหนึ่ง ใช้แก้โลหิตพิการอันทำให้ตัวร้อนจัด มีตัวยา วิธีปรุง วิธีใช้ และสรรพคุณดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์ [๑/๑๓๔] ตอนหนึ่งว่า "... ยาชื่อเขียวมหาพรหม สำหรับแก้โลหิตพิการ ทำพิศม์ให้ร้อนทั่วกายดังเปลวไฟให้ทุรนทุรายหาสะติมิได้ก็ดี ยานี้แก้ได้สิ้นทุกอัน ท่านให้เอาใบมูลหนอน ๑ ใบสมี ๑ ใบชิงช้าชาลี ๑ ใบมูลแหลก ๑ ใบผักเคด ๑ ใบแคแดง ๑ ใบทองหลางใบมน ๑ ใบมะเฟือง ๑ ใบภุมเรียงทั้ง ๒ ใบนมพิจิตร ๑ ใบแทงทวย ๑ ใบพริกไทย ๑ ใบน้ำเต้าขม ๑ ใบปีบ ๑ ใบมะระ ๑ ใบหญ้านาง ๑ ใบเท้ายายม่อม ๑ ใบพุงดอ ๑ ใบน้ำดับไฟ ๑ ใบระงับ ๑ ใบตำลึงตัวผู้ ๑ ใบพรมมิ ๑ ใบผักเข้า ๑ ใบหมากผู้ ๑ ใบหมากเมีย ๑ ใบภิมเสน ๑ ใบสันพร้าหอม ๑ ใบสะเดา ๑ ใบถั่วแระ ๑ ใบบระเพชร ๑ เถาวัลด้วน ๑ ขมิ้นอ้อย ๑ จันทน์ขาว ๑ เอาเสมอภาคบดปั้นแท่งไว้น้ำกระสายยักใช้ควรแก่โรค ทั้งกิน ทั้งพ่น แก้โลหิตกำเริบแล ..."
ไข้"๑. น. ความเจ็บป่วยทางกายหรือทางจิต เช่น ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้เหนือ ไข้หวัด นอกจากนี้ ในทางการแพทย์แผนไทยยังมีไข้ตัวเย็นอันเกิดจากธาตุไฟพิการ ๒. ก. อาการครั่นเนื้อครั่นตัว สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดเมื่อย, โดยทั่วไปหมายถึงอาการที่มีอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นผิดจากระดับปรกติเนื่องจากความเจ็บป่วย"
ไข้กระดานหิน, ไข้กระดารหินน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดขึ้นทั่วตัว เมื่อแรกเกิดเม็ดนี้จะเป็นสีแดง จากนั้นเป็นสีดำติดกับเนื้อ ทำให้คัน สะบัดร้อนสะท้านหนาว ปวดศีรษะมาก ตาแดง มือเท้าเย็น เจ็บในเนื้อในกระดูก ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๖-๖๗] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยไข้กระดานหิน ให้จับสบัดร้อนสท้านหนาว ให้ปวดศีศะเป็นกำลัง ให้จักษุแดงเปนแสงโลหิต ให้เท้าเย็นมือเย็นให้เจ็บเนื้อในกระดูก ทำพิศม์ให้ลิ้นกระด้างคางแขง ให้หอบให้สะอึกให้ผุดขึ้นมาทั่วตัวเหมือนกับลมพิศม์ แดงดังผลตำลึงสุกเป็นนเม็ด ๆ เหมือนเมดผลแล้วกลับดำลงไปติดเนื้อให้คัน ถ้าแพทย์แก้ดีพิศม์ในนั้นคลายขึ้นแต่ผุดนั้นไม่หาย ต่อสามเดือนจึ่งตาย ไข้ลักษณดังนี้ ถ้าแพทย์ผู้ใดฉลาดแก้ไขในโรคไข้พิศม์จะรอดสักส่วนหนึ่ง ตายสามส่วน ถ้าไม่รู้จักในโรคไข้พิศม์ ตายทีเดียวร้อยคน ไม่รอดสักคนหนึ่ง ..."
ไข้กระโดงน. ไข้กาฬกลุ่มหนึ่ง การดำเนินของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง หากรักษาไม่ทันอาจถึงตายได้ ตำราการแพทย์แผนไทยแบ่งออกเป็น ๔ ชนิด คือ ไข้กระโดงน้ำ ไข้กระโดงไฟ ไข้กระโดงแกลบ และไข้กระโดงหิน ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๗] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้พระผู้เปนเจ้า จะแสงซึ่งไข้กาล มาเกิดแก่สัตวทั้งหลาย คือไข้กระโดงทั้งสี่ คือไข้กระโดงไฟหนึ่ง ไข้กระโดงน้ำหนึ่ง ไข้กระโดงหินหนึ่ง ไข้กระโดงแกลบหนึ่ง เข้ากันเปนสี่ประการ ... แต่ลักษณไข้กระโดงทั้งสี่นี้ มีอายุแต่วัน ๑ วัน ๒ วัน ถ้าแพทยจะแก้แต่วันหนึ่ง ไม่ถอยตาย บอกไว้ให้แพทย์พึงรู้ ..."
ไข้กระโดงแกลบน. ไข้กระโดงชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดเหมือนเม็ดทรายผุดขึ้นมาทั่วตัว มีอาการคันมาก ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๗] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณกระโดงแกลบนั้น มีลักษณสัณฐานผุดขึ้นมาเหมือนเม็ดทรายผุดขึ้นมาทั่วตัว ให้คันเป็นกำลังมาตรว่าจะเกาให้ทั่วตัวก็ไม่หายคัน ถึงจะเอาไม้ขูดให้โลหิตออกไปทั้งตัวก็ไม่หายคัน บอกไว้ให้แพทยพึงรู้ ..."
ไข้กระโดงน้ำน. ไข้กระโดงชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้ เชื่อมมัว หมดสติ เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๗] ตอนหนึ่งว่า "... ลักษณะกระโดงน้ำนั้น จับให้นอนเชื่อมมัวไป ไม่เปนสติสมประดี ถึงจะเอารังมดแดงเข้ามาเฆาะ ให้ทั่วตัวก็มิรู้สึกตัว บอกไว้ให้แพทยพึงรู้ ..."
ไข้กระโดงไฟน. ไข้กระโดงชนิดนหึ่ง ผู้ป่วยมีอาการตัวร้อนเหมือนถูกไฟเผาทั้งตัว ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๗] ตอนหนึ่งว่า "... ลักษณไข้กระโดงไฟนั้น มีลักษณทำพิศม์เหมือนเปลวไฟ เผาไปทั่วกายประการหนึ่ง ..."
ไข้กระโดงหินน. ไข้กระโดงชนิดหนึ่ง ตำราว่าผู้ป่วยที่เป็นไข้ชนิดนี้จะยืนได้อย่างเดียว เมื่อนั่งลงเมื่อใดจะเจ็บปวดและทรมานมาก ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๗] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะกล่าวด้วยลักษณไข้กระโดงหิน ทำพิศม์ต่าง ๆ ไม่รู้ที่จะบอกแก่ใครได้ ให้ยืนที่เดียว ถ้าจะให้นั่งลงถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัศสาวะ แทบจะขาดใจตาย ..."
ไข้กาล, ไข้กาฬ"๑. น. โรคกลุ่มหนึ่ง ผู้ป่วยมักมีไข้ มีเม็ดขึ้นตามอวัยวะภายใน เช่น ปอด ตับ ม้าม แล้วผุดออกมาที่ผิวหนังเป็นเม็ดสีดำ สีเขียว สีคราม หรือเป็นเม็ดทราย เป็นแผ่น เป็นวง ทั่วตัว ทำให้เกิดอาการแตกต่างกันไป ตำราการแพทย์แผนไทยแบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๒-๗๓] ตอนหนึ่งว่า ""... ทีนี้พระผู้เป็นเจ้าจะสแดง ซึ่งเรื่องราวไข้กาลจะมาบังเกิดแก่สัตวทั้งหลายสิบประการ คืออันใดบ้าง คือไข้ประกายดาษ ๑ ประกายเพลิง ๑ หัด ๑ เหือด ๑ งูสวัด ๑ เริมน้ำค้าง ๑ เริมน้ำเข้า ๑ ลำลาบเพลิง ๑ ไฟลามทุ่ง ๑ กำแพงทะลาย ๑ เข้ากันเปนสิบประการ ..."" ๒. น.โรคกลุ่มหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง และมีเม็ดผื่นขึ้นตามร่างกาย ได้แก่ ไข้ประดง ไข้กระโดง และไข้รากสาด"
ไข้กาฬแทรกไข้พิษดูใน ประดง
ไข้กำเดาน้อยน. โรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ตาแดง ไอ ครั่นเนื้อครั่นตัว ขมปาก เปรี้ยวปาก เบื่ออาหาร อาเจียน นอนไม่หลับ เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๘๒] ตอนหนึ่งว่า "... อันลักษณะไข้กำเดา มีสองประการนั้น มีอาการให้ปวดสีศะ ให้จักษุแดง ให้ตัวร้อนเปนเปลว ให้ไอสะบัดร้อนสท้านหนาว ให้ปากฃม ปากเปรี้ยวปากกินเข้าไม่ได้ แลให้อาเจียนให้นอนไม่หลับ ลักษณดังนี้เปนเพื่อไข้กำเดาน้อย ..."
ไข้กำเดาใหญ่น. โรคชนิดหนึ่ง คล้ายไข้กำเดาน้อย แต่อาการรุนแรงกว่า อาจมีอาการปวดศีรษะมาก ตาแดง ปากคอแห้ง เชื่อมมัว ปวดเมื่อย บางทีมีเม็ดขนาดเล็กซึ่งไม่มียอดผุดขึ้นมาทั่วทั้งตัว ไอเป็นเลือดออกทั้งทางจมูกและปาก ชัก เท้ากำมือกำ เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๘๒-๘๓] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะแสดง ซึ่งไข้กำเดาใหญ่นั้นต่อไป มีอาการนั้นให้ปวดศีศะเปนกำลัง ให้จักษุแดงให้ตัวร้อนเปนเปลวให้ไอให้สบัดร้อนสท้านหนาว ให้ปากแห้งฅอแห้งเพดานแห้งฟันแห้ง ให้เชื่อมให้มัวให้เมื่อยไปทั้งตัว จับสบัดร้อนสท้านหนาว ไม่เปนเวลา บางทีผุดขึ้นเปนเม็ดเท่ายุงกัดทั้งตว แต่เม็ดนั้นยอดไม่มี บางทีให้ไอเปนโลหิตออกมาทางจมูกทางปาก บางทีให้ชักมือกำเท้ากำ ..."
ไข้กำแพงทลายน. ไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีไข้ สะบัดร้อนสะท้านหนาว เชื่อมมัว ร้อนในกระหายน้ำ ฟกบวม ผิวหนังจะมีตุ่มขนาดใหญ่ผุดขึ้นมา มีลักษณะเป็นตุ่มหัวเดียว ถ้าตุ่มนี้แตกจะทำให้อาการของโรครุนแรงมาก หากรักษาไม่ทันอาจถึงตายได้ ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๗๔] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณกำแพงทลาย เมื่อจะตั้งเปนขึ้นนั้น มีศีศะผุดขึ้นมาหัวเดียว ทำพิศม์สงเปนกำลังให้จับสท้านร้อนสท้านหนาว ให้เชื่อมมัว ร้อนในกระหายน้ำ ให้ฟกบวมขึ้น น้ำเหลืองแตกออกพังออก วางยาไม่หยุดให้พังออกได้ตาย ..."
ไข้ข้าวไหม้น้อยน. ไข้พิษไข้กาฬชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีเม็ดเล็ก ๆ ที่มียอดแหลมสีขาว ๆ ขึ้นเป็นแผ่นทั่วตัว ทำให้มีไข้สูง มือเท้าเย็น เจ็บทั้งในเนื้อและในกระดูก หอบ สะอึก เชื่อมมัว ลิ้นกระด้างคางแข็ง เป็นต้น ดังคัมภีร์ตักกศิลา [๑/๖๖] ตอนหนึ่งว่า "... ทีนี้จะว่าด้วยลักษณไข้เข้าไหม้น้อยให้จับตัวร้อนเปนเปลวไฟ ให้มือเยน ให้เท้าเยน ให้เจ็บไปทั่วสารพางค์กายให้เจ็บในเนื้อในกระดูกเปนกำลัง ให้หอบให้สอึก ให้เชื่อม ให้มัว ให้ลิ้นกระด้าง คางแขง ให้ผุดขึ้นมาเหมือนมดกัดเปนแผ่นทั่วตัว มียอดแหลมขาว ๆ ถ้าแพทย์จะแก้ให้เร่งประทับยาให้หนัก ได้บ้างเสียบ้างถ้าลอกปอกหมูไปตายทีเดียว ไม่รอดสักคนนหนึ่ง ..." , ไข้เข้าไหม้น้อย ก็เรียก

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒

อ่านต่อ...

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

พจนานุกรม หมวดอักษร ก

กด ก. บังคับลง ข่ม ทับ ดันให้ลงด้วยมือ ส่วนของมือ แขน ศอก เข่า เท้า ส่วนของเท้า อวัยวะอื่นใด หรือวัสดุ อุปกรณ์อื่น สำหรับตรวจวินิจฉัย ป้องกัน บำบัดโรค หรืออาการบางอย่าง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย
กระโจม น. ผ้าที่คลุมบนโครง ซึ่งโบราณมักทำด้วยไม้ไผ่เพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก
กระดูกงูเหลือม น. กระดูกสันหลังของงูเหลือม ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีรสเย็นเมาเบื่อ สรรพคุณดับพิษกาฬ เป็นต้น. ดู งูเหลือม ประกอบ
กระดูกไหปลาร้า ดูใน ไหปลาร้า
กระบองราหู ดู ลำบองราหู
กระเพาะข้าว น. ๑. กระเพาะอาหาร.
๒. ลำไส้ใหญ่ตอนบน (อันตัง), กระเพาะเข้า กะเพาะเข้า กะเภาะข้าว กะเภาะเข้า เพาะเข้า หรือ เภาะเข้า ก็เรียก
กระเพาะเข้า ดู กระเพาะข้าว
กระเพาะน้ำ น. กระเพาะปัสสาวะ, กะเพาะน้ำ กะเภาะน้ำ เพาะน้ำ หรือ เภาะน้ำ ก็เรียก.
กระวาน น. ๑. เครื่องยาที่เป็นผลแก่แห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amomum testaceum Ridl. ในวงศ์ Zingiberaceae เครื่องยานี้มีชื่อสามัญว่า camphor seed, clustered cardamom, round Siam cardamom หรือ Siam cardamom ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณเป็นยาขับลม ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ผสมกับยาระบายเพื่อลดอาการไซ้ท้อง แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับโลหิต กระจายเลือดและลม
๒. พืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amomum testaceum Ridl. ในวงศ์ Zingiberaceae เป็นไม้ลมลุก เหง้าทอดไปตามดิน ใบรูปขอบขนาน กาบใบหุ้มซ้อนเป็นลำต้นเทียม ช่อดอกแบบช่อเชิงลด รูปกรวย ออกจากเหง้า มีใบประดับเรียงเวียนซ้อนสลับตลอดช่อ ในซอกใบประดับมีดอกสีเหลืองอ่อนหรือขาวยื่นออกมา ผลแบบผลแห้งแตก มี ๓ พู สีนวล, กระวานขาว กระวานจันท์ กระวานดำ กระวานแดง หรือ กระวานโพธิสัตว์ ก็เรียก
กระวานขาว, กระวานจันท์, กระวานดำ, กระวานแดง, กระวานโพธิสัตว์     ดู กระวาน
กระษัย, กระไษย์ ดู กษัย
กระสาย, กระสายยา น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำ เหล้า น้ำผึ้ง น้ำดอกไม้ ในทางเภสัชกรรมแผนไทยใช้แทรกยาเพื่อช่วยให้กินยาง่ายข้น และหรือเสริมฤทธิ์ของยาให้มีสรรพคุณดีขึ้นดังตำราเวชศึกษา [๑๖/๑๗] ตอนหนึ่งว่า "... ยาสั้นเมือง เอาจันทน์แดง ๑ จันทน์ชะมด ๑ จันทนา ๑ พิษนาศน์ ๑ ระย่อม ๑ ไคร้เครือ ๑ มหาละลายทั้ง ๒ คุคะ ๑ มหาสดำ ๑ ... สรรพยา ๒๘ สิ่งนี้ทำให้เป็นจุณ แล้วจึงเอานอแรด กรามแรด งาช้าง กรามช้าง เขากวาง ฝนเอาน้ำเสมอภาค ละลายน้ำดอกมะลิเป็นกระสายทำแท่งไว้ ละลายน้ำซาวข้าวก็ได้ น้ำดอกไม้ก็ได้ กินแก้สารพัดใช้ ..." หรือใช้เป็นเครื่องแทรกยาเพื่อช่วยให้ปรุงเป็นรูปแบบยาที่ต้องการ ดังคัมภีร์ประถถมจินดา [๑๔/๙๓] ตอนหนึ่งว่า "... ยาแก้ซางแดงขนานนี้ ท่านให้เอา บอระเพ็ด เปลือกมะตูม ๑ หอมแดง ๑ การะบูร ๑ พริกไทย ๑ ขิงแห้ง ๑ กะเทียม ๑ รวมยา ๗ สิ่งเอาเสมอภาคทำเป็นจุณ บดทำแท่งไว้ละลายสุรา กินหาย ..." ,  หากเป้นของเหลวมักเรียก น้ำกระสาย หรือ น้ำกระสายยา. (ส. กษาย)
กระไสย ดู กษัย
กระหวัด ก. ๑. ตวัด, รัดรึง
๒. ย้อน
กรานพลู, กรานพูล, กรามพลู, กรามพูล   ดู กานพลู
กรีสัง [กะรีสัง] น. อาหารเก่า คูถ อุจจาระ ขี้ เป็นองค์ประกอบ ๑ ใน ๒๐ สิ่งของธาตุดิน
กลละ น. รูปเริ่มแรกที่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา ซึ่งจะเจริญเติบโตต่อไปเป็นทารก, เขียนว่า กะละละ ก็มี
กล้องยานัตถุ์ น. อุปกรณ์นัดยาเข้าจมูก โดยทั่วไปมักทำเป็นหลอดโลหะโค้งรูปตัวยู ด้านสั้นใช้อมเพื่อเป่า ด้านยาวใช้สอดเข้ารูจมูก
กล่อมท้อง น. วิธีการนวดอย่างหนึ่ง ใช้กับผู้หญิงในระหว่างตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย โดยผู้นวดใช้ฝ่ามือนวดบริเวณท้อง ช่วยในการดูแลครรภ์และช่ว่ยให้คลอดง่าย, นวดกล่อมท้อง ก็เรียก
กล่อมนางนอน น. ยาแผนไทยขนานหนึ่ง ใช้แก้ระส่ำระสาย แก้ถ่ายเป็นเลือด แก้ร้อน ล้อมตับดับพิษฝี พิษไข้ พิษตานซาง เป็นต้น มีตัวยา วิธีปรุง วิธีใช้ และสรรพคุณ ดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์ [๑/๑๕๖-๗] ตอนหนึ่งว่า "... ขนานหนึ่งชื่อกล่อมนางนอน ล้อมตับไว้มิให้ตับทรุดลงได้ ท่านให้เอาโกฏทั้ง ๙ เทียนทั้ง ๕ พิกุล ๑ ใคร้เครือ ๑ สังกะระนี ๑ เกสรบัวทั้ง ๕ บุนนาค ๑ สาระภี ๑ มะลิ ๑ กฤษณา ๑ กะลำภัก ๑ ขอนดอก ๑ ชะลูด ๑ ชะเอมเทศ ๑ น้ำประสารทอง ๑ ผงใบลานแก่ ๑ กระดองปูป่า ๑ ชะมด ๑ ภิมเสสน ๑ เอาเสมอภาค น้ำดอกไม้เปนกระสาย บดแล้วใส่ขันสำฤทธิ รมควันเทียนให้สบกันแล้วทำแท่งไว้ ฝนด้วยน้ำกฤษณากินแก้ระส่ำระสาย ถ้าลงเปนมูกเปนเลือด ละลายน้ำกล้วยตีบ ถ้าจะแก้เสมหะละลายน้ำเกลือ น้ำมะแว้งเครือ ถ้าแก้ร้อนน้ำดอกไม้ทั้งกินทั้งชะโลม ถ้าจะล้อมตับดับพิศม์ฝีพิศม์ไข้พิศม์ตานทรางขโมยพิศม์ฝีกาล เอารากมะผู้ ๑ มะเมีย ๑ รากมะเฟือง ๑ รากต่อไส้ ๑ ฝาง ๑ ต้มเอาน้ำละลายยานี้กินหายแล ..."
กล่อมมดลูก ก. เร่งให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น โดยการประคบบริเวณท้อง
กลางหน น. กลางทาง ระหว่างทาง ดังตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [๔/๓] ตอนหนึ่งว่า "... โอมไชยศรีสิทธิสารประเสริฐ อัญเชิญเถิดแม่ซื้อเอ๋ย ครูตูเฉลยบอกให้ รู้จักลักษณะแม่  ซื้อกระแหน่เมืองบน แม่ซื้อกลางหนและเมืองล่าง ซึ่งให้โทษต่าง ๆ  กัน ..."
กลางหาว น. กลางแจ้งหรือบนท้องฟ้า
กล้านัก ว. มีอาการรุนแรงขึ้น มีอาการหนักขึ้น ดังคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา [๑๔/๕๐๔] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้ามิฟัง พิษนั้นกล้านัก มักเผาเอาเนื้อนั้นสุก เน่าเข้าไปแต่ปลายองคชาตทุกวัน ๆ  ก็ดี ..."
กวาด ก. เอายาป้ายในปาก คอ ลิ้นของทารกและเด็กโดยใช้นิ้วหมุนโดยรอบ มักใช้นิ้วชี้ ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๑/๓๕๔] ตอนหนึ่งว่า "... รวมยา ๑๙ สิ่งนี้เอาเสมอภาคย์ทำเปนจุณ บดปั้นแท่งไว้ลลายน้ำมนาว กวาดทรางกระแนนะหายวิเสศนัก ...", กวาดยา ก็เรียก
กวาดยา ดู กวาด
กษัย น. โรคกลุ่มหนึ่ง เกิดจากความเสื่อมหรือความผิดปรกติของร่างกาย จากความเจ็บป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาแล้วไม่หาย ทำให้ร่างกายซูบผอม กล้ามเื้อและเส้นเอ็นรัดตึง โลหิตจาง ผิวหนังซีดเหลือง ไม่มีแรง มื้อเท้าชา เป็นต้น ตำราการแพทย์แผนไทยแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ  ตามสาเหตุของการเกิดโรค คือ กษัยที่เกิดจากธาตุสมุฏฐาน (มี ๘ ชนิด ได้แก่ กษัยกล่อน ๕ ชนิด กับกษัยน้ำ กษัยลม และกษัยเพลิง) กับกษัยที่เกิดจากอุปปาติกะโรค (มี ๑๘ ชนิด ได้แก่ กษัยล้น กษัยราก กษัยเหล็ก กษัยปู กษัยจุก กษัยปลาไหล กษัยปลาหมอ กษัยปลาดุก กษัยปลวก กษัยลิ้นกระบือ กษัยเต่า กษัยดาน กษัยท้น กษัยเสียด กษัยเพลิง กษัยน้ำ กษัยเชือก และกษัยลม), เขียนว่า กระษัย กระไษย์ กระไสย หรือ ไกสย ก็มี ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๑๕-๑๖] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรค ซึ่งพระอาจารยเจ้า ประมวนไว้มีประเภท ๒๖ จำพวก แต่กระไสย ๘ จำพวกนั้นคือ กระไสยกล่อน ๕ กระไสยน้ำ ๑ กระไสยลม ๑ กระไสยเพลิง ๒ ทั้ง ๘ จำพวกนี้ เกิดแต่กองสมุฏฐานธาตุ แจ้งอยู่ในคำภีร์วุฒิโรค กล่าวคือกล่อน ๕ ประการโน้นเสรจแล้ว ในที่นี้จะกล่าวแต่กระไสยอันบังเกิดเปนอุปาติกะโรค ๑๘ จำพวกนี้ คือกระไสยล้น กระสไยราก กระไสยเหลก กระไสยปู กระไสยจุก กระไสยปลาไหล กระไสยปลาหมอ กระไสยปลาดุก กระไสยปลวก กระไสยลิ้นกระบือ กระไสยเต่า กระไสยดาน กระไสยท้น กระไสยเสียด กระไสยเพลิง กระไสยน้ำ กระไสยเชือก กระไสยลม ประมวนเป็น ๑๘ จำพวกด้วยกันดังกล่าวมานี้ ..."
กษัยกล่อน น. โรคกษัยกลุ่มหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของธาตุทั้ง ๔ ตำราการแพทย์แผนไทยแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด คือ กษัยกล่อนดิน กษัยกล่อนน้ำ กษัยกล่อนลม กษัยกล่อนไฟและกษัยเถา
กษัยกล่อนดิน น. กษัยกล่อนชนิดหนึ่ง เกิดจากกอาากรท้องผูกเรื้อรังที่ไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาแล้วไม่หายขาด เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง รักษายาก ตำราการแพทย์แผนไทยว่า เกิดจากความผิดปรกติของธาตุดิน ผู้ป่วยมักมีก้อนที่หััวหน่าว ปวดเมื่อยทั้งตัว มีไข้ เบื่ออาหาร เป็นต้น ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๕๕] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวด้วยลักษณกระไสยโรคอนึ่ง อันบังเกิดเพื่อปถวีธาตุวิบัตินั้นเปนเคารบ ๒๒ ลักษณเมื่อจะบังเกิดนั้นตั้งเปนก้อนขึ้นตามน่าเหน่า ทั้งซ้าย ทั้งขวา ก็ดี แล้วเลื่อนลงมาอัณธา กำเริบฟกขึ้นต้องเข้ามิได้ จะกระทบแต่ผ้านุ่งก็มิได้ ให้เจบเสียวตลอดถึงหัวใจ ให้เสียดตามราวข้างแลทรวงอก ให้ปวดขบในอกเปนกำลัง แลให้เจบไปทั่วสรรพางค์กาย ให้เมื่อยขบขัดหัวเหน่าแลน่าตะโภก ให้ถ่วงตึ่งลงไปทวารเบา แลให้ท้องขึ้นเปนกำลัง บริโภคอาหารมิได้ไม่มีรศ บางทีให้จับสบัดร้อนสะท้านหนาว มักให้หยากเปรี้ยว หยากหวาน ซึ่งหยากทั้งนี้มิได้ชอบแก่โรค บุรุษย์สัตรีเปนดุจกัน อันว่าลักษณกระไสยจำพวกนี้เกิดเพื่อลมพรรดึก คือกองปัตฆาฏกำเนิด แต่ปถวีให้เปนเหตุ ตามอาจารย์กล่าวไว้ดังนี้ ..."
กษัยกล่อนน้ำ น. กษัยกล่อนชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของธาตุน้ำ ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง หรือเสมหะ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๓ อย่าง เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง รักษายาก ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บปวดมากบริเวณยอดอก อาจลามถึงตับและหัวใจได้ ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๕๓] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวด้วยลักษณกระไสยโรคอนึ่ง อันบังเกิดเพื่อ อาโปธาตุวิบัดนั้นเปนเคารบ ๒๑ แลเมื่อลักษณจะบังเกิดนั้น มีประเภท ๓ ประการ ประการหนึ่งเกิดเพื่อโลหิต ประการหนึ่งเกิดเพื่อน้ำเหลือง ประการหนึ่งเกิดเพื่อเสมหะ แลกำเนิดซึ่งกล่าวมานี้จะเปนแต่ประการใด ประการหนึ่งก็ดี แลเปนทั้ง ๓ ประการก็ดี ท่านเรียกว่ากระไสยโลหิต ถ้าสัตรีเกิดใต้สะดือ ๓ นิ้ว ลักษณดังนี้มีอยู่ในคำภีร์โรคนิทานโน้นแล้ว ถ้าบุรุษย์ตั้งเหนือสะดือ ๓ นิ้ว ดุจจะกันกับสตรีอันนี้ วิถารอยู่ใในคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกาโน้น ในทีนี้อาจาริยเจ้ายกกล่าวแต่ลักษณกระไสยโรคนั้นอย่างเดียว ถ้าแลกระไสยจำพวกนี้บังเกิดขึ้นแก่บุทคลผู้ใดแล้ว กระทำให้ปวดขบถึงยอดอก ให้เจบปวดดังจะขาดใจตาย บางทีตั้งลามขึ้นไปตับแลหัวใจ ดุจฝีมะเรงทรวงแลฝีปลวก ตามอาจารย์กล่าวไว้ดังนี้ ...", กษัยเลือด หรือ กษัยโลหิต ก็เรียก
กษัยกล่อนไฟ น. กษัยกล่อนชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของธาตุไฟ เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง รักษายาก ผู้ป่วยมักมีอาการจุกเสียดแน่นหน้าอกมาก ร้อนอยู่ภายใน เหงื่อออกมาก เบื่ออาหาร เจ็บบริเวณยอดอกอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่รุนแรง ตาแดง มีไข้ตอนบ่าย อาจมีอาการบวมที่ใบหน้า ที่ท้อง หรือที่เท้า หากมีอาการบวมพร้อมกันทั้ง ๓ แห่ง จะรักษาไม่ได้ ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๕๐] ตอนหนึ่งว่า "... อันบังเกิดเพื่อเตโชธาตุบัดนั้นก่อนเปนปฐม กล่าวคือเพลิงธาตุทั้ง ๔ มิได้เปนปรกติ เดินมิได้ตลอดขัดขังเข้า จึ่งให้วิปริตแปรปรวนเปนไปต่างต่าง บางทีตั้งในนาภีแลในอกกระทำให้แน่นน่าอกบริโภคอาหารมิได้ บางทีให้จุกขึ้นดังจะขาดใจตายแล้วให้ร้อนดังเพลิงเผา บางทีให้เสโทแตกทุกเส้นขนกระทำให้จักษุนั้นแดง ให้เจบรุม ๆ  อยู่ที่ยอดอก ให้จับแต่เวลาบ่าย แล้วให้บวมหน้า บวมท้อง บวมเท้า ถ้าแลบวม ๓ ถาน ดังกล่าวมานี้แล้วเมื่อใด แพทย์จะเยียวยามิได้เลย เปนอาการตัดตามคำอาจารย์ท่านกล่าวไว้ ภถ้าจะแก้ให้แก้ไปตามบุญตามกรรม์ โดยไนยสรรพคุณยานี้เถิด ..."
กษัยกล่อนลม น. กษัยกล่อนชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของธาตุลม เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง รักษายาก ผู้ป่วยมักมีอาการจุกเสียดแน่นในท้อง ปวดท้อง ร้อนภายในทรวงอก แต่ตัวเย็น เป็นต้น ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๕๒] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวด้วยลักษณกระไสยโรคอนึ่งอันบังเกิดขึ้นเพื่อวาโยธาตุนั้นเปนเคารบ ๒๐ แลวาโยกระไสยโรคจำพวกนี้เมื่อกำเริบนั้น ข้างขึ้น ข้างแรม ก็ดี ถ้าเวลาเช้าคลายสักน่อยดุจคนดี ถ้าเวลาบ่ายจึ่งเปน กระทำให้จุกขึ้นมาแล้วกัดขบตอดเอาทรวงอก ให้ร้อนในอก ให้ตัวเยน แล้วให้ปวดขบเปนกำลัง ถ้าจะบริโภคอาหารสิ่งใด สิ่งหนึ่งก็ดี ถ้าสิ่งอันร้อนจึ่งจะคลายสักน่อย ตามอาจารยท่านกล่าวไว้ดังนี้ ฯ ..."
กษัยจุก น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากลมเข้าไปในเส้นเอ็นภายในท้อง ผูป่วยจะมีอาการจุกแน่นมาก ต้อนนอนคว่ำ ไม่สามารถนอนหงายได้ เพราะจะทำให้ปวดมาก ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๒๑-๒๒] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือกระไสยจุกนั้นเปนคำรบ ๕ กล่าวคือวาโยนั้นเดินแทงเข้าไปในเส้น ในเอน ฝ่ายในเปนอาคันตุกวาต แลให้เส้นพองขึ้นในท้องให้จุก ให้แดกดังจะขาดใจ ให้นอนขว้ำร้องอยู่เปนนิจ จะนอนหงายขึ้นก็มิได้ มีเวทยาเปนกำลังดังกล่าวมานี้ ..."
กษัยเชือก น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติโรคชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นที่บริเวณตั้งแต่หัวหน่าวถึงหัวใจ ผู้ป่วยมีอาการแน่นชายโครง จุกเสียด อุจจาระขัด ปัสสาวะขัดและมีสีดำจับไข้เป็นเวลา สะบัดร้อน สะท้านหนาว เบื่ออาหาร ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๔๖] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือ กระไสยเชือกนั้นเปนเคารบ ๑๗ ตั้งขึ้นแต่หัวเหน่าหยั่งขึ้นถึงหัวใจ แขงดุจแท่งเหล็กให้แน่นโครงเปนกำลัง ให้จุกเสียดแลให้ขัดอุจารปะสาวะ แลให้ปะสาวะนั้นดำเปนมัน แล้วกระทำให้บริโภคอาหารมิได้ให้อิ่มไป ให้จับเปนเวลา บางทีให้ร้อนบางทีให้หนาว ต่อนวดจึ่งคลายลงน่อยหนึ่ง ถ้ามิได้นวดให้ตึงแต่จะย่อตัวลงก็มิได้ ดุจบุทคลเอาเหลกมาเสียบไว้ มีความเวทนาเปนกำลัง ..."
กษัยดาน น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดที่ยอดอก ทำให้กล้ามเนื้อตั้งแต่ยอดอกถึงหน้าท้องแข็งมาก ผู้ป่วยมีอาการปวด จุกเสียดแน่น กินข้าวไม่ได้ ถ้าลามลงถึงท้องน้อยทำให้ปวดอยู่ตลอดเวลา ถูกความเย็นไม่ได้ แต่ถ้าลามลงไปถึงหัวหน่าวจะรักษาไม่ได้ ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๓๔-๓๕] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือกระไสยดานอันเปนเคารบ ๑๒ ตั้งอยู่ยอดอกแขงดังแผ่นสินลา ถ้าตั้งลามลงไปถึงท้องน้อยแล้วเมื่อใด กระทำให้ร้องครางอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน ถูกเยนเข้ามิได้ ถ้าถูกร้อนค่อยสงบลงน่อยหนึ่ง แล้วกลับปวดมาเล่ากระทำให้จุกเสียดแน่นน่าอก บริโภคอาหารมิได้ ถ้าลามลงไปถึงหัวเหน่าแล้วเมื่อใด เปนอิติสยะโรค แทพย์จะรักษามิได้เลย ถ้าจะรักษารักษาแต่ยังมิลงหัวเหน่าดุจกล่าวไว้ดังนี้ ..."
กษัยเต่า น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากเสมหะจับตัวเป็นก้อนแข็งเท่าฟองไข่เป็ดที่ชายโครงข้างซ้ายหรือขวา ผู้ป่วยมีอาการแน่นจุกที่ยอดอก มีไข้ ร่างกายซูบผอม ตัวเหลือง นานเข้าทำให้อุจจาระปัสสาวะเป็นเลือด รักษาไม่ได้ ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๓๒-๓๓] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือกระไสยเต่านั้นเปนคำรบ ๑๑ เกิดเพื่อดานเสมหะตั้งชายโครงซ้าย ชายโครงขวาก็มี เท่าฟองเปด แล้วลามขึ้นมาจุกอยู่ยอดอก กระทำให้จับทุกเวลาน้ำขึ้น ให้กายซูบผอมผิวเนื้อเหลืองดังทาขมิ้น ครั้งแก่เข้าให้โลหิตตกทวารหนัก ทวารเบา โทษทั้งนี้ คือตัวกระไสยแตกออกเปนอะสาทิยโรค ..."
กษัยเถา น. กษัยกล่อนชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของลมสันฑฆาตและลมปัตฑาต ซึ่งทำให้เสนพองและแข็งอยู่บริเวณหัวหน่าวไปจนถึงหลัง ผู้ชายจะเกิดทางด้านขวา ส่วนผู้หญิงจะเกิดทางด้านซ้าย รักษายาก ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บปวดในทรวงอก และปวดเสียวจนถึงบริเวณต้นคอ ปัสสาวะเป้นเลือด เป็นต้น ดังคัมภีร์กระษัย [๑๗/๗๓๖] ตอนหนึ่งว่า "... อันว่าไกษยเถานั้น มันเกิดเพื่อลมสันทฆาฏ แลลมปัตฆาฏ มันแล่นเข้าไปในลำเส้นนั้น มันให้เส้นพองแขงขวางอยู่หัวเหน่ามาประจบเกลี้ยวข้าง ถ้าผู้ชายมันขึ้นข้างขวา ถ้าผู้หญิงมันขึ้นข้างซ้าย มันเสียดตามชายโครงถึงยอดอก มันก็ให้ปวดขบเอาในอกตลอดเสียวถึงลำคอ ลางทีมันมักให้อาเจียรน้ำลาย ถ้ามันรากออกมาที่ปวดขบนั้น มันก็ค่อยสงบลงหน่อย ก็ทำเพศอาการประดุจฝีปลวก ฝีมะเร็งทรวง ผิดกันที่เป็นน้ำมูตร ถ้าเปนไกษยน้ำมูตรแดง แต่ว่าติดอยู่ข้างจะเหลืองสักหน่อย ถ้าเอาถ้วยรองไว้ ดูเมื่อมันนอนลง อยู่ที่ก้นถ้วยนั้น ดังปูนกินหมากแลถ้าเปนฝีสีมันดำแลโรคอันนี้มันเปนเพราะกินของคาวของหวานนักจึงเปน แต่เปน ๆ  หาย ๆ  ไปประมาณ ๑๒ ปี ๑๓ ปี แล้วกันก็กลายเป็นมานไกษย รักษาไม่ได้ ถ้าจะแก้ท่านให้แก้เมื่อมันยังอ่อนอยู่นั้น ..."
กษัยท้น น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง อาการของโรคจะเกิดเมื่อกินอาหารเข้าไป ทำให้จุกแน่นบริเวณหน้าอกและชายโครง อาเจียน หายใจไม่สะดวก ถ้าเป็นมากจะรู้สึกแน่นตั้งแต่ท้องน้อยขึ้นไป กินข้าวไม่ได้ ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๓๙] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรค อันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือกระไสยท้นนั้นเปนเคารบ ๑๓ เกิดเพื่ออาหารที่บริโภค เมื่อท้องเปล่าอยู่นั้น ยังมิได้บริโภคอาหารเข้าไปก็สงบเปนปรกติดีอยู่ ครั้นบริโภคอาหารเข้าไปได้มากแลน้อยก็ดี จึ่งกระทำให้ท้นขึ้นมายอดอก บางทีให้อาเจียน ให้อวก บางทีให้แน่นหน้าอกแลายโครง ให้หายใจไม่ตลอดท้องดังประหนึ่งจะสิ้นใจตาย แล้วกระทำให้แน่นขึ้นมาแต่ท้องน้อย ชักเอาเภาะเข้าแขวนขึ้นไปไว้จะบริโภคอาหาร ก็มิได้ดุจดังกล่าวมา ..."
กษัยน้ำ น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง ทำให้โลหิตน้ำเหลือง และเสมหะในร่างกาย อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง ๓ อย่างผิดปรกติ ผู้ป่วยมีอาการปวดขบถึงยอดอก แล้วลามขึ้นไปเหมือนเป็นฝีมะเร็งทรวงและฝีปลวก ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๔๔] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดเปนอุปาติกะ คือกระไสยน้ำนั้นเปนเคารบ ๑๖ เกิดเพื่อโลหิต เพื่อน้ำเหลือง เพื่อเสมหะ ทั้ง ๓ นี้ เปนประการใดประการหนึ่งก็ดี เปนทั้ง ๓ ประการนั้นก็ดี เรียกว่ากระสไยโลหิตให้เปนเหตุ ถ้าสัตรีตั้งใต้สะดือ ๓ นิ้ว แจ้งอยู่ในคำภีร์มหาโชตรัต โน้นแล้ว ถ้าบุรุษย์ตั้งเหนือสะดือ ๓ นิ้ว แจ้งอยู่ในคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกาโน้นแล้ว ในทีนี้จะกล่าวแต่กระไสย อย่างเดียว ถ้าบังเกิดขึ้นแต่ผูู้ใด กระทำให้ปวดขบถึงยอดอกดังจะขาดใจ แล้วตั้งลามขึ้นไปดังฝีมะเรงทรวงแลฝีปลวกดังนี้ ..."
กษัยปลวก น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากลมในเส้นสันฑฆาต ทำให้มีอาการปวดที่ทรวงอก เป็น ๆ  หาย ๆ  เรื้อรัง นานเข้าจะทำให้ร่างกายผอมแห้ง ผิวซีด ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๒๙] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือ กระไสยปลวกนั้นเปนเคารบ ๙ เกิดเพื่อสันทฆาฏ กระทำให้ปวดขบเอา ทรวงอกดังจะขาดใจตาย เปนแล้วหายไปเดือน ๑ เดือน ๒ เดือน ๓ เดือน จึ่งกลับเปนมาเล่า แต่เปนเช่นนี้หลายครั้งหลายหน ครั้นแก่เข้าทำให้ผิวเนื้อนั้นซีดแลเผือดผอมแห้งลง มิทันรู้ก็ว่าฝีปลวก ผิดกันแต่ที่มีบุบโพแลหาบุบโพมิได้ ถ้าฝีปลวกมีบุบโพ ถ้ากระไสยหาบุบโพมิได้ ลักษณดังนี้แพทย์พึงพิจารณาจงละเอียดเถิด ..."
กษัยปลาดุก น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดนหึ่ง เกิดจากโลหิตและน้ำเหลือง เกิดที่กระเพาะอาหารหรือมดลูก ผู้ป่วยมีอาการท้องโตคล้ายสตรีมีครรภ์ ๗-๘ เดือน ถ้าข้างขึนจะเจ็บหน้าอกมากจนแตะต้องไม่ได้ หอบสะอึก ถ้าข้างแรมจะเจ็บที่ท้องน้อยและหัวหน่าว อาจลามไปที่กระดูกสันหลังและต้นขาทั้ง ๒ ข้าง ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๒๗-๒๘] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอปาติกะ คือ กระไสยปลาดุกนั้นเปนเคารบ ๘ เกิดเพื่อโลหิตแลน้ำเหลืองระคนกันมีจิตรวิญญาณดุจดังปลาดุกเกิดขึ้นในเภาะเข้า ถ้าสัตรีจับเอามดลูก มีสันถานดังแม่หญิงทรงครรภ์ได้ ๗ เดือน ๘ เดือน บางทีแทงไปซ้ายไปขวา ถ้าข้างขึ้นยันไปเอายอดอก ให้เจบอกต้องลงมิได้ บางทีให้หอให้สอึก ถ้าข้างแรมเลื่อนลงมาอยู่ท้องน้อยแลหัวเหน่า บางทีค่ำลงไปกระดูก สันหลังตึงลงไปต้นขาทั้งสอง มิทันรู้ก็ว่ามีครรภ์ ..."
กษัยปลาหมอ น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดในลำไส้ท้องน้อย หากเป็นตอนข้างขึ้นผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่ตับ ม้าม ทำให้จุกแน่น หากเป็นข้างแรมผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อย และหัวหน่าว ปัสสาวะขัด อุจจาระขัด ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๒๖] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรค อันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือ กระไสยปลาหมอนั้นเปนเคารบ ๗ มีจิตรวิญญาณเกิดขึ้นในลำไส้ ถ้าข้างขึ้น ตัวกระไสยบ่ายศีศะขึ้นมากัดเอาชายตับ ชายม้าม แลปวดกระทำให้จุก ให้แดก ถ้าข้างแรม ตัวกระไสยบายศีศะลงไปท้องน้อยแลหัวเหน่า กระทำให้ขัดอุจาระ ขัดอสาวะ แลให้ผู้นั้นเจบปวดมีความเวทนาเปนกำลัง ให้ปวดร้องครางอยู่ดังจะขาดใจตาย ..."
กษัยปลาไหล น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง อุจจาระขัด ปัสสาวะขัด ปัสสาวะมีสีเหลืองหรือสีแดง ถ้ากินอาหารเข้าไปอาการปวดจะทุเลา แต่ถ้าไม่กินอาหารจะปวดท้องมากบริเวณชายตับและม้าม บางครั้งทำให้มีอาการเมื่อยขบตามข้อกระดูก เป็นต้น ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๒๔] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรค อันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือกระไสยปลาไหลนั้นเปนเคารบ ๖ ครั้นแก่เข้าจึ่งกระทำโทษ เอาหางนั้นชอนลงไปแทงเอาหัวหน่าว แลทวารหนัก ทวารเบา แล้วให้ขัดอุจาระ ขัดปะสาวะ ให้ปะสาวะเหลืองดังขมิ้น บางทีแดงดังน้ำฝางต้ม น้ำดอกคำ แลตัวกระไสยนั้นพันขึ้นไปตามลำไส้ศีศะหยั่งขึ้นไปถึงชายตับแลเภาะเข้า ถ้าบริโภคอาหารลงไปเมื่อใด ตัวกระไสยนั้นก็รับเอาอาหารทุกเวลา ถ้ามิได้บริโภคอาหารลงไป ตัวกระไสยนั้นก็กัดเอาชายตับ ชายม้าม เจบปวดยิ่งนัก บางทีให้เมื่อยขบทุกข้อกระดูก บางทีให้ขนชูชันดุจไข้จับดังกล่าวมานี้ ..."
กษัยปู น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากโลหิตจับเป็นก้อน ลักษณะคล้ายปูทะเล เกาะอยู่ในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยมีอาการปวดขบบริเวณท้องและท้องน้อยอย่างรุนแรงเมื่อท้องว่าง เมื่อกินอาหารเข้าไป อาการปวดจะดีขึ้น ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๒๐] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเป็นอุปาติกะ คือกระไสยปูนั้นเปนเคารบ ๔ เกิดเพื่อโลหิตคุมกัน มีสันถานดังปูทเลเข้ากินอยู่ในเภาะเข้ากระทำให้ปวดขบท้องน้อยเปนกำลัง บริโภคอาหารซาบลงไปเมื่อใดค่อยสงบลง ครั้นสิ้นอาหารแล้ว กระทำให้พัดอยู่ดุจดังกงเกวียน ลั่นอยู่ตามลำไส้เจบดังจะขาดใจตาย ..."
กษัยเพลิง น. กษัยชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของธาตุไฟ ๓ ประการ ได้แก่ ชิรณัคคี สันตัปปัคคี และปริทัยหัคคี ผู้ป่วยมักมีข้ในเวลาบ่าย ตาแดง ใบหน้า ท้อง และเท้าบวม ตัวเย็นแต่รู้สึกร้อนภายใน จุกแน่นและเจ็บยอดอก เสียดสีข้าง ขยับตัวไม่ได้ ปวดขบมาก เมื่อกินอาหารเข้าไปทำให้ท้องอืด เป็นต้น ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๔๒-๔๓] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรค อันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือกระไสยเพลิง นั้นเปนเคารบ ๑๕ เกิดเพื่อเตโชธาตุ ๓ ประการคือ อสิตาชิวะชาอรรคี สันตะปักคี ปริไทหัคคี ทั้ง ๓ นี้ ให้เปนเหตุ กระทำให้จับแต่เวลาบ่ายให้จุกษุแดง ให้เจบอยู่ยอดอก มักเป็นฝีมะเรงทรวง ให้บวมหน้าให้บวมท้องให้บวมเท้า ให้ตัวเยนแต่ร้อนในดังเพลิงเผาตั้งเหนือสะดือ ๓ นิ้ว ให้จุกให้แดกในอกให้เสียดสีข้าง จะไหวตัวก็มิได้ดุจปัตฆาฏ ปวดขบเปนกำลัง บริโภคอาหารเข้าไปให้พะอืดพะอมให้ท้องขึ้นแลมิได้เรอมิได้ผายลม ให้แน่นบริโภคอาหารมิได้ ให้เสโทตกทุกเส้นขน ..."
กษัยราก น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากลมในท้อง ผู้ป่วยมีอาการท้องอืด ตึงแน่นไปทั้งร่างกาย มีเสียงลั่นในท้อง อาเจียนลมเปล่า ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๑๗] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือกระไสยรากนั้นเปนเคารบ ๒ บังเกิดเพื่อลมร้อง ให้อาเจียนลมเปล่า แลให้ลั่นอยู่ในอุทรดังจ้อจ้อ แล้วให้ตึงไปทั้งกาย ดุจบุกคลเอาเชือกมารัดไว้ ให้ผู้นันร้องครางอยู่ทั้งกลางวัน กลางคืน มิได้ขาด ดังจะกลัดใจตาย ..."
กษัยล้น น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง ตำราการแพทย์แผนไทยว่า เกิดจากน้ำเหลือง ผู้ป่วยจะมีลมปั่นป่วนอยู่ในท้อง หากเป็นตอนข้างขึ้นจะมีอาการจุกเสียดในอก หากเป็นข้างแรมจะมีอาการปวดถ่วงอย่างรุนแรงบริเวณหัวหน่าว เป็นต้น ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๑๖] ตอนหนึ่งว่า "... อันว่ากระไสยล้นนั้นเกิดเพื่อน้ำเหลือง โดยกำลังวาโยพัดให้เปนฟองแลน้ำ กระทำให้ในอุทรนั้นลั่นขึ้น ลั่นลง ถ้าข้างขึ้นให้แดกอก ถ้าข้างแรมให้ถ่วงเหน่าดังจะขาดใจตายดังนี้ ฯ ..."
กษัยลม น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากลมในร่างกายผิดปรกติ ลมทั่วร่างกายมารวมกันที่เหนือสะดือ ผู้ป่วยมีอาการจุกเสียด แน่นหน้าอกมาก หายใจขัด กินอาหารไม่ได้ เสียวแปลบทั่วร่างกาย คล้ายถูกเข็มแทง ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๔๘] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรค อันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือกระไสยลมประมวนนั้นเปนเคารบ ๑๘ เกิดเพื่ออังคาระวาต ประมวนกันเข้าตั้งเหนือสะดือเท่าผลมะเดื่อ กระทำให้จุกเสียดให้แน่นน่าอกเปนกำลัง แล้วกระทำให้ายใจขัดแลหายใจสอื้น ให้บริโภคอาหารมิได้ ให้เสียวแปลบปลาบไปทุกเส้นข้น ดังบุทคลเอาเมมาแทงลงทั่วทั้งกายดังนี้ ..." ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ได้แบงสาเหตุและอาการของโรคออกเป็น ๖ ประการ ได้แก่
๑) ลมในลำไส้จับเป็นก้อนแข็ง ทำให้จุกแน่นในอก
๒) ลมนอกลำไส้จับเป็นก้อนแข็ง แล่นเข้าในกระดูก ทำให้เมื่อยในกระดูกไปทั่วทั้งกาย
๓) ลมทั่วทั้งร่างกายเริ่มต้นที่สะดือจับเป็นก้อนกลมขนาดเท่าผลมะเดื่อ ทำให้มีอาการจุก แน่นในอก
๔) ลมอุทรวาต เริ่มที่ปลายเท้า ขึ้นมาถึงศีรษะแล้ววนเข้าไปที่อก และลำไส้ ทำให้เกิดเม็ดขึ้นในลำไส้ลักษณะเป็นฝีรวงผึ้ง
๕) ลมจับตัวกันวิ่งจากปลายเท้าตลอดถึงกระหม่อม แต่พัดไม่ตลอด สะดุดหยุดเป็นที่ ๆ  ขึ้นมาถึงจุดใด ที่ใด ก็เจ็บปวดเพียงจุดนั้น
๖) ลมตามจุดทั้ง ๔ แห่ง คือ ใต้สะดือ เหนือสะดือ ด้านขวา และด้านซ้ายของสะดือ สุดแต่จะตั้งขึ้นที่ใด ลักษณะเป็นฝี คล้ายฝีหัวด้วน ทำให้มีอาการจุกเสียด แน่นหน้าอก หายใจขัด กินอาหารไม่ได้ แสบตามผิวกายไปทั่วทุกขุมขน
ดังคัมภีร์กระษัย [๑๗/๗๔๑] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวไกษยจำพวกหนึ่ง เกิดเพื่อลม ๖ จำพวก จำพวกหนึ่งเกิดเพื่อลมในไส้ มันก็ให้เปนนดานกลมเข้าประมาณเท่าลูกในตาล เมื่อมันแก่เข้ามันให้แข็งไปทั้ง ๒ ข้าง แล้วมันให้จุกเสียดแน่นในอก ... ไกษยลมจำพวกหนึ่ง มันเกิดเพื่อนอกไส้แล้วมันแล่นเข้าในกระดูก มันให้เมื่อยทุกกระดูกดังจะแตกจากกัน ... ไกษยลมจำพวกหนึ่งบังเกิดเพื่อลมทั้งกาย แลลมอันนั้นมันก็ประมวญกันเข้า ตั้งอยู่เหนือสดือเท่าลูกมะเดื่อ มันให้จุกเสียดแน่นอกเป็นกำลัง ... ไกษยเกิดเพราะลมอุทรวาตนั้น มันเกิดขึ้นมาแต่ปลายเท้าขึ้นมาถึงสีสะ เมื่อจะเปนเหตุแก่บุทคลผู้นั้น แลลมนั้นมันพัดอยู่แต่เพียงยอดอก มันก็แล่นเข้าในลำไส้ มันก็ให้เปนเม็ดขึ้นในลำไส้ และมันก็ให้เปนฝีรวงผึ้ง มันก็ให้เจ็บปวดพ้นประมาณ ... ไกษยมันเกิดเพื่อลม มันพัดแต่ปลายตลอดถึงกระหม่อมนั้น ลมอันนี้มันพัดไม่ตลอด ตันอยู่เพียงไหนมันให้เจ็บอยู่เพียงนั้นแล ชื่อว่าไกษยลมมันตั้ง ๔ สฐาน ที่ใต้สดือนั้นแห่ง ๑ เหนือสดือนั้นแห่ง ๑ ที่ริมสดือซ้ายขวาตามมันจะตั้งขึ้นแห่งใดแห่งหนึ่ง ๑ ประดุจฝีหัวด้วนนั้น ..."
กษัยลิ้นกระบืด น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากโลหิตจับตัวเป็นลิ่มติดอยู่ที่ขอบตับด้านล่างทำให้ตับแข็งยื่นเลยชายโครงออกมาเหมือนลิ้นกระบือ ผู้ป่วยมีอาการจับไข้เป็นเวลา จุกแน่นในอก กินอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ ร่างกายผอมแห้ง นานเข้าจะมีเลือดและน้ำเหลืองในช่องท้อง ทำให้ท้องโต เรียกว่า มานกษัย ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๓๑] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือ กระไสยลิ้นกระบือนั้นเปนเคารบ ๑๐ บังเกิดเพื่อโลหิต ลิ่มติดอยู่ชายตับเปนตัวแขง ยาวออกมาจากชายโครงข้างขวา มีสันถานดังลิ้นกระบือ กระทำให้ครั่นตัว ให้ร้อนให้จับเปนเวลา ให้จุกให้แน่นอกใหบริโภคอาหารมิได้ ให้นอนมิหลับอยู่เปนนิจ ให้กายนั้นซูบผอมแห้งไป ครั้งแก่เข้าตัวกระไสยแตกออก เปนโลหิตแลน้ำเหลืองให้ซึมไปในไส้ใหญ่ ไส้น้อย ทำให้ไส้พองท้องใหญ่ ดังกล่าวมานี้ จึ่งได้ชื่อว่ามารกระไสย เปนอะสาทิยโรค แพทย์จะเยียวยายากนัก ถ้าแก่แล้วตัวกระไสยแตกออกแก้มิได้เลย ถ้าจะแก้ให้แก้แต่ยังอ่อน ๆ อยู่นั้น บางทีได้บ้างเสียบ้าง ..."
กษัยเลือด, กษัยโลหิต   ดูกษัยกล่อนน้ำ
กษัยเสียด น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากลมตะคริวขึ้นมาจากหัวแม่เท้า ผู้ป่วยมีอาการปวดขบสะดุ้งทั้งตัว เสียดตามชายโครง เป็นต้น ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๔๑] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือกระไสยเสียด  นั้นเปนนเคารบ ๑๔ เกิดเพื่อลมสะคริวขึ้นมาแต่แม่เท้า ขึ้นตามลำเส้นสะคริว กระทำให้ปวดขบสดุ้งทั้งตัว แล้วขึ้นเสียดเอาชายโครงทั้งสองร้องดังจะขาดใจ บางทีให้ขบไปทั่วทั้งตัว แพทย์จะรักหษาให้นวดเสียก่อน ให้คลายแล้วจึ่งแต่งยาให้กินต่อไปดุจดังกล่าวไว้นี้ ..."
กษัยเหล็ก น. กษัยอันเกิดจากอุปปาติกะโรคชนิดหนึ่ง เกิดจากลมอัดแน่นแข็งเป็นดานอยู่ในท้องน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวด ท้องแข็งลามขึ้นไปถึงยอดอก กินอาหารไม่ได้ เป็นต้น ดังคัมภีร์กระษัย [๑/๑๙] ตอนหนึ่งว่า "... จะกล่าวลักษณกระไสยโรคอันบังเกิดขึ้นเปนอุปาติกะ คือ กระไสยเหลกนั้นเปนเคารบ ๓ มีประเภทกระทำให้ปวดหัวหน่าว แลท้องน้อย นั้นแขงดุจดังแผ่นสิลา แลจะไหวตัวไปมาก็มิได้ ครั้นแก่เข้าแขงลาม ขึ้นไปถึงยอดอกแล้วให้บริโภคอาหารมิได้ ให้ปวดขบ ดังจะขาดใจตายดังนี้ ..."
กอก ก. เอาเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกาย หรือดูดเอาน้ำนมออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด
กอง สมุหนามและลักษณนามที่ใช้กับธาตุ สมุฏฐาน หรือโรค เช่น กองปถวีธาตุ กองหทัย กองปิตตะ กองโรค กองไข้ไฟ ๔ กอง ลม ๖ กอง ฯลฯ
กะกลิ้ง ดู โฏฐกะกลิ้ง
กะบังลมพลัด, กะบังลมหย่อน   ดูใน มดลูกเคลื่อน
กะเพาะเข้า ดู กระเพาะข้าว
กะเพาะน้ำ ดู กระเพาะน้ำ
กะเภาะข้าว, กะเภาะเข้า   ดู กระเพาะข้าว
กะเภาะน้ำ ดู กระเพาะน้ำ
กะระ น. ตานจรชนิดหนึ่ง เกิดจากพยาธิ ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสีย อุจจาระสีซีดขาว ซึ่งถ้าได้รับการรักษาทันท่วงทีก็จะหายไป ถ้าไม่หายจะมีผื่นขึ้นเหมือนผดขึ้นทั้งตัว ท้องโต จุกเสียดแน่น ปวดท้อง ซีด ในผู้ป่วยบางคนอาจพบตัวพยาธิไต่ออกมาตามทวารหนักหรือคอหากเป็นมากอาจถึงตายได้ ดังคัมภีร์ประถมจินดา [๒/๗๐] ตอนหนึ่งว่า "... อันว่าลักขณตานจรจำพวกหนึ่ง ชื่อกะระ มีโทษให้ลงท้อง อุจาระนั้นฃาวดุจดังดินสีพอง ครั้นวางยาถูกแล้วก็หยุดไป จึ่งให้พรึงขึ้นทั้งตัวดังยอดผด แล้วให้ตาฟาง แลให้ตาเปนเกลดกระดี่ มักให้กินเกลือกินกปิ อันว่าไส้เดือนจำพวกนี้บังเกิดขึ้นเปนอุปปาติกะ ครู่เดียวยามเดียวก็เตมมไส้ ได้ร้อยตัวพันตัวจึ่งให้ไส้พอง ท้องใหญ่ขึ้นคับอก ใจ อึดอัดอยู่ประมาณ ๗ วัน ตัวมันแก่ขึ้นก็คลานออกทวารหนัก เบา ก็มี ออกทางคอก็มี กระทำให้รากให้จุกเสียด แลขบเอาท้องดังจะขาดใจตาย ..." ดู ตานจร ประกอบ
กะละละ ดู กลละ
กัณห์ประเทศ น. สถานที่ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นน้ำจืด น้ำเค็ม และเป็นเปือกตม ตำราการแพทย์แผนไทยว่า มักเป็นที่เกิดของโรคอันเกิดจากเสมหะและลม ดู ประเทศสมุฏฐาน ประกอบ
กานพลู น. ๑. เครื่องยาที่เป็นดอกตูมแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium aromaticum (L.) Merr. et L.M.Perry ในวงศ์ Myrtaceae เครื่องยานี้มีชื่อสามัญว่า clove ตำราสรรพคุณยาไทยว่า กานพลูมีรสเผ็ดร้อนปร่า สรรพคุณกระจายเสมหะ แก้เสมหะเหนียว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้หืด ทำให้อาหารงวด แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปวดท้อง แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษโลหิต พิษน้ำเหลือง ขับน้ำคาวปลา ทำอุจจาระให้ปรกติ แก้ธาตุทั้ง ๔ พิการ แก้ท้องเสีย กดลมให้ลงสู่เบื้องต่ำ, กรานพูล กรามพูล กรานพลู หรือกรามพลู ก็เรียก
๒. พืชที่่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium aromaticum (L.) Merr. et L.M.Perry ในวงศ์ Myrtaceae เรือนยอดเป็นกรวยคว่ำใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรีแคบ หรือรูปไข่ กลับแคบ ๆ  มีต่อมน้ำมันมาก ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่นออกที่ปลายยอด ผลรูปไข่กลับแกมรี แก่จัดสีแดง
กายโรโค [กายะโรโค] น. กลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นที่ตัวเรียกตามสมุฏฐานเบญจอินทรีย์ แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พหิทโรโค (พาหิรโรโค) เป็นกลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นภายนอก เช่น เกลื้อน บาดแผล และอันตโรโค เป็นกลุ่มโรคหรืออาการซึ่งเกิดขึ้นภายใน เช่น ฝีในท้อง ริดสีดวงมหากาฬ (มาจากคำ กาย แปลว่า ตัว และ โรโค แปลว่า โรค)
การบูร น. ๑. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นผลึกเล็ก ๆ  ใส โปร่งแสงหรือสีขาว เมื่อทิ้งไว้บางส่วนอาจจับเป็นก้อน มีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว มีรสขมเล็กน้อย ร้อนปร่า แล้วตามด้วยความรู้สึกเย็น อาจได้จากแก่นของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cinnamomum camphora (L.) J.Presl ในวงศ์ Lauraceae แต่ปัจจุบันมักได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี โดยเริ่มต้นจากสายแอลฟา-ไพนีน (a-Pinene) ในน้ำมันสน (turpentine oil) ได้เป็นการบูร (dl-camphor) ซึ่งเป็นสารผสมแรซีมิก (racemic mixture) เครื่องยานี้มีชื่อสามัญว่า camphor ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีสรรพคุณบำรุงธาตุ ทำให้อาหารงวด ขับลม ขับเสมหะ แก้ธาตุพิการ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ กระจายลมทั้งปวด แก้คัน แก้ปวดตามเส้น แก้เคล็ดขัดยอก บวม แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้พิษแมลงกัดต่อย กระตุ้นหัวใจ แก้อาการหน้ามืด
๒. พืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cinnamomum camphora (L.) J.Presl ในวงศ์ Lauraceae เป็นไม้ต้น ชื่อสามัญว่า camphor tree หรือ Japanese camphor tree ทุกส่วนมีกลิ่นหอม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รากและโคนต้นจะมีกลิ่นหอมมากกว่าส่วนอื่น ๆ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กว้าง หรือรูปรี ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ  ผลแบบผลผนังชั้นในแข็ง ค่อนข้างกลม สีเขียวเข้ม ผลสุกสีดำ มี ๑ เมล็ด
กาล [กาน, กาละ-] น. เวลา คราว ครั้ง หน ในทางการแพทย์แผนไทย เวลาเป็นที่ตั้งหรือที่แรกเกิดของโรค ดังคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย [๑๔/๓๖๑] ตอนหนึ่งว่า "... อนึ่ง อันว่าเสมหะกำเริบนั้น ในกาลเมื่อเช้าก็ดี เมื่อบริโภคอาหารแล้วก็ดี ในเมื่อพลบค่ำก็ดี เป็นกระทรวงกาลสมุฏฐานเสมหะกระทำ ..."
กาล ๓ น. การกำหนดเวลาในรอบ ๑ วัน เป็นเวลากลางวัน ๓ ช่วง และเวลากลางคืน ๓ ช่วง ช่วงละ ๔ ชั่วโมง
โดยเวลากลางวันแบ่งเป็น
ช่วงที่ ๑ นับตั้งแต่เวลาย่ำรุ่ง (๐๖.๐๐ น.) ถึง ๔ โมงเช้า (๑๐.๐๐ น.)
ช่วงที่ ๒ นับตั้งแต่เวลา ๔ โมงเข้า (๑๐.๐๐ น.) ถึงบ่าย ๒ โมง (๑๔.๐๐ น.)
และช่วงที่ ๓ นับตั้งแต่เวลาบ่าย ๒ โมง (๑๔.๐๐ น.) ถึงย่ำค่ำ (๑๘.๐๐ น.)
ส่วนเวลากลางคืนแบ่งเป็น
ช่วงที่ ๑ นับตั้งแต่เวลาย่ำค่ำ (๑๘.๐๐ น.) ถึง ๔ ทุ่ม (๒๒.๐๐ น.)
ช่วงที่ ๒ นับตั้งแต่เวลา ๔ ทุ่ม (๒๒.๐๐ น.) ถึงตี ๒ (๐๒.๐๐ น.)
และช่วงที่ ๓ นับตั้งแต่เวลาตี ๒ (๐๒.๐๐ น.) ถึงย่ำรุ่ง (๐๖.๐๐ น.)
แต่ละช่วงเวลาเป็นที่ตั้งแห่งการเกิดโรคอันเกิดจากสมุฏฐานต่าง ๆ  เช่น เวลากลางวันช่วงที่ ๑ มักทำให้เกิดความเจ็บป่วยเนื่องจากสมุฏฐานเสมหะ
กาล ๔ น. การกำหนดเวลาในรอบ ๑ วัน เป็นเวลากลางวัน ๔ ช่วง และเวลากลางคืน ๔ ช่วง ช่วงละ ๓ ชั่วโมง
โดยเวลากลางวันแบ่งเป็น
ช่วงที่ ๑ นับตั้งแต่เวลาย่ำรุ่ง (๐๖.๐๐ น.) ถึง ๓ โมงเช้า (๐๙.๐๐ น.)
ช่วงที่ ๒ นับตั้งแต่เวลา ๓ โมงเช้า (๐๙.๐๐ น.) ถึงเที่ยงวัน (๑๒.๐๐ น.)
ช่วงที่ ๓ นับตั้งแต่เวลาเที่ยงวัน (๑๒.๐๐ น.) ถึงบ่าย ๓ โมง (๑๕่.๐๐ น.)
และช่วงที่ ๔ นับตั้งแต่เวลาบ่าย ๓ โมง (๑๕.๐๐ น.) ถึงย่ำค่ำ (๑๘.๐๐ น.)
ส่วนเวลากลางคืนแบ่งเป็น
ช่วงที่ ๑ นับตั้งแต่เวลาย่ำค่ำ (๑๘.๐๐ น.) ถึงยาม ๑ (๒๑.๐๐ น.)
ช่วงที่ ๒ นับตั้งแต่ยาม ๑ (๒๑.๐๐ น.) ถึงยาม ๒ (๒๔.๐๐ น.)
ช่วงที่ ๓ นับตั้งแต่เวลายาม ๒ (๒๔.๐๐ น.) ถึงยาม ๓ (๐๓.๐๐ น.)
และช่วงที่ ๔ นับตั้งแต่ยาม ๓ (๐๓.๐๐ น.) ถึงย่ำรุ่ง (๐๖.๐๐ น.)
แต่ละช่วงเวลาเป็นที่ตั้งแห่งการเกิดโรคอันเกิดจากสมุฏฐานต่าง ๆ  เช่น เวลากลางวันช่วงที่ ๑ มักทำให้เกิดความเจ็บป่วยเนื่องจากสมุฏฐานอาโปพิกัดเสมหะ
กาลตรีโทษ [กานตรีโทด] น. ช่วงเวลาที่กองสมุฏฐานทั้ง ๓ กอง ได้แก่ ปิตตะ วาตะ และเสมหะ ร่วมกันกระทำให้เกิดโทษ
กาลทุวรรณโทษ, กาลทุวันโทษ [กานทุวันโทด] น. ช่วงเวลาที่กองสมุฏฐานปิตตะ วาตะ หรือเสมหะ ๒ ใน ๓ กองสมุฏฐานร่วมกันกระทำให้เกิดโทษ
กาลสมุฏฐาน [กานสะหมุดถาน, กาละสะหมุดถาน] น. เวลาเป็นที่ตั้งหรือที่แรกเกิดของโรค ตำราการแพทย์แผนไทยแบ่งเวลาในรอบ ๑ วัน เป็น กาลกลางวัน และ กาลกลางคืน ทั้งกาลกลางวันและกาลกลางคืนยังอาจแบ่งย่อยออกเป็น ๓ ช่วง เรียก กาล ๓ หรือ ๔ ช่วง เรียก กาล ๔ ดู กาล ๓, กาล ๔ และ สมุฏฐาน ประกอบ
กาลสุกระโรค [กานสุกะระโรก] น. ริดสีดวงประเภทหนึ่ง เกิดในทวารหนัก ผู้ป่วยจะมีเลือดสด ๆ  หรือมูกปนเลือดเก่า แสบร้อน คัน เมื่อยตามร่างกาย และข้อกระดูก ดังตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม [๔/๒๗๗] ตอนหนึ่งว่า "... ลำดับนีจะกล่าวด้วยนัยหนึ่งใหม่ ว่าด้วยลักษณะหฤศโรค อันชื่อว่ากาลสุกร กล่าวคือโรคริดสีดวง อันบังเกิดขึ้นในทร่วงอุจจาระนั้นเป็นคำรบ ๑๘ มีลักษณะอาการกระทำให้โลหิตสด ๆ  ตกออกมา บางทีเป็นโลหิตช้ำระคนกับเสมหะหุ้มห่อตกออกมาก็มีบ้าง ให้แสบร้อน ให้คันให้เมื่อยทุกข้อกระดูกและสรรพางค์กาย ดุจกล่าวมานี้ฯ ...". สุกระโรคก็เรียก ดู ริดสีดวง ประกอบ
กาลเอกโทษ [กานเอกกะโทด] น. ช่วงเวลาที่กองสมุฏฐานปิตตะ วาตะ หรือเสมหะ กองใดกองหนึ่ง กระทำให้เกิดโทษ
กาลาทิจร, กาลาธิจร น. ยาแผนไทยขนาดนหนึ่ง ใช้แก้เตโชธาตุพิการ มีตัวยา วิธีปรุง วิธีใช้ และสรรพคุณ ดังคัมภีร์ธาตุวิภังค์ [๑/๑๑๖] ตอนหนึ่งว่า "... ถ้าจะแก้เอาโกฎสอ ๑ โกฎพุงปลา ๑ ดีปลี ๑ แห้วหมู ๑ เปลือกมูกมัน ๑ ผลผักชี ๑ อบเชย ๑ สะค้าน ๑ ขิง ๑ ผลเอน ๑ ลำพัน ๑ ยาทั้งนี้เสมอภาคตำผงละลายน้ำร้อน น้ำผึ้งก็ได้ กินแก้เตโชธาตจุพิการ ยานี้ชื่อกาลาทิจร แล ..."
กาโลทุก, กาโลทุกข์ ดูใน แม่ซื้อ
กำด้น น. ท้ายทอย ส่วนที่คอกับศีรษะต่อกัน
กำเดา ดูใน สมุฏฐานปิตตะ
กำมะถันเขียว ดู จุนสี
กำยาน น. เครื่องยาจำพวกชันน้ำมันชนิดหนึ่ง ได้จากการกรีดเปลือกต้นของพืชสกุล Styrax วงศ์ Styracaceae บางชนิด เช่น ชนิด S. tonkinessis (Pierre) Craib ex Hartwick เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีชื่อสามัญว่า benzoin กกำยานคุณภาพดีมีสีขาว ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีรสฝาดหอม สรรพคุณบำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ สมานแผล เป็นต้น
กำยานญวน ดู กำยานหลวงพระบาง
กำยานสุมาตรา น. กำยานที่ได้จากพืช ๒ ชนิด คือ Styrax benzoin Dryander หรือชนิด S. paralleroneurus Perkins พืชนี้พบใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย กำยานสุมาตรามีชื่อสามัญทางการค้าว่า Sumatra benzoin ดู กำยาน ประกอบ
กำยานหลวงพระบาง น. กำยานที่ได้จากพืชชนิด Styrax tonkinensis (Pierre) Craib ex Hartwick พืชชนิดนี้ไม่พบในประเทศไทย แต่พบและปลูกมากบริเวณรอบอ่าวตังเกี๋ย กำยานหลวงพระบางเป็นกำยานชนิดดีที่สุด มีชื่อสามัญทางการค้าว่า Siam benzoin (เนื่องจากในอดีตเป็นผลผลิตที่ส่งออกสู่ตลาดโลกจากสยามประเทศ), กำยานญวน ก็เรียก ดู กำยาน ประกอบ
กิมิชาติ น. หนอน หมู่หนอน พยาธิ
กิโลมกัง [กิโลมะกัง] น. พังผืด เป็นองค์ประกอบ ๑ ใน ๒๐ สิ่งของธาตุดิน
กุจฉิสยาวาตา [กุดฉิสะยาวาตา] น. ลมพัดในท้องแต่พัดนอกลำไส้ เป็นองค์ประกอบ ๑ ใน ๖ ชนิดของธาตุลม
เกลือตัวผู้ น. เครื่องยาธาตุวัตถุชนิดหนึ่ง เป็นเกลือทะเลที่มีลักษณะเป็นเม็ดโตและยาว ในทางเคมีเป็นโซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride, NaCl) มีรสเค็ม ตำราสรรพคุณยาไทยว่า บำรุงธาตุทั้งสี่ แก้ดีพิการ แก้โรคท้องมาน แพทย์แผนไทยใช้แทรกยา ใช้กรีดฝีเย็บเพื่อช่วยทำคลอด
เกลือตัวเมีย น. เครื่องยาวัตถุชนิดหนึ่ง เป็นเกลือทะเลที่เป็นเม็ดขนาดเล็ก กลม และป้อม ในทางเคมีเป็นโซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride, NaCl) มีรสเค็ม ตำราสรรพคุณยาไทยว่า บำรุงธาตุทั้งสี่ แก้ดีพิการ แก้โรคท้องมาน แพทย์แผนไทยอาจใช้แทรกยาแทนเกลือตัวผู้ โดยทั่วไปใช้ปรุงอาหาร
เกลือทั้งสอง น. จุลพิกัดประเภทต่างเพศพวกหนึ่ง ประกอบด้วยเกลือตัวผู้และเกลือตัวเมียในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก
เกศา น. ผม เป็นองค์ประกอบ ๑ ใน ๒๐ สิ่งของธาตุดิน
โกฎิ, โกฏ, โกฏฐ์ ดู โกฐ
โกฏฐาสยาวาตา [โกดถาสะยาวาตา] น. ลมพัดในลำไส้และกระเพาะอาหาร เป็นองค์ประกอบ ๑ ใน ๖ ชนิดของธาตุลม
โกฏวิเสศ ดู โกฐพิเศษ
โกฐ น. ๑ เครื่องยาพวกหนึ่ง มักเป็นของที่มาจากต่างประเทศ ใช้ในปริมาณน้อย แต่มีสรรพคุณสูง เช่น โกฐเชียง โกฐสอ โกฐหัวบัว โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา
๒ พิกัดยาประเภทหนึ่ง แพทย์แผนไทยแบ่งพิกัดโกฐออกเป็น ๔ พวก คือ โกฐทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๗ โกฐทั้ง ๙ และโฏฐพิเศษ มีสรรพคุณโดยรวมสำหรับแก้ไข้ แก้หืด แก้ไอ ทำให้หัวใจชุ่มชื่น กระจายลม แก้เสียดแทงสองราวข้าง แก้ลมในกองธาตุ, เขียนว่า โกฎิ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี [มาจาก Kushta ในภาษาทิบบี ซึ่งเป็นภาษาถิ่นในเปอร์เซีย แปลว่า ฆ่า (โรค) ปราบ (โรค) หรือกำจัด (โรค)]
โกฐกระดูก น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นรากแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saussurea lappa C.B.Clarke ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีชื่อสามัญทางการค้าว่า aucklandia, costus, kut, kut root, kuth, kuth root หรือ saussurea เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบเดี่ยวเรียงเวียน รูปสามเหลี่ยม ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ ผลแบบผลแห้ง เมล็ดล่อน แบนโค้ง แพปพัส (pappus) สีน้ำตาล ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีรสขม หวาน มัน ระคนกัน รู้แก้เสมหะและลม แก้หืด หอบ แก้ลมในกองเสมหะ บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น บำรุงกระูก (จ. มู่เซียง, บักเฮียง)
โกฐกะกลิ้ง น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นเมล็ดแก่แห้งของต้นแสลงใจ ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strychnos nuxvomica L. ในวงศ์ Strychnaceae มีชื่อสามัญว่า dog button, poison nut,  หรือ quaker button เป็นไม้ต้น ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว ลำต้้นและกิ่งมักคดงอ เปลือกเรียบ สีเทามักมีประสีเหลือง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ดอกสีขาวหรือสีขาวแกมสีเขียวอ่อน ผลกลม เกลี้ยง ผิวหนาและแข็ง ผลสุกสีส้มถึงแดง เมล็ดมีจำนวนมาก รูปกลมแบนคล้ายกระดุม ขอบนอกนูน มีขนสีนวลเหลือบสีเทาปกคลุมหนาแน่นคล้ายกำมะหยี่ ตำราสรรพคุณยาไทยว่าโกฐกะกลิ้งมีรสเมาเบื่อ ขมจัด สรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้ เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย แก้โรคในปากในคอ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษแมงป่อง พิษตะขาบ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้เหน็บชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย จัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐพิเศษ ๓ ชนิด ร่วมกับโกฐกักกราและโกฐน้ำเต้า, เม็ดกะจี้ เม็ดกาจี้ กะกลิ้ง เม็ดตูมกาดง เม็ดแสงเบื่อ เม็ดแสลงใจ เม็ดแสลงเบือ เม็ดแสลงเบื่อ เม็ดแสลงโทน หรือ เม็ดแสลงทม ก็เรียก (จ. หม่าเฉียนจื่อ, แบไจ่จี้, กะจี้ หรือ กาจี้)
โกฐกักกรา น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นปุ่มหูด (gall) ที่เกิดจากใบของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pistachia chinensis Bunge subsp. integerrima (Stewartex) Rech.f. ในวงศ์ Pistachiaceae มีชื่อสามัญทางการค้าว่า Pistachia gall เป็นไม้ต้น ผลัดใบ เปลือกสีเทาเข้มหรือเกือบดำ ใบประกอบแบบขนนอกปลายคี่หรือคู่เรียงเวียน ใบย่อยเรียงตรงข้าม รูปใบหอก ดอกแยกเพศต่างต้น ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบ ดอกเล็ก ไม่มีกลีบดอก ผลแบบผลเมล็ดเดียวแข็ง เมื่อสุกสีส้มแล้วเปลี่ยนเป็นสีม่วง ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีสรรพคุณแก้ลมอันทำให้คลื่นเหียน แก้ดีพิการ แก้ริดสีดวงงอกในทวารทั้ง ๙ จัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐพิเศษ ๓ ชนิด (ร่วมกับโกฐกะกลิ้งและโกฐน้ำเต้า), โกฐกักกะตรา โกฐกักตรา หรือโกฐกัตรา ก็เรียก (อ. crab's claw, ฮ. kakra, ส. kakrasingi, karkatashringi)
โกฐกักกะตรา, โกฐกักตรา, โกฐกัตรา ดู โกฐกักกรา
โกฐก้านพร้าว น. เครื่องยาชนิดนหึ่ง เป็นเหง้าและรากแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Picrorhiza kurrooa Royle et Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae มีชื่อสามัญทางการค้าว่า Katuka เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้ายาว ทอดเลื้อย สีน้ำตาลแกมสีเทา รากอวบ ใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบใกล้โคนต้นรูปช้อนหรือรูปรีแคบออกเป็นกระจุก ช่อดอกแบบช่อกระจะ ก้านช่อดอกโดด ออกที่ปลายต้น รูปกึ่งทรงกระบอก ผลแบบผลแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดทน ตำราสรรพคุณยาไทยว่า ใช้แก้ไข้เรื้อรังและแก้ไข้ที่มีอาการสะอึกร่วมด้วย แก้เสมหะเป็นพิษ จัดอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง ๗ และโกฐทั้ง ๙, โกฐก้านมะพร้าว ก็เรียก (ส. katki, katurohini, kutki, อ. picrorhiza rhizome and root)
โกฐก้านมะพร้าว ดู โกฐก้านพร้วา
โกฐกุสุมภ์ ดู คำฝอย
โกฐขี้แมว น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นรากแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rehmannia glutinosa (Gaertn.) Libosch. ex Fisch. et C.A.Mey ในวงศ์ Scrophulariaceae มีชื่อสามัญทางการค้าว่า Rehmannia root เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ทั้งต้นมีขนอุยทั้งชนิดมีต่อมและไร้ต่อมปกคลุมหนาแน่น รากอวบหนา รูปกระสวย เมื่อสดสีส้ม ใบเดี่ยว ใบที่โคนต้นเรียงเวียนเป็นกระจุก ใบที่อยู่สูงขึ้นไปเรียงเวียนห่าง ๆ  รูปไข่กลับแกมรูปใบหอกถึงรูปรีแคบ ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามซอกใบหรือปลายยอด ด้านนอกสีแดงแกมสีม่วง ด้านในสีส้มแกมสีเหลือง ผลแบบผลแห้งแตกกลางพู สีแดง ตำราสรรพคุณยาไทยว่าใช้เป็นยาเย็นและยาแก้ช้ำใน (จ. ตี้หวง, ตี่อึ้ง, อ. Chinese foxglove root, glutinous rehmannia root)
โกฐเขมา [โกดขะเหมา] น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นเหง้าแห้งของพืชที่่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Atractylodes lancea (Thunb.) DC. ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีชื่อสามัญว่า Rhizoma Atractylodes หรือ Atractylodes rhizome เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าทอดนอนหรือตั้งขึ้น มีรากพิเศษขนาดเท่า ๆ  กันจำนวนมาก ลำต้นขึ้นเดียวหรือเป้นกระจุก ใบเดี่ยว เรียงเวียน แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ มีหลายรูปแบบ ขอบมีขนครุยหรือหยักซี่ฟัน ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น มี ๑ ถึงหลายช่อออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศหรือดอกเพศเมียที่มีเกสรเพศผู้ลดรูป กลีบเลี้ยงเป็นขนสีน้ำตาลถึงสีขาวหม่น ผลแบบแห้งเมล็ดล่อน รูปไข่กลับ ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีกลิ่นหอม รสร้อน ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ เป็นยาบำรุง ใช้แก้โรคในปากในคอ ระงับอาการหอบ แก้หวัด คัดจมูก แก้ไข้ แก้ลมตะกัง แก้เหงื่อออกมาก แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง จัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๗ และโกฐทั้ง ๙, โกฐหอม ก็เรียก (จ. ซังตุ๊ก, ชางจู๋, อ. Atractylodes black rhizome)
โกฐจุลา ดู โกฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา
โกฐจุฬารศ,  โกฐจุฬารส น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นใบแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eucalyptus globulus Labill ในวงศ์ Myrtaceae มีชื่อสามัญว่า blue gum เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เปลือกต้นเรียบ สีเหลืองนวลถึงสีเทา ใบเดียว ใบอ่อนรูปไข่ เรียงตรงข้าม ใบแก่รูปใบหอกหรือรูปเคียว เรียงสลับ คล้ายแผ่นหนัง มีต่อมน้ำมันทั้ง ๒ ด้าน ดอกแบบช่อซี่ร่ม ผลแห้งแตก รูปเกือบกลม เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศออสเตรเลีย คัมภีร์สรรพคุณลักษณะสรรพคุณแลมหาพิกัดว่า ใช้กระจายบุพโพอันเป็นก้อน และฆ่าพยาธิที่เกิดจากไส้ด้านไส้ลาม เมื่อนำมากลั่นจะได้น้ำมันโกฐจุฬารศ หรือ น้ำมันยูโคาลัปตัส ใช้เป็นยาธาตุ ขับลม บรรเทาอาการหวัด ขับเสมหะ ใช้ทาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ช่วยให้ไม่เกิดการพุพอง
โกฐจุฬาลัมพา,  โกฐจุฬาลำพา น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นส่วนเหนือดินแห้งที่เก็บในระยะออกดอกของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Artemisia annua L. ในวงศ์ Asteraceae (Compositae) มีชื่อสามัญว่า sweet wormwood herb เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว แตกกิ่งมาก ทั้งต้นมีกลิ่นแรง มีขนประปราย หลุดร่วงง่าย ใบเดี่ยว เรียงเวียน มีต่อมโปร่งแสง ขอบใบหยักลึก ช่อดอกแบบช่อแยกแขนงรูปพีระมิดกว้าง ช่อย่อยแบบช่อกระจุกแน่น สีเหลืองถึงสีเหลืองเข้ม ผลแบบผลแห้งเมล็ดล่อน ตำราสรรพคุณยาไทยว่า แก้ไข้เจลียง (ไข้จับวันเว้นวัน) แก้ไข้ ลดเสมหะ แก้หืด แก้ไอ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ จัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๗ และโกฐทั้ง ๙, โกฐจุฬาลำพาจีน หรือ โกฐจุลา ก็เรียก (จ. ชิงฮาว, แชเฮา)
โกฐจุฬาลำพาจีน ดู โฏฐจุฬาลัมพา, โกฐจุฬาลำพา
โกฐเชียง น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นรากแขนงแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Angelica sinensis (Oliv.) Diels ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) มีชื่อสามัญว่า Chinese angelica เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี รากอวบหนา รูปทรงกระบอก แยกเป็นนรากแขนงหลายราก มีกลิ่นหอมมาก ลำต้นสีเขียวแกมสีม่วง มีร่องตามยาว แตกกิ่งตอนบน ใบหยักลึกแบบขนนก รูปไข่ ช่อดอกแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ มีช่อย่อยขนาดไม่เท่ากัน ดอกสีขาวหรือสีแดงแกมสีม่วง ผลแบบผลแห้งแยก รูปรี รูปไข่ รูปไข่กลับ หรือเกือบกลม สันด้านล่างหนาแคบ ด้านข้างมีปีกบาง กว้างเท่ากับความกว้างของผล อาจมีหรือไม่มีท่อน้ำมันตามร่อง ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีกล่ินหอม รสหวานขม มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้สะอึก แก้เสียดแทงราวข้าง จัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๗ และโกฐทั้ง ๙ (จ. กุยเหว่ย, กุยบ้วย)
โกฐเชียงเทศ น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นรากและลำต้นใต้ดินแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cimicifuga racemosa (L.) Nutt. ในวงศ์ umbelliferae มีชื่อสามัญว่า black cohosh หรือ black snakeroot เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ใบประกอบงอกจากเหง้า ดอกเป็นช่อแยกแขนง กลีบดอกรูปขอบขนาน สีขาว ลแตกแนวเดียว เมล็ดรูปครึ่งวงกลม สีน้ำตาล เป็นไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกาเหนือบริเวณชายฝั่งตะวันออก คัมภีร์สรรพลักษณะสรรพคุณแลมหาพิกัดว่า ใช้แก้ไข้เพื่อกำเดา ให้หนาวให้ร้อนให้ระส่ำระสาย ให้ท้องขึ้น กินอาหารมิได้ ให้เหงื่อตก ให้หอบ ในต่างประเทศใช้บรรเทาอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตอนกลางคืนในสตรีวัยหมดระดู
โกฐทั้ง ๕ น. พิกัดยาพวกหนึ่ง ประกอบด้วยโกฐเชียง โกฐสอ โกฐหัวบัว โกฐเขมา และโกฐจุฬาลัมพา รวม ๕ สิ่ง ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก ตำราสรรพคุณยาไทยว่ามีรสสุขุม สรรพคุณโดยรวมแก้ไข้ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปาก ชูกำลัง บำรุงโลหิต และแก้ลมในกองธาตุ, เบญจโกฐ ก็เรียก
โกฐทั้ง ๗ น. พิกัดยาพวกหนึ่ง ประกอบด้วยโกฐเชียง โกฐสอ โกฐหัวบัว โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา โกฐก้านพร้าว และโกฐกระดูก รวม ๗ สิ่ง ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนักตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีรสสุขุม สรรพคุณโดยรวมแก้ไข้ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปาก ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ลมในกองธาตุ แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบสะอึก และบำรุงกระดูก, สัตตโกฐ สัตตะโกฏ หรือสับดโกฏิ ก็เรียก
โกฐทั้ง ๙ น. พิกัดยาพวกหนึ่ง ประกอบด้วยโกฐเชียง โกฐสอ โกฐหัวเบา โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา และโกฐชฎามังสี รวม ๙ สิ่ง ในปริมาณเท่ากันโดยน้ำหนัก ตำราสรรพคุณยาไทยว่ามีรสสุขุม สรรพคุณโดยรวมแก้ไข้ แก้หืดหอบไอ แก้ไข้จับสั่น แก้พิษร้อน แก้ลมเสียดแทงชายโครง กระจายลมในกองริดสีดวง แก้ลมในกองเสมหะ แก้สะอึก แก้ไข้ในกองอติสาร แก้โรคในปาก กระจายหนอง ฆ่าพยาธิ แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับโลหิตร้ายอันเกิดแต่กองปิตตะสมุฏฐาน, เนาวโกฐ หรือ นวโกฐ ก็เรียก
โกฐนษินี น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นเมล็ดแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psoralea corylifolia L. ในวงศ์ Fabaceae (Leguminosae) เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ใบเดี่ยว ดอกออกตรงซอกใบ เป็นช่อกระจุกหรือช่อกระจะสั้น กลีบดอกสีขาวปนสี่ม่วง ฝักรูปไข่ เมล็ดเล็ก รูปไต สีน้ำตาลเข้ม ตำราสรรพคุณยาไทยว่า ใช้บรรเทาอาการหอบหืด แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ในตำราการแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้น้ำมันจากมเล็ดทาแก้โรคสะเก็ดเงินและผิวหนังอักเสบ
โกฐน้ำเต้า น. เครื่องยาชนิดนหึ่ง เป้นเหง้าและรากแห้งของพืชชนิดใดชนิดหนึ่งใน ๓ ชนิด คือ ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rheum officinale Baill., ชนิด R. palmatum L. หรือชนิด R. tanguticum (Maxim. ex Regel) Maxim. ex Balf. ในวงศ์ Polygonaceae มีชื่อสามัญว่า medicinal rhubarb พืชทั้ง ๓ ชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ราก เหง้า และลำต้น อ้วนสั้น ใบเรียงเวียน ออกเป็นกระจุก รูปค่อนข้างกลม มีหูบใบเป็นปลอกขนาดใหญ่ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวอมเหลือง เมื่อติดผลกิ่งผลจะถ่างมาก ผลแบบผงแห้งเมล็ดอ่อน รูปขอบขนานแกมรี มีสามมุมแหลมเป็นปีก ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีสรรพคุณขับลมลงสู่คูถทวาร ทำให้อุจจาระปัสสาวะเดินสะดวก เป็นยาระบายชนิด "รู้เปิดรู้ปิด" หมอพื้นบ้านนำมานึ่งให้สุก แล้วตากแดดให้แห้ง ผสมเป็นยาระบาย ใช้แก้อาการท้องผูก โรคริดสีดวงทวาร จัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐพิเศษ ๓ ชนิด (ร่วมกับโกฐกะกลิ้ง และโกฐกักกรา) (อ. rhubarb, จ. ต้าหวง, ตั่วอึ้ง)
โกฐพิเศษ น. พิกัดยาพวกหนึ่ง มีโกฐ ๓ ชนิด คือ โกฐกะกลิ้ง โกฐกักกรา และโกฐน้ำเต้า ตำราสรรพคุณยาไทยให้ใช้แทรกในตำรับยาตามข้อบ่งใช้และสรรพคุณของยาแต่ละขนานและของโกฐทั้ง ๓ ชนิด ตามแต่แพทย์จะเลือกใช้, โกฏวิเสศ ก็เรียก
โกฏพุงปลา น. เครื่องยาชนิดนหึ่ง เป็นปุ่มหูดเกิดจากใบหรือกิ่งอ่อนของต้นสมอไทยที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Terminalia chebula Retz ในวงศ์ Combretaceae มีชื่อสามัญว่า Terminalia galll หรือ myrobalan gall เป็นไม้ต้น ผลักใบ ลำต้นค่อนข้างเปลา ไม่มีพูพอนหรืออาจมีบ้างเล็กน้อยช่วงโคนต้น เปลือกหนา ขรุขระ สีน้ำตาลแก่ ค่อนข้างดำ แตกปริเป็นร่องลึกตามยาว เปลือกในสีน้ำตาลแดง กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน สีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนานโคนมนและมักเบี้ยวเล็กน้อยขอบใบใกล้โคนใบมีตุ่มหูด ๑ คู่ ปลายเป็นติ่งแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ช่อดอกแบบช่อเชิงชด ออกเป็นช่อยาวบริเวณรอยแผลใบใกล้ปลายกิ่ง ไม่แยกแขนง ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ผลรูปกลมป้อมหรือรูปกระสวย อาจมีพูหรือสันตามยาวหรือไม่มีสัน ผลแก่สีเขียวอมเหลือง เมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมล็ดรูปรี ผิวขรุขระ ตำราสรรพคุณยาไทยว่ามีรสฝาดจัด สรรพคุณแก้อุจจาระธาตุพิการ แก้อติสาร แก้บิดมูกเลือด คุมธาตุ แก้ไข้จากลำไส้อักเสบ แก้ไข้พิษ แก้พิษทำให้ร้อน แก้อาเจียน แก้เสมหะพิการ แก้เม็ดยอดภายใน สมานแผล จัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง ๙, ปูดกกส้มมอ ก็เรียก
โกฐสอ น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นากแห้งของพืชชนิดหนึ่งที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Angelica dahurica (Fisch. ex Hoffm.) Benth. et Hook.f. ex Franch. et Sav. ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) ซึ่งมี ๒ พันธุ๋ คือ A. dahurica (Fisch. ex Hoffm.) Benth. et Hook.f. ex Franch. et Sav. var. dahurica กับ A. dahurica (Fisch. ex Hoffm.) Benth. et Hook.f. ex Franch. et Sav. var. formosana (H.Boissieu) Yen. มีชื่อสามัญทางการค้าว่า Dahurian angelica root เ็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี รากอวบใหญ่ เนื้อแข็ง รูปกรวยยาว มีกลิ่นหอมจัด ลำต้นตั้งตรง เป็นร่องตามยาว สีเขียวแกมสีม่วง ใบประกอบแบบขนนก ๒-๓ ชั้น เรียงเวียนรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยมโคนแผ่นเป็นกาบ ช่อดอกแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบ ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผลแบบผลแห้งแยก รูปรีกว้าง ถึงเกือบกลม ด้านล่างแบนราบ สันด้านล่างหนากว่าร่อง สันด้านข้างแผ่เป็นปีกกว้าง ตามร่องมีท่อน้ำมัน ๑ ท่อ ตามสันมีท่อน้ำมัน ๒ ท่อ ตำราสรรพคุณยาไทยว่า มีกลิ่นหอม รสขมมัน สรรพคุณแก้ไข้ แก้หืด แก้ไอ ทำให้หัวใจชุ่มชื่น จัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๗ และโกฐทั้ง ๙, โกฐสอจีน ก็เรียก (จ. ป๋ายจื่อ, แปะจี้) 
โกฐสอจีน ดู โกฐสอ
โกฐสอเทศ น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นเหง้าที่ปอกเปลือกแล้วทำให้แห้งของพืช ๒ ชนิด คือ ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Iris germanica L. หรือชนิด I. pallida Lam. ในวงศ์ Iridaceae มีชื่อสามัญว่า orris หรือ orris root พืชทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าอวบ ยาว ออกตามแนวนอน ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีขาวนวลถึงสีขาวแกกมเหลือง แตกแง่งเป็นเนื้อเดียวกัน มีรากมาก ลำต้นตัน ตั้งตรง ใบเดี่ยว ใบที่อยู่ใกล้เหง้าเรียงซ้อนหุ้มสลับระนาบเดียว ช่อดอกแบบช่อกระจะด้านเดียว ออกที่ปลายต้นหรือตามซอกใบ ช่อย่อยที่ปลายมี ๒-๓ ดอก ช่อย่อยอื่นมี ๑-๒ ดอกดอกมีกลิ่นหอม สีม่วงแกมน้ำเงิน เหลือง น้ำตาล หรือขาว กลีบเลี้ยงมี ๓ กลีบ กางหรือโค้งลง รูปไข่กลับ ผลแบบผลแห้งแตกรูปไข่ มี ๓ พู เมล็ดรูปไข่ ผิวย่น สีน้ำตาลแกมแดง เรียงช่องละ ๒ แถว ตำราสรรพคุณยาไทยใช้เป็นเครื่องยาสิ่งหนึ่งในตำรับยาแก้เตโชธาตุพิการ แก้ลมทั้งปวง เป็นต้น
โกฐหอม ดู โกฐเขมา
โกฐหัวบัว น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง เป็นเหง้าแห้งของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ligusticum sinense Oliv. cv. chuanxiong ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) มีชื่อสามัญว่า Sichuan lovage, Sichuan lovage rhizome, Szechwan lovage, Szechwan lovage rhizome เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้า ค่อนข้างกลม ผิวเป็นปุ่มปม มีข้อป่องและปล้องสั้น ลำต้นตั้งตรง ใบเรียงเวียนใบใกล้โคนต้นรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม โคนก้านแผ่เป็นกาบ ขอบใบหยักลึกแบบขนนก ๑-๓ ชั้น แฉกปลายสุดรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขอบจักฟันเลื่อนไม่สม่ำเสมอ ส่วนใบบนต้นรูปคล้ายใบใกล้โคนต้น แต่ลดรูป ไม่มีก้านใบ ขอบหยักแบบขนนกชั้นเดียว พืชนี้เป็นพันธุ์ปลูก ไม่พบดอก ตำราสรรพคุณยาไทยว่ามีกลิ่นหอม รสมัน สรรพคุณแก้ลมในกองริดสีดวง และกระจายลมทั้งปวง ยาไทยมักไม่ใช้เป็นยาเดี่ยว แต่มักใช้ร่วมกับเครื่องยาอื่นในตำรับยา จัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดโกฐทั้ง ๕ โกฐทั้ง ๗ และโกฐทั้ง ๙ (จ. ชวนซวอง, ชวนเกียง)
โกฐหัวบัวน้อย น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง ได้จากพืชชนิดเีดยวกับโกฐหัวบัว แต่เป็นสายพันธุ์พืชปลูกที่ให้เหง้าขนาดเล็ก ที่มีขายตามท้องตลาดมักเป็นเหง้าแห้งทั้งเหง้า
โกฐหัวบัวใหญ่ น. เครื่องยาชนิดหนึ่ง ได้จากพืชชนิดเดียวกับโกฐหัวบัว แต่เป็นสายพันธุ์ปลูกที่ให้เหง้าขนาดใหญ่ ที่มีขายตามท้องตลาดมักฝานเป็นแผ่นบาง ๆ
โกด, โกษฐ์ ดู โกฐ
ไกษย ดู กษัย

ข้อมูลจาก พจนานุกรม ศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมแผนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๒
อ่านต่อ...